สภาอุตหกรรมเร่งปรับตัวรับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก
สภาอุตฯ ชี้ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แนะไทยเตรียมความพร้อมรองรับการย้ายฐานการผลิต เสนอรัฐตั้งนิคมอุตสาหกรรมซัพพลายเชน
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนางานGeopolitics 2024 หัวข้อ “รัฐปรับตัว ธุรกิจปรับแผน พลิกวิกฤติสู้โอกาส”ว่า ปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เกิดขึ้นในช่วงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้มีการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน 20-25 % เกิดการแบ่งค่ายในเรื่องของซัพพลายเชย เทคโนโลยี โดยสหรัฐและจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และอันดับ 2 ของไทย ซึ่งไทยได้ดุลการค้าสหรัฐปีละ 2 หมื่นล้านบาทขณะที่จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ที่ไทยส่งออกวัตถุดิบส่งไปยังจีนเพื่อผลิตเป็นสินค้าส่งออกของจีน
ต่อมาเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน สงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาส เกิดเป็นปัญหาวิกฤต แต่ทุกวิกฤติก็มีโอกาส ก่อนหน้านี้เราต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางพลังงาน หรือความมั่นคงทางอาหาร แต่ปัจจุบันเราต้องพูดความมั่นคงทางด้านซัพพลายเชน ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมเราต้องปรับเปลี่ยนการผลิตของเราจากเดิมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต โดย 30 % เรานำเข้าจากจีน ซึ่งเป็นประเด็นที่เรามาศึกษาทำอย่างไรในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตให้เพิ่มขึ้น เพราะผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์? โดยทางสภาอุตสาหกรรม ตั้งเป้า ไว้ว่าจากนี้ 3-5 ปี จะมีการผลิตทดแทนการนำเข้าให้ได้ 10 % และอีก 20 % ภายใน 10 ปี โ
ทั้งนี้ในช่วงปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามที่เกิดขึ้นทำให้เกิดวิกฤตทางอาหาร ทำให้การส่งออกอาหาร อุตสาหกรรมอาหารของไทยส่งออกได้มาก ดังนั้นปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จะเป็นปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจและจะมีความเข้มข้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ต้องดูผลการเลือกตั้งของสหรัฐจะออกมาเป็นอย่างไร นโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามวิกฤตปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นโอกาสของไทยในเรื่องของการย้ายฐานการผลิต ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นยังมีเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และที่ต้องจับตาในอนาคตคือ ฟิลิปปินส์
โดยนักลงทุนจะมาลงทุนในประเทศใดจะพิจารณาว่า แต่ละประเทศว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร มีซัพพลายเชนมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับการลงทุนในอุตสาหกรรมใด ซึ่งไทยมีความพร้อมในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในอีอีซี โดยนักลงทุนจีนเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์แม้จะเป็นวิกฤตแต่ก็เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะเอาวิกฤตนี้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดั้งเดิมไทยเข้าสูอุตสาหกรรมใหม่