'ฟิลิป ค็อตเลอร์'ชี้การตลาดยุคหน้าเจาะคนชั้นกลาง
ศ.ฟิลิป ค็อตเลอร์ ชี้เทรนด์การตลาดยุคหน้า นักการตลาดต้องผสานการใช้สื่อเก่า-สื่อใหม่ ให้น้ำหนักสินค้า-บริการเจาะกลุ่มคนชั้นกลาง
"กรุงเทพธุรกิจ" จัดสัมมนาด้านการตลาดครั้งใหญ่แห่งปีในงาน “Values Driven Marketing” เชิญปรมาจารย์การตลาดระดับโลก ศ.ฟิลิป ค็อตเลอร์ เจ้าของแนวคิด Marketing 3.0 มานำเสนอองค์ความรู้ด้านการตลาดยุคใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยการสร้างคุณค่าจากมุมมองของนักการตลาดระดับโลก เพื่อให้นักการตลาด นักธุรกิจไทย ได้นำไปประยุกต์ใช้ และเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างความยั่งยืน ให้ภาคธุรกิจ สังคม และชุมชน ไปพร้อมกัน
ศ.ฟิลิป ค็อตเลอร์ กล่าวในงานสัมมนาดังกล่าว ระบุว่า การตลาดในยุคนี้กำลังเข้าสู่การตลาดแบบใหม่ บริษัทใหญ่เริ่มเปลี่ยนการวางงบการตลาด มาให้ความสำคัญกับสื่อโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำโปรโมชั่นที่เน้นการใช้สื่อโฆษณาผ่านสื่อแบบใหม่ ไม่ควรใช้งบประมาณในสัดส่วนเกิน 50% แต่ควรผสมผสานการตลาด ทั้งการใช้สื่อแบบเก่าและแบบใหม่ร่วมกัน
ที่สำคัญ ควรมองโอกาสจากประชากรโลกทั้งหมด 7,000 ล้านคนให้ครบถ้วน จากที่ผ่านมานักการตลาดทั่วโลก จะให้สำคัญกับผู้บริโภคเพียง 2,000 ล้านคนที่มีการบริโภคสินค้าเท่านั้น แต่แนวโน้มการตลาดจากนี้ไป ประชากรที่เหลืออีก 5,000 ล้านคน กำลังเป็นตลาดใหม่ที่ปรับตัวเองไปสู่คนในระดับชนชั้นกลาง ซึ่งทุกประเทศจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และกำลังเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เมืองปักกิ่ งและเซี่ยงไฮ้ ในประเทศจีน
จุดเปลี่ยนดังกล่าว มีการตลาดเป็นตัวกำหนดทิศทางให้เกิดชนชั้นกลาง ซึ่งสินค้า-บริการจะเป็นที่ต้องการ เพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิต โดยการตลาดจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต สร้างความทะเยอทะยานของผู้คน โดยใช้โฆษณาผ่านสื่อทีวีเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาด กระตุ้นให้คนอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากซื้อรถยนต์ และบริโภคอาหารที่ดียิ่งขึ้น แนวโน้มนี้จะต่อเนื่องไปถึงความเจริญเติบโต ในแง่ของโรงงานที่เพิ่มกำลังการผลิตสินค้าออกมา เพื่อรองรับกลุ่มชนชั้นกลาง และเป็นการสร้างงาน ทำให้มีการจ้างงานเพิ่ม และคนมีกำลังซื้อ และมีสังคมที่ดีขึ้น
ขณะเดียวกันโลกการค้ายุคนี้ ได้เปลี่ยนบทบบาทจากสินค้าในโลกตะวันตก มาเป็นสินค้าแบรนด์ตะวันออก อย่าง ซัมซุง แอลจี และฮุนได ซึ่งชูเรื่องนวัตรกรรมและวัฒนธรรม ขับเคลื่อนเข้ามาแทนที่แบรนด์ยุโรปและอเมริกาและญี่ปุ่น สาเหตุที่แบรนด์ตะวันออกแจ้งเกิดได้ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า นวัตกรรมไม่ใช่สูตรสำเร็จอีกต่อไป
ส่วนการสร้างค่านิยมและแนวคิดด้านซีเอสอาร์ ( CSR : Corporate Social Responsibility) ที่ผ่านมาเป็นการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงองค์กรและสังคม ยุคนี้พัฒนาการเพิ่มขึ้นมาเป็นซีเอสวี (CSV : Creating Shared Value) ซึ่งหมายถึงการร่วมสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม โดยจากแนวคิดการสร้างมูลค่าโดยการทำความดี ขยายมาสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ และประโยชน์ทางสังคมที่สัมพันธ์กับต้นทุน นั่นคือ การร่วมมือขององค์กร และการสร้างประโยชน์ต่อชุมชน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแข่งขัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแสวงหาผลกำไรสูงสุด วาระการทำงานกำหนดแน่ชัดโดยบริษัท และสร้างจากภายในเกี่ยวพันกับงบประมาณของทั้งบริษัท
ธุรกิจไทยปรับตัวรับการตลาด3.0