ถอดรหัส Re-Think ปฏิวัติแบรนด์สู่โลกใหม่

ถอดรหัส Re-Think ปฏิวัติแบรนด์สู่โลกใหม่

โลกเปลี่ยน ผู้บริโภคปรับ แล้วธุรกิจจะคิดแบบเดิมๆยึดติดสูตรสำเร็จเดิมๆคงไม่ได้ นักการตลาดจะคิดใหม่ "Re-Think" พลิกไอเดีย ปรับหมากรบ ติดอาวุธให้แบรนด์รับสถานการณ์ทะยานสู่เส้นชัยบนสังเวียนการค้า

ตำราการตลาดเล่มเก่า ทฤษฎีการตลาดแบบเดิมๆ ยังมี “มนต์ขลัง” ในการวางแผน ขบคิดกลยุทธ์เพื่อมัดใจผู้บริโภคได้ไหม เป็นคำถามที่นักการตลาด นักสร้างแบรนด์อาจต้องค้นคว้า ลองผิดลองถูกเพื่อหาคำตอบกันเอาเอง แต่ในงาน “แอดแมน อวอร์ด แอนด์ ซิมโปเซี่ยม” ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นงานที่คนแวดวงอุตสาหกรรมโฆษณาและสื่อสารการตลาดไม่พลาดต้องไปเปิดสมองเก็บเกี่ยวความรู้จาก “กูรู” การตลาดจากหลากหลายเซ็กเตอร์

ทว่า หลายปีที่ผ่านมา สมาคมโฆษณาฯ ไม่ได้ต้องการให้งานจำกัดอยู่คนคนโฆษณาและบรรดานักสื่อสารการตลาดอีกต่อไป แต่เปิดกว้างให้เป็นเวที “แห่งความคิดสร้างสรรค์ของทุกคนในประเทศไทย” มากขึ้น เพื่อนำประสบการณ์ ความรู้ไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานที่ดีต่อตนเอง ภาคธุรกิจ องค์กรต่างๆ ตลอดจน “สร้างประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในอนาตต” ทำให้งานแอดแมนฯ ปีนี้ ยกระดับเป็น “วันความคิดสร้างสรรค์แห่งชาติ 2562 หรือ Creativity Day 2019”

ภายในงานมี Talk & Symposium มากมาย หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือ การปลุกปั้น แบรนด์ (Brand) ซึ่งเป็นสิ่งที่มี “มูลค่ามหาศาล” หากแจ้งเกิดในตลาดจนประสบความสำเร็จ และก่อนงานคิดสร้างสรรค์จะออกมาโดนใจผู้บริโภค บรรดา นักการตลาด เจ้าของแบรนด์ต่างๆ มีหมากรบอย่างไรจึงพาสินค้าและบริการแบรนด์นั้นๆผงาดในตลาดได้อย่างยอดเยี่ยม แล้ววิธีคิด กลยุทธ์ ตลอดจนสูตรสำเร็จเดิมๆ ยังใช้ได้ไหม สำหรับการทำตลาดในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเร็ว ไลฟ์สไตล์ความสนใจมีความเฉพาะตัว(Personalize)มากขึ้น

ประเดิมด้วย โอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเดชะ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านแบรนด์และการสื่อสาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงเอเยนซี่ อดีตแม่ทัพใหญ่ วีเอ็มแอลวายแอนด์อาร์ ประเทศไทย ดูแลด้านแบรนด์และการสื่อสารให้กับลูกค้ามาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี

โอลิเวอร์ บอกว่า ถึงเวลาแล้วที่นักการตลาดต้องคิดใหม่หรือ Re-Think ในเรื่องของแบรนด์ เหตุผลเพราะบริบทต่างๆล้วนเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นภูมิทัศน์สื่อ จริต ความคิดตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน หลังจากโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตของผู้คนมากขึ้นฯ นับเป็นองค์ประกอบนี้แสดงถึงเวลาที่นักการตลาด นักสร้างแบรนด์ทั้งหลายต้องหาเลนส์ตัวใหม่มามอง ดีไซน์ การสื่อสารการตลาด การโฆษณา

