เชื่อผู้ประกอบการปิโตรเลียมร่วมมือรัฐ วางประกันค่ารื้อถอนแท่นฯราว 1 แสนล้าน
“ศิริ” เชื่อผู้ประกอบการปิโตรเลียมพร้อมให้ความร่วมมือรัฐ วางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นฯ มูลค่าราว 1 แสนล้านบาท มอบ “กุลิศ” เร่งเจรจากำหนดสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายรื้อถอน คาดได้ข้อยุติโดยเร็ว มั่นใจไม่มี ค่าโง่
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าบริษัท เชฟรอนฯ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานหลัก แหล่งเอราวัณ ในปัจจุบัน และบริษัท โททาล ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนในแหล่บงกช ในปัจจุบัน ได้ยื่นหนังสือเตือน(โนติซ) ถึงกระทรวงพลังงาน ขู่ฟ้องอนุญาโต ตุลาการ หากไม่ได้รับความชัดเจนเรื่องการวางหลักประกันการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่จะหมดอายุสัมปทานในช่วงปี2565-2566 ว่า
เรื่องดังกล่าวเป็นการตีความทางกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยหากจะมีการยื่นฟ้องฯก็เป็นสิทธิของผู้ประกอบการที่จะดำเนินการได้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแง่ของกฎหมาย ซึ่งยอมรับว่าเรื่องการรื้อถอนนั้น เดิมกฎหมายเขียนไว้กว้างๆ แต่ก็ได้มีการออกกฎกระทรวงรองรับไว้แล้ว
ส่วนเรื่องของการวางหลักประกันค่ารื้อถอน ถือว่าเป็นไปตามหลักสากลที่กำหนดให้ต้องวางหลักประกันไว้ แต่ในส่วนของสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่มีมูลค่าสูงประมาณหลักแสนล้านบาท ยังเป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกัน เนื่องจากจากแท่นปิโตรเลียมในแหล่งสัมปทานที่จะหมดอายุลงตามสัญญาสัมปทาน มีทั้งในส่วนของแท่นที่หมดอายุการใช้งานที่ต้องรื้อถอน ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานเดิม แต่ยังมีในส่วนของแท่นที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องมาเจรจาร่วมกันว่าจะกำหนดสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายอย่างไร ระหว่างผู้รับสัมปทานเดิม กับผู้รับสัมปทานใหม่และรัฐที่จะร่วมลงทุนตามระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC)
“เรื่องสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนฯ คงต้องให้นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการปิโตรเลียม เป็นผู้สานต่อและเร่งเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว ยืนยันว่า ไม่มีค่าโง่แน่นอน อีกทั้งเชื่อว่า ผู้ประกอบการจะยินยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในเรื่องนี้ เพราะเป็นการดำเนินการ
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าบริษัท เชฟรอนฯ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานหลัก แหล่งเอราวัณ ในปัจจุบัน และบริษัท โททาล ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนในแหล่งบงกช ในปัจจุบัน ได้ยื่นหนังสือเตือน(โนติซ) ถึงกระทรวงพลังงาน ขู่ฟ้องอนุญาโต ตุลาการ หากไม่ได้รับความชัดเจนเรื่องการวางหลักประกันการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่จะหมดอายุสัมปทานในช่วงปี2565-2566 ว่า
เรื่องดังกล่าวเป็นการตีความทางกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยหากจะมีการยื่นฟ้องฯก็เป็นสิทธิของผู้ประกอบการที่จะดำเนินการได้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแง่ของกฎหมาย ซึ่งยอมรับว่าเรื่องการรื้อถอนนั้น เดิมกฎหมายเขียนไว้กว้างๆ แต่ก็ได้มีการออกกฎกระทรวงรองรับไว้แล้ว
ส่วนเรื่องของการวางหลักประกันค่ารื้อถอน ถือว่าเป็นไปตามหลักสากลที่กำหนดให้ต้องวางหลักประกันไว้ แต่ในส่วนของสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่มีมูลค่าสูงประมาณหลักแสนล้านบาท ยังเป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกัน เนื่องจากจากแท่นปิโตรเลียมในแหล่งสัมปทานที่จะหมดอายุลงตามสัญญาสัมปทาน มีทั้งในส่วนของแท่นที่หมดอายุการใช้งานที่ต้องรื้อถอน ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานเดิม แต่ยังมีในส่วนของแท่นที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องมาเจรจาร่วมกันว่าจะกำหนดสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายอย่างไร ระหว่างผู้รับสัมปทานเดิม กับผู้รับสัมปทานใหม่และรัฐที่จะร่วมลงทุนตามระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC)
“เรื่องสัดส่วนภารค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนฯ คงต้องให้นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการปิโตรเลียม เป็นผู้สานต่อและเร่งเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว ยืนยันว่า ไม่มีค่าโง่แน่นอน อีกทั้งเชื่อว่า ผู้ประกอบการจะยินยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในเรื่องนี้ เพราะเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย” นายศิริ กล่าว