‘ภูผา สู่ มหานที’ ร้อยใจกู้วิกฤติแล้งยั่งยืน
กว่า 10ปี ที่เอสซีจีริเริ่มโครงการรักษ์น้ำฯ ได้ตกผลึกองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำคู่ชุมชน เมื่อภัยแล้งเกิดซ้ำและทวีความรุนแรง จึงผนึกกับองค์กรด้านน้ำ และสยามคูโบต้า นำเทคโนโลยีมาขยายวงความรู้การจัดการน้ำไปสู่ 108 ชุมชน เพื่อรับมือวิกฤติ
ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดภัยแล้งน้ำท่วมเป็นปัญหาอยู่คู่กับเกษตรกรไทยต้องเผชิญและรับมือเมื่อต้องพึ่งพาน้ำเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร แหล่งอาหารสำคัญรากฐานของประเทศ จนปัจจุบันปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย แต่กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน (Climate Change)ตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปี2563 ถือเป็นอีกช่วงเวลาที่ภัยแล้งมาเยือนเกษตรกรอย่างรวดเร็ว ยาวนาน เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี
กว่า 10 ปี ที่เอสซีจี ได้เริ่มโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อตามรอยพระราชดำริ มุ่งหวังแก้โจทย์ปัญหาหัวใจสำคัญของประเทศ คือ น้ำ รากฐานสำคัญของเกษตรกรรมประเทศ ดังนั้นจึงต้องเข้าไปเริ่มต้นบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน จากชุมชนรอบโรงงานปูนซีเมนต์ จ.ลำปาง มีการสร้างฝายชะลอน้ำคู่กับการฟื้นผืนป่า สร้างรายได้ในชุมชน
เมื่อเจตนารมณ์ใกล้เคียงกันและทำมาต่อเนื่องทำให้มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เข้ามาเป็นเครือข่ายสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำในชุมชนที่มีภัยแล้งสลับกับน้ำท่วม เช่น ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น เรียนรู้ในการวัดสภาพดินที่มีปัญหาดินปนทราย จะมีวิธีการพลิกผืนดินให้เก็บกักน้ำได้ดีขึ้น โดยวัดความสูงพื้นที่ สำรวจขุดคลอง เพื่อจัดทำพื้นที่รับน้ำและกระจายน้ำตามระดับความสูง ผลปรากฏว่าช่วยกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นถึง 70,000 ลบ.ม. มีครอบครัวได้ประโยชน์มีน้ำใช้เพียงพอนานกว่า 2พันครัวเรือน
นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานคณะกรรมการพัฒนาอย่างยังยืน เอสซีจี เปิดเผยถึงความร่วมมือในการนำโมเดลความรู้การพื้นฟูแหล่งน้ำไปใช้ขยายการช่วยบริหารจัดการพื้นที่ 9 จังหวัดทั่วประเทศที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2558 โดยหัวใจสำคัญของการส่งต่อความยั่งยืนหลังจากตกผลึกการทำงานคู่กับชุมชน นอกเหนือจากเป็นความรู้การบริหารจัดการน้ำ สิ่งที่เป็นเครื่องมือและเกาะป้องกันภัยในการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้ชุมชนคือการมีคุณธรรม การมีจิตสำนึกการแบ่งปันคนในชุมชน จึงทำให้เกิด "ความสามัคคีของคนในชุมชน” ที่เกิดขึ้นจากการได้ร่วมมือกันทำงาน
ภัยแล้งปีนี้จึงเอสซีจีจึงขยายความร่วมมือแสวงหาพันธมิตรเข้ามาทำงาน ทั้งภาครัฐ องค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน อย่างสยามคูโบต้า ภาคธุรกิจที่ทำงานคู่กับเกษตรกรไทย เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนที่มีปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทั้ง 108 ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้สามารถวางแผนการจัดการน้ำด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งได้ด้วยตนเองตลอดกระบวนการ จึงจัดสรรงบประมาณ 30 ล้านบาท สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของชุมชนในระยะเวลา 2 ปี
ระหว่างการเรียนรู้จะมีการทำงานร่วมมือกันระหว่างชุมชนแกนนำของอุทกพัฒน์ฯที่เป็นต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ และมีเอสซีจี เป็น “พี่เลี้ยง” โดยมีฝ่ายกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 ร่วมสำรวจและพัฒนาพื้นที่ประสบภัยแล้ง
