สถาบันศึกษาปั้นคนการบิน
ธุรกิจการบิน เป็นอีกสาขาอาชีพหนึ่งที่ต้องการความรู้ และความสามารถเฉพาะด้าน ซึ่งยังไม่รวมถึงองค์ประกอบด้านรูปร่างหน้าตา ดังนั้น บุคลาการที่จะเข้าสู่ธุรกิจนี้ จึงไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่ได้รับคัดเลือกและฝึกฝนเป็นการเฉพาะ
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ให้เป็นสนามบินแห่งที่ 3 ของประเทศบนเนื้อที่ 6,500 ไร่ รองรับผู้โดยสาร60 ล้านคนต่อปี เป็นหนึ่งในโครงการหลักภายใต้นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมรองับการลงทุนแห่งอนาคต
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลพบว่า อีอีซีกำลังเผชิญปัญหาท้าทายสำคัญว่าด้วย “การขาดแคลนบุคลาการ”ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานในอีอีซีให้บรรลุตามเป้าหมาย ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการนโบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. เผยว่า จากปัจจุบันจนถึงปี 2566 อีอีซีจะต้องการแรงงานเพิ่ม 475,668 อัตรา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานด้านการบินและอากาศยาน สัดส่วน 7% หรือ 37,836 อัตรา แบ่งเป็น อาชีวศึะกษา 3,718 อัตรา และปริญญาตรี 29,123 อัตรา
ดังนั้นสถาบันเพื่อพัฒนาคนให้เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเหล่านี้ จึงมีความจำเป็น แต่มีคำถามต่อไปอีกว่า สถาบันที่มีอยู่กับภาระการพัฒนาบุคลากรนั้นสอดคล้องกันหรือไม่ อยู่ในภาวะมากไป หรือน้อยไปอย่างไร สำนักงานการบินพลเรือน หรือ กพท. เผยถึงสถิติการออกใบรับรองโรงเรียนการบินด้านต่างๆ