จับทิศดอกเบี้ย 'ไทย-อินโดนีเซีย' ประชุมพุธนี้ (18 ธ.ค.) ท่ามกลางเศรษฐกิจผวน
สองเศรษฐกิจใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญแรงกดดันซ้อน รูเปียอ่อนค่า เงินบาทสั่นคลอน รัฐบาลและธนาคารกลางเร่งหาทางรับมือ พร้อมรอประกาศนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (17 ธ.ค.) ว่า การธนาคารกลางของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจ “คงอัตราดอกเบี้ย” ไว้อัตราเดิมในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางอินโดนีเซียพยายามพยุงค่าเงินรูเปียที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงยึดมั่นกับนโยบายการเงินแบบเป็นกลางเพื่อส่งเสริมการเติบโต
สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ที่ผ่านมาธนาคารกลางฯ เข้ามาแทรกแซงค่าเงินรูเปียเนื่องจากอ่อนค่าแตะระดับ 16,000 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 18 คนจาก 31 คนเปิดเผยกับโพลของบลูมเบิร์กว่า ธนาคารกลางฯ อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% แต่ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัด โดยมีนักวิเคราะห์ 13 คนคาดหวังว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่อ่อนแอลงและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงซึ่งสร้างความกังวลต่อการเติบโต
ส่วนประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของธปท.เป็นเดือนที่หก และรัฐบาลพยายามเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ย โดยนักวิเคราะห์ 21 คนจาก 23 คนจากโพลของบลูมเบิร์กคาดว่าจะคงอัตราที่ 2.25% ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธปท.และรัฐบาลมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันผ่านหน้าสื่อตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาเกี่ยวกับ “วิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจ” หลังจากการเติบโตชะลอตัวของเศรษฐกิจหลายทศวรรษที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่าธนาคารกลางทั่วเอเชียจะต้องทบทวนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยใหม่อีกครั้งจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทั้งภาษีทรัมป์ การเติบโตที่ชะลอตัวของจีนและค่าเงินประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นต้น
ภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้าในรูปแบบของภาษีนำเข้าของทรัมป์ การเติบโตที่ชะลอตัวของจีน และค่าเงินที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อาจทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในเอเชียต้องทบทวนอัตราการผ่อนคลายใหม่
อินโดนีเซีย
อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน: 6%
เวลาประกาศ: วันพุธ เวลา 14:30 น. ตามเวลาประเทศไทย
ธนาคารอินโดนีเซียได้ลดอัตราดอกเบี้ยแบบเซอร์ไพรส์ในเดือนก.ย. แต่ได้หยุดพักเป็นเวลาสองเดือนติดต่อกันเพื่อสนับสนุนเงินรูเปียที่อ่อนค่าลงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภารกิจ ผู้ว่าการธนาคารอินโดนีเซีย เพอร์รี วาร์จิโย กล่าวเดือนที่แล้วว่า "อัตราดอกเบี้ยจะได้รับรักษาไว้เป็นการชั่วคราว" เพื่อให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของสกุลเงิน
ในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินโดนีเซียลดอัตราดอกเบี้ยแบบเซอร์ไพรส์ตลาด แม้หลังจากนั้นสองเดือนคณะกรรมการฯ ชะลอการลดดอกเบี้ยลงสองเดือนติดต่อกันเพื่อพยุงเงินรูเปียที่อ่อนค่าลงซึ่งภารกิจสำคัญของคณะกรรมการฯ ซึ่งนายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารอินโดนีเซีย กล่าวเดือนที่แล้วว่า "จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ชั่วคราว" เพื่อให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของสกุลเงิน
"ปัจจุบันสกุลเงินรูเปียอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างมากจนเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางฯ นิยามการแทรกเเซงค่าเงินครั้งที่ผ่านมาว่าเป็นการกระทำที่กล้าหาญ แต่เรา (Barclays Plc Brian Tan) สงสัยว่ามีความมั่นใจเพียงพอสำหรับการลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% หรือไม่ท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลงในสหรัฐ" นักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays Plc Brian Tan เขียนในบันทึก พร้อมเสริมว่า "ความเสี่ยงอย่างชัดเจนในมุมมองของเรา คือความสามารถในการลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคต"
ด้าน เฮลมี อาร์มาน นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup กล่าวว่า ในไตรมาสนี้ค่าเงินรูเปียสูญเสียมูลค่ามากกว่า 5% เทียบกับดอลลาร์ ดังนั้นธนาคารอินโดนีเซียจะต้องยังคงมีบทบาทในการแทรกแซงสกุลเงินต่อไปในไตรมาสแรกของปีหน้า
เฮลมีเห็นเพิ่มเติมว่า มีช่องทางให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สี่ครั้งในปีหน้า แต่การผ่อนคลายจะเริ่มในเดือนมี.ค.แทนที่จะเป็นเดือนก.พ.
ธนาคารกลางอาจยังคงพึ่งพาการแทรกแซงตลาดและหลักทรัพย์รูเปียที่เรียกว่า SRBI เพื่อดึงดูดเงินทุนต่างประเทศและยุติความผันผวนของเงินรูเปีย เงินสำรองเงินตราต่างประเทศลดลงเล็กน้อยในเดือนที่ผ่านมาเหลือ 1.502 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของ SRBI สูงกว่า 7% ในการประมูลล่าสุด
ประเทศไทย
อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน: 2.25%
เวลาตัดสิน: วันพุธ เวลา 14:00 น. ตามเวลาประเทศไทย
คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ของ ธปท.ยังสร้างความเซอร์ไพรส์ให้ตลาดในเดือนต.ค.โดยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2563 แม้ว่าคณะกรรมการฯ จะเน้นย้ำว่าการเคลื่อนไหวนี้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวัฏจักรการผ่อนคลายนโยบาย
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่า ธปท. กล่าวก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนว่า ธปท.จะดำเนินนโยบายการเงินที่มีความแข็งแกร่ง สามารถรองรับความไม่แน่นอนสูงและผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ที่เผชิญหน้ากับเศรษฐกิจโลกในปี 2568 เขายังกล่าวว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นหลัก
"ข้อสันนิษฐานพื้นฐานของเราคือธปท.จะเคลื่อนไหวอีกครั้งในไตรมาสแรกด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย 0.25%" คริสตัล ตัน นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Australia & New Zealand Banking Group กล่าว
ขณะที่นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวซ้ำในวันจันทร์ว่า ธปท.ควรลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สนับสนุนข้อเรียกร้องของรัฐบาลให้มีการผ่อนคลายมากขึ้นในรายงานเมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจะกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้
ท้ายที่สุด แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันทว่า ธปท.และกระทรวงการคลังเห็นพ้องกันว่าเป้าหมายเงินเฟ้อระหว่าง 1% ถึง 3% สำหรับปี 2568 มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าช่วงล่างของเป้าหมายดังกล่าว
อ้างอิง: Bloomberg