เฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉิน

เฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉิน

ดัชนีวานนี้ปิดปรับตัวขึ้นแรง คาดเป็นแรงรีบาวด์พร้อมกับตลาดหุ้นภูมิภาค

หลังจากที่คืนก่อนหน้าดัชนี DJIA บวกกว่า 5% บวกกับภายในประเทศเริ่มทยอยออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ นักลงทุนสถาบันกลับมาซื้อสุทธิกว่า 8.8 พันลบ. ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,375.02 จุด (+39.30 จุด) Volume 7.0 หมื่นลบ. ต่างชาติ -5,324.64 ลบ. TFEX Net +21,992 สัญญา

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 43 เซนต์ +0.9% ปิดที่ 47.18 ดอลลาร์/บาร์เรล จากคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกและพันธมิตรจะปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน

+ ครม.อนุมัติงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน 1.23 พันลบ.ให้สาธารณสุขใช้ป้องกันไวรัสโควิด-19 ลุกลาม

+ ครม.อนุมัติยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ"ชิม ช้อป ใช้"สำหรับ cashback

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 785.91 จุด หรือ -2.94% หลังเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินลง 0.50% สะท้อนว่าผลกระทบของไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าคาด

-สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ Q1/63 มูลค่าส่งออกไทยไปจีน -3.6% Q2/63 -2.91% และ 1H63 -3.3% จะทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการส่งออกสูงถึง 1,500-1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะการส่งออกของไทยไปจีนมีสัดส่วน 12% ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปโลก

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 46,602.82 ลบ. ค่าเงินบาท 31.42 บาท/US

*จับตาในประเทศมีการประชุมกกร. ส่วนสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.พ. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book)

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวผันผวน แม้จะมีแรงหนุนจากการที่เฟด ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินลง 0.50% ก่อนการประชุมในวันที่ 17-18 มี.ค. ส่งผลให้นักลงุทนเกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางต่างๆ จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามมา แต่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,350-1,385 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (TU CPF)
  • หุ้น Defensive (RATCH TTW ADVANC CHG)
  • หุ้น High Dividend (KKP TISCO INTUCH)

หุ้นรายงานพิเศษ

CRC analyst meeting มุมมอง “Neutral” ทยอยซื้อสะสม

ปี 62 มีรายได้รวม 2.22 แสนล้านบาท +7.8% จากการรวมธุรกิจ เงินชดเชยจากการประกันภัยกรณีเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าเซน การเติบโตของธุรกิจฮาร์ตไลน์ ธุรกิจอาหารในเวียดนาม และธุรกิจแฟชั่นในประเทศ กำไรสำหรับงวดจากการดำเนินงานต่อเนื่อง 12,359 ล้านบาท +11.3% หากตัดรายการพิเศษจะมีกำไรปกติ 10,633 ล้านบาท -2.7% ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.16 บาท yield 0.5% กำหนด XD 7 พ.ค. วันจ่าย 26 พ.ค.

แผนการดำเนินการปี 63 ตั้งงบลงทุนป 1.8 หมื่นล้านบาทใช้ในการขยายสาขาทั้งในประเทศไทย อิตาลี และเวียดนาม รวมทั้งใช้ในการปรับปรุงสาขา และการวางระบบงานขายผ่านช่องทาง OMNI

ความเห็น คาดผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกปี 63 จะได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และมีโอกาสฟืนตัวในช่วงครึ่งปีหลังหากสถานการณ์คลี่คลาย ปัจจุบันราคาหุ้นต่ำกว่าราคาจองที่ 42 บาทราว 16% และการเป็นหุ้นใน SET50 จึงถือเป็นโอกาสในการทยอยซื้อสะสม

หุ้นมีข่าว   

(-) “ดร.โกร่งชี้ไทยอยู่ในช่วง มหาวิกฤติทั้ง เศรษฐกิจ-การเมือง-กฎหมายย้ำชัดภาวะเศรษฐกิจ ปีก่อนเผาหลอก ต้นปีนี้เผาจริง ปลายปีเก็บกระดูกไปลอยอังคารแถมติดกับดักรัฐบาลทหาร ทำให้โอกาสฟื้นตัวต้องรอนานถึง 5 ปี (ที่มา ข่าวหุ้น) 

