‘AOT' ระส่ำดึงรายได้การบิน หวั่นกำไรหายพันล้านเข้ากองทุนฯ

 ‘AOT' ระส่ำดึงรายได้การบิน  หวั่นกำไรหายพันล้านเข้ากองทุนฯ

ข่าวการดึงรายได้ที่จัดเก็บจากค่าบริการผู้โดยสารขาออก (Passenger Service Charge : PSC) สนามบิน 6 แห่งของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT   ที่เรียกว่า ทอท.  ไม่เกิน 10% เข้ากองทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยาน เพื่อนำไปพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถขอ

      แม้ว่าตามหลักการจะต้องรอกฤษฎีกาตีความแต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถดำเนินการ   ที่สำคัญหากเป็นไปตามประเด็นดังกล่าวเป็นการดึงส่วนรายได้หลักที่มีสัดส่วนต่อรายได้รวมของบริษัทออกไป เรียกได้ว่าเป็นการเจาะเข้าดวงใจของหุ้น AOT ก็ว่า  

     ด้วยฐานรายได้สิ้นปี 2561  อยู่ที่ 60,537.41 ล้านบาท   ซึ่ง 56 % มาจากรายได้ธุรกิจการบิน (Aero)   6 แห่งประกอบไปด้วย สุวรรณภูมิ- ดอนเมือง- เชียงใหม่- หาดใหญ่- ภูเก็ต และแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

      หากแบ่งย่อยรายได้ในส่วนนี้พบว่ามีรายได้จากค่าบริการผู้โดยสารขาออก ซึ่งเป็นรายได้จะถูกเรียกเก็บนั้นมีสัดส่วนต่อรายได้สูงที่สุด ถึง 76 %  รองลงมาคือค่าบริการสนามบิน 22 %   และค่าอำนวยความสะดวก อีก 3 % ท่ามกลางจำนวนเครื่องบินที่ขึ้นลงถึง 874,999 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 6.24 %  

      โดยรายได้ค่าบริการผู้โดยสารขาออก ในปี 2560  อยู่ที่ 23,285 ล้านบาท   ปี 2561 อยู่ที่ 25,850.04 ล้านบาท  และ รอบ 9 เดือนปี 2562 อยู่ที่  26,742.55 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่าหากมีการนำรายได้ในส่วนนี้ออกไปย่อมกระทบฐานรายได้หลักของ AOT ไม่น้อย  

       จากที่ผ่านมา AOT ถือว่าเป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่สร้างผลกำไรส่งให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นอันดับต้นๆ  จากการเติบโตของรายได้ทั้งรายได้การบิน และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบินที่ยังฝ่ากระแสเศรษฐกิจชะลอตัวมีตัวเลขเติบโตได้

       รอบ 9 เดือน ปี 2562  รายได้รวม  64,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  3.91 แบ่งเป็นรายได้ธุรกิจการบิน  35,010.14 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 3.01  รายได้ไม่เกี่ยวการบิน  27,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.60

 อนาคต ทอท. ยังมีแผนการเพิ่มรายได้จากทั้งสองส่วนไม่ว่าจะเป็นการขยายสนามบินเฟส 2 และ 3 เพื่อรองรับผู้ใช้บริการ    รายได้จากสัมปทานดิวตี้ฟรี 4 สนามบิน ซึ่งคือ สุวรรณภูมิ – เชียงใหม่- ภูเก็ต- หาดใหญ่ และพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ  

      ก่อนหน้านี้ ทอท. จะรับมอบสนามบินเพิ่มเติมจาก ทย. มาอีก 4 สนามบิน คือ อุดรธานี-บุรีรัมย์-ชุมพร และ ตาก แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดข้อกฎหมายหลายด้าน  เช่น ที่ดินเป็นทรัพย์สินของรัฐ ไม่มีอำนาจใดรองรับในการยกสนามบินให้เอกชนอย่าง ทอท.บริหาร

      ล่าสุดกลายเป็นรูปแบบ Management contract หรือ การบริหารตามสัญญา ใน 3 สนามบิน  ส่วนสนามบินกระบี่ ทย.ยังคงบริหารจัดการเอง   ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีผลกระทบต่อ AOT น้อยมากเพราะสนามบินที่มีอยู่เพียงพอรองรับการเติบโต

      ยิ่งเมื่อรวมกับรายได้ไม่ใช้ธุรกิจการบินซึ่งได้มีกาสรขยายพื้นที่ เปิดประมูลพื้นที่ดิวตี้ฟรี ไปแล้วใน 5 สนามบิน คือ สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง - ภูเก็ต - เชียงใหม่ และหาดใหญ่  ทำให้ AOT ได้ส่วนแบ่งจากยอดขายเพิ่มขึ้น

       การเปิดประมูลให้บริการเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Duty Free Pick-up Counter) ที่สุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง ที่เปิดขายซองประมูลไปแล้วและจะรู้ผลการประมูลในเดือนม.ค. 2563   เป็นการเพิ่มรายได้ก้อนใหญ่ในอนาคตเช่นกัน

       

        จากผลกระทบดังกล่าวมีการคาดการณ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) ว่าแบ่งรายได้จากค่า PSC สนามบิน 6 แห่งของทอท.  เป็นลบต่อราคาหุ้นของ AOT โดยหากกรณี แย่ที่สุด ที่ AOT จะต้องแบ่งรายได้ PSC เข้ากองทุน 10% ในปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 2,800 ล้านบาท จะกระทบกำไรในปีดังกล่าว ลดลงราว 8% (หลังหักภาษี)

         ส่วนกำไรสุทธิ เหลือเติบโตเพียง 2%  จากช่วงเดียวกันปีก่อน  จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 11% และจะกระทบต่อราคาเป้าหมายสูงสุดไม่เกินที่ 5.00 บาท (คำนวณโดยวิธี DCF ที่ WACC 7% และ terminal growth 4%)

       สำหรับ AOT ประเมินราคาเป้าหมายที่ 88.00 บาท หากเป็นกรณี แย่ที่สุดจะกระทบราคาเป้าหมายเหลือ 83.00 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคา AOT ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นแนะนำ ชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจน

 

  157599464694