เพื่อให้เห็นภาพชัดว่าทำไมนักการตลาดต้อง “Re-Think” จึงโยนคำถามง่ายๆ .. จะเกิดอะไรขึ้น แบรนด์มที่ทุกคน(นักการตลาด)ดูแลอยู่ แล้ววันรุ่งขึ้นหายไป คิดจะเกิดอะไรขึ้นกับลูกค้าและสังคม? เช่น ตื่นมาแล้วพบว่าไม่มี กาแฟสตาร์บัคส์” ให้ดื่ม

157336028224

**โอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเดชะ**

ผมว่าทุกคนต้อง Move on” ดังนั้น แบรนด์จึงไม่ควรตื่นเต้น หรือคิดว่าแบรนด์ตัวเองเจ๋งสุด เพราะทุกอย่างถูกแทนที่ได้เสมอ “ผมคิดว่าโลกยังคงหมุนต่อไป ลูกค้าก็จะมีตัวเลือกแบรนด์ใหม่ๆที่เชื่อมโยงเขา” ปี 2560-2561 ประเทศไทยมีผู้ประกอบการจดทะเบียนแบรนด์ใหม่มากถึง 35,809 แบรนด์ ดังนั้นหากแบรนด์หายไปหนึ่งชื่อ ผู้บริโภคไม่ได้เฮิร์ทหรือเจ็บปวดนักหรอก การทำแบรนด์ยุคนี้จึงต้องทวีคุณค่าและความหมาย

VUCA world ประกอบด้วย Volatile การเปลี่ยนแปลงง่าย Uncertain ไร้ความถาวร Complex ซับซ้อน และ Ambuguous ไม่ชัดเจน คำนี้ได้ยินกันมาพักใหญ่ และโอลิเวอร์ ย้ำว่าจะกลายเป็นการบริหารจัดการการตลาดยุคปัจจุบัน(The New Normal Marketing Management) และแทรกอยู้ในธุรกิจ

เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเลี่ยงไม่อยู่ในโลกการตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ตลาดจะเปลี่ยนแปลงง่าย ไร้ความถาวร ซับซ้อน ไม่ชัดเจนเหล่านี้ 

ปัจจุบันแบรนด์สินค้าเก่าแก่ ยักษ์ใหญ่ และมีอิทธิพลในตลาดมานาน นับวันกำลังถูกท้าทายและแย่งส่วนแบ่งจากแบรนด์ “หน้าใหม่” มากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่าง อุตสาหกรรมเครื่องดื่มโลกช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 20% ของยอดขาย และ 50% ของอัตราการเติบโตในเซ็กเตอร์ มาจากแบรนด์ที่ไม่เคยมีมาก่อน และบ่งชี้ เทรนด์ผู้บริโภค” อยากลองสินค้าใหม่มากขึ้น ความจงรักภักดีต่อแบรนด์(Loyalty)ลดลง แบรนด์จึงไม่ควร เหลิง” คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ดี เพราะเมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน ตลาดเปลี่ยน แบรนด์เปลี่ยน การแข่งขันเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่แน่นอนที่สุด

จะ Re-Think อย่างไร โอลิเวอร์ มีข้อเสนอแนะหลายประการ แบรนด์เกิดมา 30-40 ปี คัมภีร์การตลาดที่ยึดกันมาตลอดหนีไม่พ้นการทำตลาด 360 องศา ส่วนประสมทางการตลาด(4Ps) อัตลักษณ์ของแบรนด์ ตำแหน่งทางการตลาด(Positioning) แผน 3 ปี ฯ หากไร้ศาสตร์เหล่านี้ในแผนตลาดอาจไม่ “เฮี้ยน” แต่ผู้บริโภคไม่ได้สนใจนัก นอกเสียจาก จะได้สแตมป์สะสมจากการซื้อสินค้า หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ คัมภีร์ที่ใช้นำทางการตลาดอาจกลายเป็น “หลุมพราง” ให้แบรนด์ติดกับดักเดิมๆ แต่ควรลอง “เปลี่ยนแปลง” จากกรอบเดิมๆบ้าง เพิ่มการสื่อสารการตลาดที่ดี

