ปชช.มองมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 'ดีขึ้น'
ปชช.มองมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 "ดีขึ้น"
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เรื่อง “มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2562 กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศ และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) ซึ่งมี 6 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้า 2) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่าน 3) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย 4) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย 5) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และ 6) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน e-Tax) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความคิดเห็นต่อมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้จ่าย ในประเทศ และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax)) ว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.31 ระบุว่า จะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 40.43 ระบุว่า จะทำให้เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิม และร้อยละ 18.26 ระบุว่า จะทำให้เศรษฐกิจไทยแย่ลง
เมื่อถามถึงมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศ และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax)) จะทำให้ประชาชนไปใช้จ่ายหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.35 ระบุว่า ไม่ไปแน่นอน ขณะที่ร้อยละ 35.65 ระบุว่า ไปแน่นอน
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงมาตรการพยุงเศรษฐกิจที่ประชาชนอยากให้มีเพิ่มเติม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.17 ระบุว่า ไม่มีมาตรการใดที่อยากให้เพิ่มเติม รองลงมา ร้อยละ 3.67 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอุปโภค เช่น สบู่ ยาสีฟัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 3.03 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าบริโภค เช่น ค่าอาหาร ร้อยละ 2.39 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ร้อยละ 1.67 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และค่าซ่อมบำรุง ร้อยละ 1.52 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตร ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ค่าน้ำมัน ร้อยละ 0.40 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น รถไฟ เรือโดยสาร รถโดยสารประจำทาง ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อ-ขาย ที่ดิน ร้อยละ 0.24 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการอบรม สัมมนา ต่าง ๆ และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในสัดส่วนที่เท่ากัน
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.85 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.20 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.17 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.04 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.36 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.64 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.22 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.59 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.96 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.89 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.18 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 93.62 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.30 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 21.61 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.16 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.87 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 30.86 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.31 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.10 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.16 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.74 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.53 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.31 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.38 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.62 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.51 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.83 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.75 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.07 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 13.64 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 –20,000 บาท ร้อยละ 10.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001–30,000บาท ร้อยละ 6.22 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001–40,000 บาท ร้อยละ 9.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.53 ไม่ระบุรายได้