(+) GULF (Bloomberg Consensus 176.22 บาท) เผยปี 66 ใหญ่บึบ! กำลังการผลิตไฟฟ้าพุ่งพรวด 7 พันเมกะวัตต์ แย้มปี 64 รายได้โตก้าวกระโดด 5 หมื่นล้านบาท อานิสงส์บุ๊กโรงไฟฟ้า GSRC ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ ส่วนปี 63 คาดรายได้โต 10% จ่อออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาทกลางปีนี้ พร้อมกางแผน 7 ปี (63-69) ทุ่มงบลงทุน 1.4 แสนล้านบาท ลั่นเป้าปี 68 โกยรายได้ทะยาน 1.4 แสนล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น) 

(+) BGRIM (Bloomberg Consensus 51.91 บาท)  เซ็นสัญญาขายไฟฟ้ากับลูกค้ารายใหม่เพิ่มอีก 8 เมกะวัตต์ ที่นิคมอุตสาหกรรมฯ ระยอง รวมเพิ่มขึ้น 31 เมกะวัตต์ในปีนี้ เดินหน้าขยายฐานลูกค้าต่อเนื่อง คาดกลุ่มอุตสาหกรรมยังมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น พบว่ากลุ่มบรรจุภัณฑ์เพิ่ม 20% และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 32% (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) APCO (Bloomberg Consensus - บาท) ส่งซิกงบไตรมาส 1/63 โตก้าวกระโดด เล็งพิจารณาปรับเพิ่มเป้าหมายรายได้รวมทั้งปีจากเดิมคาดโต 70% หลังตลาดจีนมีความต้องการสูง ล่าสุดแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ BIM ขายในจีน-ฮ่องกง-ไต้หวัน-สิงคโปร์ พร้อมวางเป้าขาย 30,000 ขวด/เดือน (ที่มา ข่าวหุ้น)

(-) ICHI (Bloomberg Consensus 8.40 บาท) ปรับลดเป้ารายได้ปีนี้เหลือโต 7% จากเดิมคาดโต 15% หลังเศรษฐกิจยังชะลอตัวรับผลกระทบไวรัสโควิด-19 พร้อมงัดกลยุทธ์สู้ศึกชาเขียว ส่งผลิตภัณฑ์ไซซ์เล็กชิงตลาด คาดอินโดนีเซียทำกำไรครั้งแรก 10 ล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) JMT(Bloomberg Consensus 23.00 บาท)  ปิดดีลซื้อหนี้ด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกันเข้าพอร์ตเกือบ 3,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2562 ซื้อหนี้เข้าพอร์ตได้เกือบ 29,000 ล้านบาท ตุนพอร์ตบริหารหนี้รวม ณ สิ้นปี 2562 อยู่ที่ราว 174,000 ล้านบาท ปี 2563 วางงบลงทุน 4,500-6,000 ล้านบาท รับโอกาสซัพพลายหนี้ด้อยคุณภาพ หนุนธุรกิจเติบโตแข็งแกร่ง (ที่มา ทันหุ้น)

(+/-) VNG (Bloomberg Consensus - บาท)  บอร์ดไฟเขียวเพิ่มทุน 223.85 ล้านหุ้น ขาย RO ในอัตรา 7 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน ราคา 3.75 บาทต่อหุ้น เพิ่มสภาพคล่องกว่า 840 ล้านบาท รับมือเศรษฐกิจถดถอยผลพวงสงครามการค้า-พิษไวรัสโควิด-19 พ่นพิษ "วรรธนะ เจริญนวรัตน์" เผยผู้ถือหุ้นรายใหญ่พร้อมใส่เงินเพิ่มทุนตามสัดส่วน ระบุจะทำให้บริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น(ที่มา ทันหุ้น)

(+/-) BANPU ยื่นไฟลิ่ง ต่อก.ล.ต. เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนทั่วไปในวงเงิน 4 พันล้านบาท และส่วนสำรองเพื่อเสนอขายเพิ่มเติม 2 พันล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 6 พันล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงินและสร้างเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาวรองรับกับการขยายตัวของธุรกิจ (ที่มา  ทันหุ้น)