นอกจากนี้ ไม่ยึดคิดกับกลุ่มเป้าหมายแค่ลักษณะประชากรศาสตร์ เพศ อายุ ฐานรายได้ ไลฟ์สไตล์ฯ แต่มองผู้บริโภคต้องการรู้ว่าแบรนด์มีความเชื่อมโยงกับเขาอย่างไร การหาความแตกต่างไม่ใช่คำตอบเสมอไป เพราะสินค้าบางอย่าง เช่น สบู่ ยากันยุง อาจหาจุดต่างแทบไม่เจอ แต่หากต้องการหาความต่างต้องมีนัยยะต่อการเติบโตของธุรกิจ Big Idea ต้องใหญ่แค่ไหน บางครั้งสร้างจาก Small Idea ปูทางสู่ความยิ่งใหญ่ได้

การตีตลาดด้วยการสื่อสารแบบ Single Minded ควรมาจากพื้นฐานที่ผู้บริโภคต้องการทราบ หลายแบรนด์ที่มีสโลแกนเด็ด เช่น มิสทิน มาแล้วค่ะ, เซฟ-ที-คัท ตัดก่อนตาย เตือนก่อนวายวอด ,ก.ย.15 ทากันยุง, ซอลท์ เค็มแต่ดี และช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ ฯ การันตีอะไรให้ผู้บริโภค ในเชิงพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคเลือกจากสิ่งเหล่านี้ใช้หรือไม่ หรือแม้กระทั่งการใช้ “ศิลปิน” นักแสดง คนดังมาพรีเซ็นเตอร์สินค้า ควรจะช่วยกระตุ้นการขายสินค้าให้ได้มากขึ้น หรือปัจจุบันแบรนด์เป็นเครื่องมือทำให้พรีเซ็นเตอร์ดังขึ้น

157336040624

157336037780

“ความสำเร็จเกิดจากการจดจำสโลแกน ร้องเพลงจากโฆษณาได้ หรือวัดจากยอดขาย วันนี้แบรนด์ไม่ใช่ต้องสื่อสารการตลาด แต่ต้องเข้าใจในเรื่องเศรษศาสตร์เชิงพฤติกรรม เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เข้าไปอยู่ในชีวิตเขาอย่างไร การใช้พรีเซ็นเตอร์ต่างๆ เราต้องคิดใหม่ บริหารแบรนด์ให้สมดุล”

นอกจากนี้ “การสร้างแบรนด์ยุคใหม่” ยังมุ่งสร้าง ประสบการณ์” ให้ผู้บริโภคมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ “สัมผัส” ได้จริง เช่น การเข้าไปใช้บริการธนาคารพาณิชย์แบรนด์ต่างๆ ผู้บริโภคจะรับรู้ความแตกต่างได้ด้วยตัวเอง

ส่วน แบรนด์ จะกลายเป็นเรื่องของการ “ปฏิสัมพันธ์ กับผู้บริโภคมากขึ้น ดังนั้นการมีแค่อัตลักษณ์เด่นชัดยุคนี้ไม่เพียงพอ เพราะจะไม่เกิดประโยชน์เลยหากไม่เกิด Interaction กับผู้บริโภค ปัจจุบันแบรนด์ทำตัวเองให้เป็น Living Brand เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมบางอย่างสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น แอร์บีเอ็นบี สร้างวัฒนธรรมการไม่จองโรงแรม สตาร์บัคส์ สร้างวัฒนธรรมการทำงานไม่เคร่งเครียดไม่แค่เป็นแหล่งพำนักที่ 3 เป็นต้น

