“มะพร้าวพันธุ์ใหม่”ทำคนไทยไม่ต้องกลัวมะพร้าวแพงอีกแล้ว

“มะพร้าวพันธุ์ใหม่”ทำคนไทยไม่ต้องกลัวมะพร้าวแพงอีกแล้ว

ขณะนี้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนมะพร้าวเพื่อบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมมะพร้าวมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เนื่องจาก ผลผลิตจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ

เสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยถึงแผนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมะพร้าวของประเทศและลดการนำเข้ามะพร้าวผลและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากต่างประเทศว่าสถาบันวิจัยพืชสวนได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์มะพร้าวเพื่อให้ได้มะพร้าวสายพันธุ์ดีให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ มีชื่อว่ามะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 และ ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2

สำหรับมะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ไทย ต้นสูง (พ่อพันธุ์) นำเสนอรับรองพันธุ์กรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 1 มี. ค. 2562

ส่วนมะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ ไทยต้นสูง (พ่อพันธุ์)  และผ่านการรับรองตามขั้นตอนการรับรองพันธุ์พืช ประเภทพันธุ์รับรอง จากกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 1 มี. ค. 62

“ความสำเร็จของกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ เป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบมีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของ ประเทศไทยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 – 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไทยต้นสูง"

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเพื่อทดแทนสาหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยส่วนใหญ่ 99.65 % นำเข้าจากอินโดนีเซียซึ่งราคาถูกกว่าไทยและส่วนหนึ่งนำเข้าเพื่อผลิตเป็นกะทิกระป๋องส่งออกไปสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ นอกนั้นส่งออกเป็นมะพร้าวฝอยไปตุรกี ส่งออกเป็นน้ำมะพร้าวไปประเทศ

เมียนมา ฮ่องกง เป็นต้น

สำหรับแหล่งผลิตมะพร้าวสำคัญๆของไทย ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 4.2 แสนไร่ ชุมพร 2.1 แสนไร่ สุราษฎร์ธานี 2.1 แสนไร่ ชลบุรี 6.4 หมื่นไร่ นครศรีธรรมราช 9.9 หมื่นไร่ และอื่นๆ 2.6 แสนไร่ รวมทั้งประเทศรวม 1.3 ล้านไร่

“ทุกแหล่งปลูกมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากการเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นเช่น ปาล์มน้ามัน ยางพารา และ ไม้ผล และส่วนหนึ่งมีปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว” 

โดยปัจจุบันสามารถแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมด้วยวิธีการผสมสามทางไปสู่บริษัทเอกชนที่มีแปลงแม่พันธุ์ดังกล่าวแล้ว ในอนาคตสามารถกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรที่มีความต้องการพันธุ์มะพร้าวเพิ่มขึ้น สามารถขยายพื้นที่ไปยังแหล่งปลูกใหม่ที่มีศักยภาพ ผลผลิตมะพร้าวเพียงพอต่อความต้องการตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมมะพร้าว ตลอดจนช่วยรักษาเสถียรภาพของราคามะพร้าวสามารถลดการนำเข้ามะพร้าวผลและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากต่างประเทศ

สมบัติ ตงเต๊า ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 (สวพ.2) กล่าวเพิ่มเติมถึงลักษณะเด่นของมะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 1 สามารถให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 102 ผลต่อต้นต่อปี หรือ 2,252 ผลต่อไร่ต่อปี ผลขนาดกลางถึงใหญ่โดยมี น้ำหนักเฉลี่ย 1,882 กรัมต่อผล น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งสูงเฉลี่ย 337 กรัมต่อผลต่อปี หรือ 766 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ให้น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 % และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

ส่วนมะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 2 ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 108 ผลต่อต้นต่อปี หรือ 2,372 ผลต่อไร่ต่อปี ผลขนาดกลาง โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,509 กรัมต่อผล น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งสูงเฉลี่ย 250 กรัมต่อผลต่อปี หรือ 584 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปีและให้น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 62%และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 17 กิโลกรัมต่อต้น