“ปัจจัยสำคัญของการอยู่รอดจากภัยแล้งอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จาก คนในชุมชนลุกขึ้นมาร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้คู่คุณธรรม เมื่อรู้ รัก สามัคคี ลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเอง ก็จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมให้ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ เกิดการแบ่งปันการใช้น้ำอย่างเป็นธรรม ไม่เกิดความขัดแย้ง เป็นเกราะป้องกันภัยในการแก้ปัญหาได้ทั้งน้ำแล้งและน้ำหลาก ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตร ชาวบ้านก็จะมีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีรายได้ ขจัดความยากจนให้หมดไป”
ด้านสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด พันธมิตรผู้ร่วมโครงการ มองว่า ธุรกิจของสยามคูโบต้าเป็นผู้พัฒนาเครื่องมือในการทำปัจจัยการผลิตไปสู่เกษตรกรไทยเป็นเวลายาวนานกว่า 41 ปีจึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการอยู่เคียงข้างกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย
ดังนั้นปัญหาของน้ำและภัยแล้ง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร รากฐานสำคัญในการสร้างรายได้เลี้ยงชีพของเกษตรกรไทย ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำให้กับเกษตรกรไทยใน 108 ชุมชน จึงร่วมมือกับเอสซีจี ในการนำจุดแข็งที่สยามคูโบต้ามีคือเครื่องจักรกล เข้ามามีส่วนช่วยเสริมการสำรวจ ขุด เจาะ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชุมชน บัดน้ำประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ให้ชุมชนรอบโรงงานได้รับประโยชน์สำหรับทำการเกษตรในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำและผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้น้ำบำบัดของโรงงาน ตลอดจนสนับสนุนพื้นที่ในเหมืองทราย 8 แห่ง และพัฒนาเหมืองเก่า 7 แห่ง ให้ปรับปรุงเป็นแหล่งกักเก็บน้ำได้รวม 44.3 ล้าน ลบ.ม. เพื่อมอบให้เป็นแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ของชุมชนต่อไป
ขณะที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มองภาพผลกระทบของวิกฤติภัยแล้งเริ่มส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก เพราะความผันผวนสภาพอากาศ โดยเฉพาะไทย แม้จะฝนตกเฉลี่ย 7-8 แสนล้าน ลบ.ม. ต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรของประชาชน แต่หลายภาคส่วนยังขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำ จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่างปริมาณน้ำที่มีกับความต้องการใช้ ต้นตอปัญหาที่ทำให้ไทยมีทั้งปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
ดังนั้น จึงต้องมีการบริหารจัดการเก็บกักน้ำในช่วงเวลา 3-4 เดือนที่มีน้ำ เพื่อแบ่งใช้ให้เพียงพอใน 9 เดือน ซึ่งการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ต้องมาจากคนในชุมชนลุกขึ้นมาร่วมมือกันจัดการกับปัญหาด้วยตัวเอง เพราะเข้าใจสภาพพื้นที่ของตัวเองดีที่สุด โดยนำเทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการจัดการ
“ชุมชนที่จะแก้ปัญหาภัยแล้งได้นั้นต้องเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีความรู้และความสามัคคี ต้องการลุกขึ้นมาจัดการน้ำด้วยตนเอง มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้เคียง หาที่กักเก็บน้ำ โดยอาจปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำ และใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการน้ำ กระจายน้ำสู่ชุมชน เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม GPS และโซลาร์ฟาร์มเพื่อประหยัดไฟฟ้า ซึ่งถ้าทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกันก็จะสามารถข้ามผ่านวิกฤตภัยแล้ง และมีน้ำกิน น้ำใช้ อยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร” ดร.สุเมธ กล่าว
ขณะที่เอสซีจี เข้าไปช่วยจัดการด้านกระบวนการบำ