ขณะที่ สินค้า” จะถูกยกเป็น เส้นทางของผู้บริโภคหรือ Customer journey ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือในการขายสินค้าเป็นเส้นตรงแบบในอดีต ที่เห็นโฆษณา ไปที่ช่องทางจำหน่าย เทียบข้อดีข้อเสียต่างๆ แล้วตัดสินใจซื้อ แต่กลายเป็น ความซับซ้อน ยิ่งขึ้น เพราะผู้บริโภคยุคนี้เห็นโฆษณาแล้วจะสืบค้นข้อมูล อ่านบล็อก ดูยูทูป เฟสบุ๊ค ดาวน์โหลดแอ๊พพลิเคชั่น อ่านรีวิวซ้ำ ดูผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น หากดูเส้นทางการซื้อสินค้า นักการตลาดยังเห็น Need Stage ของผู้บริโภคแต่ละช่วง หากนำไปต่อยอดแค่การสื่อสารการตลาด อาจพลาดโอกาสใหญ่หลวง เพราะมีช่องว่างในการพัฒนาสินค้าตอบสนองความต้องการ สร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้

การตลาดแบบบูรณาการ 360 องศา ควรเปลี่ยนมาสร้างความผูกพัน(Engagement)กับงานของลูกค้า 365 วัน ความต้องการเชิงลึก(Insight)ไม่ต้องพูดกันมาก แต่ควรมอง “ความจริง” ที่ผู้บริโภคต้องการ เช่น ผงซักฟอกช่วยทำความสะอาดผ้าขาว แต่ผู้บริโภคยุคนี้มักซักผ้าเวลาดึก ทำให้ผ้าอับชื้น ดังนั้นผงซักสำหรับซักผ้ากลางคืน ลดกลิ่นอับตอบโจทย์ผู้ใช้จริงมากกว่า เป็นต้น

157336034947

สิงห์ Re-Thinkกลยุทธ์

Singha Rewards น้ำแร่โตด้วยแฟชั่น

เพราะ “สูตรสำเร็จ” การทำตลาดแบบเดิมๆอาจเสื่อมมนต์ตามยุคสมัย จึงเห็นแบรนด์มากมาย พลิกสูตรรบ วางกลยุทธ์กันใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตัวอย่างแบรนด์ที่ Re-Think ที่หยิบยกมาได้แก่ สิงห์คอร์ปอเรชั่น“สิงห์”เป็นยักษ์ใหญ่เบียร์ และพยายามรุกธุรกิจใหม่ที่ไม่ใช่เบียร์มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์” อย่าง“น้ำดื่มสิงห์”เป็นเบอร์ 1 ในตลาดน้ำดื่มมายาวนาน และกำลังถูกคู่แข่ง “คริสตัล” ขับเคี่ยวจนมีส่วนแบ่งทางการตลาดห่างกันแค่ “จุดทศนิยม” อีกแบรนด์คือ“น้ำแร่เพอร์ร่า”ทั้ง 2 แบรนด์มีโจทย์ต้องแก้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง "ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล" ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด ธุรกิจนอนแอลกอฮอลล์ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ฉายภาพ

157336053127

**ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล**

เริ่มที่น้ำดื่มสิงห์แบรนด์เก่าแก่ 37 ปี มีความน่าเชื่อถือ เป็น “ข้อได้เปรียบ” ในการทำตลาด ทว่าอีกมุมเกิด “จุดอ่อน” เพราะขาดความสดใหม่ ทันสมัย ทำให้ 2-3 ปีที่ผ่านมาแบรนด์ต้องปรับตัวครั้งสำคัญด้วยการพยายามดึง “คนรุ่นใหม่” จากหลากหลายวงการไม่ว่าจะเป็นแร็ปเปอร์สุดฮอตอย่างโต้งทูพี,เบเบ้ธันย์ชนกตัวแทนคนรักสุขภาพ,เจ้านายจินเจษฎ์นักร้อง มาเป็น“พรีเซ็นเตอร์”จนเกมโกยส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง

นอกจากนี้ ตลาดน้ำดื่ม 4.5 หมื่นล้านบาท เติบโต 2 หลักทุกปี แบรนด์ท้องถิ่น เฮ้าส์แบรนด์ของร้านค้าร้านอาหารภูธร ต่างอยากมีพื้นที่แจ้งเกิดบ้าง และการผลิตน้ำสะอาด(RO)เกิดได้ง่ายด้วยต้นทุนไม่กี่ล้านบาท ทำให้น้ำดื่มยี่ห้อน้องใหม่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งบิ๊กแบรนด์มากขึ้น สัดส่วน 40%

เจอศึกชนช้างไม่พอ เจอกองทัพมดที่รวมพลังกันมาแย่งตลาด สิงห์จึงแก้เกมด้วยการทำตลาดโดยโฟกัส “ผลิตภัณฑ์” สื่อสารให้ผู้บริโภครู้ความต่างของ “น้ำดื่ม” ว่าแม้จะมีความ “ใส” แต่ความสะอาด คุณภาพ ประโยชน์แตกต่างกัน และนั่นทำให้สิงห์ชูมาตรฐาน “Smart Micro Filter” มา การจะย้ำมาตรฐานใหม่ให้ดัง ต้องใช้แม่เหล็กมาดึงความสนใจของผู้บริโภค จึงใช้“ณเดช”เป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมเดินสายพบผู้บริโภคประชิดตัวหลากหลายพื้นที่ การสื่อสารตลาดจัดเต็ม 360 องศา ทั้ง TVC ออนไลน์ กิจกรรมออนกราวด์ กวาดการรับรู้ถึงผู้บริโภครวม 85 ล้านสายตา

ว่ากันว่ายุคนี้ ผู้บริโภคมี Loyalty ต่อแบรนด์น้อยลง แต่สิงห์ต้องมัดใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้อยู่หมัด และขยายฐานลูกค้าใหม่ให้เติบโต จึงผุดไอเดีย“Singha Rewards”สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งผลลัพธ์ของกลยุทธ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นโชคหลายชั้น เพราะนอกจากจะได้ฐานผู้ดื่มน้ำสิงห์ น้ำแร่เพอร์ร่า มาร่วมกิจกรรมกว่า 8.1 ล้านราย ได้ “ฐานข้อมูล” ความสนใจของผู้บริโภค เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ เช่น อนาคตจะขายสินค้าใด แบรนด์รู้ได้ทันทีว่า กลุ่มผู้บริโภคไหน เพศใด อายุเท่าไหร่ ชื่นชอบสินค้าใด

157336058983

นอกจากนี้ Singha Rewards ยังช่วยทลายข้อจำกัดของการทำโปรโมชั่นเครื่องดื่ม ที่เดิมแห่เทงบซัดแหลกช่วงซัมเมอร์ ซึ่งเป็นไฮซีซั่น แต่สุดท้ายได้ส่วนแบ่งการตลาดกันไปนิดหน่อย ซ้ำร้ายจบแคมเปญ ผู้บริโภคก็เปลี่ยนใจไปซบแบรนด์อื่น แต่ Singha Rewards ทำให้บริษัททำแคมเปญได้ตลอด งบประมาณที่ทุ่มทำตลาด ซื้อสื่อโฆษณาช่วงหน้าร้อน แปลงเป็นทุน “ซื้อของรางวัล” แจกผู้บริโภค ทำให้กระจายผู้โชคดีได้มากถึงหลักแสนราย จากส่งชิงโชค ร่วมกิจกรรมแบบเดิมมีผู้โชคดีเต็มที่หลัก “ร้อยราย” เท่านั้น เรียกว่า“ผู้บริโภคHappy”จำนวนมากขึ้น

มาดูผลลัพธ์ของการ คิดหมากใหม่ในการทำตลาดธิติพรโชว์ผลงานด้านธุรกิจ คือผู้ที่ดื่มน้ำ “แบรนด์อื่น” เปลี่ยนใจมา “ดื้มน้ำสิงห์” ถึง 36% จากฐาน 40% ขณะที่ฐานแฟนน้ำดื่มสิงห์เป็นประจำมีตุนไว้แล้ว 60% ลูกค้ากรอกรหัสใต้ฝา 100 ล้านฝาต่อปี เทียบชิงโชคเดิมๆ 10 ล้านฝา

กุญแจความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการเข้าถึงผู้บริโภคง่าย บริษัทยืดหยุ่นในการทำแคมเปญตลาด และคู่แข่งจะเลียนแบบไม่ง่าย เพราะการเป็น First mover มักจะเกิดภาพจำในการเป็นเจ้าของกลยุทธ์ ยิ่งกว่านั้นการคิดใหม่ยังทำให้เพิ่มโอกาสการเติบโตจากการเรียนรู้ วิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้บริโภคที่มีแต่ละเซ็กเมนต์ต่อยอดแคมเปญการตลาดใหมๆในอนาคต รวมถึงการมีช่องทางขายใหม่ๆเกิดขึ้น

น้ำสิงห์เป็นบิ๊กแบรนด์ แตกต่างจากน้ำแร่เพอร์ร่าเป็นแบรนด์วัยกระเตาะ 8 ขวบเท่านั้น การจะกลยุทธ์ตลาดเดิมไปสู้ยักษ์ใหญ่ตลาดน้ำแร่ เห็นทีจะยากธิติพรอ่านเกมของตลาดน้ำแร่ส่วนใหญ่สื่อสารกับผู้บริโภคด้วยเรื่องสุขภาพ ภูเขา น้ำตก ต้นไม้ เรียกว่าไม่กี่ฉากที่เป็น “จุดขาย”

หากมองพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ การตัดสินใจมักเกิดจาก Emotional หรืออารมณ์ 80% ส่วนใช้เหตุผลมีส่วนน้อย 20% เท่านั้น

“ถ้าทุกคนใช้เหตุผลในการตัดสินใจอาจไม่ต้องมีนักการตลาดมีแค่นักวิทยาศาสตร์ก็เพียงพอ”เขาบอกและขยายความแบรนด์สินค้าลักชัวรีระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Louis Vuitton HERMES ราคาขายหลักแสนหลักล้าน ขายได้เพราะผู้บริโภคซื้อโดยทันที(Impulse buy)“คนใช้อารมณ์ตัดสินใจซื้อมากกว่า”

น้ำแร่เพอร์ร่าจึงหยิบทฤษฎีทางอารมณ์มาใช้ในการทำตลาด เพื่อสร้างความต่างจากคู่แข่ง และให้ผู้บริโภคยอมควักเงินจ่ายซื้อสินค้าบริษัท จึงเริ่มทำให้ “บรรจุภัณฑ์” ฉลากสวยงามโดดเด่นมี Appeal ดึงดีไซน์เนอร์ชื่อดังแห่งวงการแฟชั่นมาอออกแบบให้ตั้งแต่ปี 2559 ต่อเนื่องถึงปี 2562 ซึ่งปีนี้ได้ร่วมหรือ Collaborate กับแบรนด์ SIRIVANNAVARI BANGKOK แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของไทย เปิดตัวขวด “Limited Collection Autumn/Winter 2019” นำเสนอ 3 ดีไซน์ ผ่านการผสมผสานสัญลักษณ์ S, นกยูง, และ บทกวี ภายใต้แรงบันดาลใจจากจิตวิญญาณผ่านความคิดที่เป็นอิสระไร้ข้อจำกัด

“วันนี้เพอร์อยากทำอะไรที่เป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่นผู้บริโภค เราเป็นแค่น้ำดื่มไม่พอ แต่ต้องการเป็นแฟชั่นแบรนด์ด้วย ดังนั้นการทำหนังโฆษณาจึงไม่เหมือนการขายน้ำดื่ม แต่เป็นการขายแฟชั่น”

ทั้งนี้ การตัดสินใจซื้อน้ำดื่มส่วนใหญ่เกิดขึ้นหน้าชั้นวางสินค้า(เชลฟ์) การทำขวดดีไซน์โดดเด่นจึงกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ และเพอร์ร่าก็พิสูจน์ด้วยการก้าวเป็นเบอร์ 1 ตลาดน้ำแร่ของเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2562 จากท็อป 5

“นักการตลาดรู้ว่าต้องทำอะไรที่แตกต่าง..แต่จะต่างยังไงต้องตรงกับใจลูกค้าด้วย”