พาณิชย์จับมือภาครัฐ-เอกชน รับมือผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดปีนี้

พาณิชย์จับมือภาครัฐ-เอกชน รับมือผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดปีนี้

จุรินทร์ ถกหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ออกมาตรการเชิงรุก ทั้งขายในประเทศ ส่งออก  หวังผลักดันให้ผลไม้ไทยผ่านพ้นโควิด-19 คาดทั้งปีมีผลผลิตรวม 3 ล้านตัน เพิ่ม 10 %

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุม การขับเคลื่อนมาตรการช่วยผลไม้ไทย สู้ภัยโควิด-19’ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการหาแนวทางทำงานเชิงรุกรับมือกับผลผลิตผลไม้ปีนี้ ที่กำลังทยอยออกสู่ตลาด โดยคาดจะมีผลผลิตรวม 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ทั้งนี้ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกันถึง 40 องค์กร เพื่อนำแนวทางต่างๆ มาร่วมกันดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และทำให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้น

สำหรับแนวทางที่จะดำเนินการร่วมกัน คือ กรมวิชาการเกษตรจะเร่งให้การรับรองสวนผลไม้ที่ได้มาตรฐานตามระบบจัดการคุณภาพพืช (จีเอพี) เพื่อให้สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้มากขึ้น, ตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ อย่างในภาคตะวันออกที่จันทบุรี หรือภาคใต้ ที่จ.ชุมพร เพื่อรวบรวมและกระจายผลไม้, ระบบกระจายผลไม้ทั้งในประเทศและส่งออก ขอความร่วมมือให้สมาคมตลาดกลาง ที่มีประมาณ 20 ตลาดทั่วประเทศ เป็นผู้ค้าส่งทั่วประเทศ ซึ่งดูดซับผลผลิตรวมได้ 60-70% ส่วนค้าปลีก จะกระจายผ่ายห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ นำไปขายที่สนามบินเพื่อให้ประชาชนโหลดขึ้นเคร่ื่องบินได้ฟรี 20 กิโลกรัม ขายผ่านออนไลน์ จัดกิจกรรมรณรงค์การบริโภค เช่น การจัดงานเทศกาลผลไม้ไทยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นต้น

  158374869727      

นายจุรินทร์  กล่าวว่า   ส่วนในด้านการส่งออก จะมีการจัดโรดโชว์ และกิจกรรมส่งเสริมบริโภคผลไม้ไทยในประเทศต่างๆ การนำผู้ประกอบกาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ จัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ซื้อต่างประเทศ และผู้ขายของไทย แก้ปัญหาการส่งออกทั้งทางอากาศ และทางบก แก้ปัญหาการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลไม้ที่ซ้ำซ้อน เช่น การส่งออกไปจีน ที่แม้จะผ่านการตรวจสอบจากไทยแล้ว แต่เมื่อไปถึงจีนยังต้องตรวจสอบซ้ำอีก ทำให้การส่งออกไม่คล่องตัว ดังนั้น กรมการค้าภายในจะประสานความร่วมมือ เพื่อให้มีการลงนามเอ็มโอยูระหว่างเซ็นทรัล แล็บ ผู้ตรวจคุณภาพผลไม้ของไทย และหน่วยงานตรวจสอบของจีน (ซีซีไอซี) เพื่อให้ยอมรับมาตรฐานการตรวจสอบร่วมกัน รวมถึงเจรจากับอินโดนีเซีย ที่ยังมีมาตรการกีดกันการนำเข้าผลไม้ไทย

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ โดยกระทรวงจะช่วยชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ส่งออกในอัตรา 3% ระยะเวลา 6 เดือน เพื่อมีเงินไปซื้อผลไม้เพื่อส่งออกมากขึ้น ส่วนสหกรณ์การเกษตร จะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% ระยะเวลา 10 เดือน มีวงเงินทั้งหมด 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สหกรณ์มีเงินในการรวบรวมผลไม้จากเกษตรกร แล้วไปกระจายต่อไปมากขึ้น ส่วนสมาคมตลาดกลาง กระทรวงจะให้การช่วยเหลือเช่นกัน

ส่วนกรณีผู้รวบรวม คัดแยก และส่งออกผลไม้ (ล้ง) ที่มักมีปัญหากดราคารับซื้อจากเกษตรกรนั้น กระทรวงจะดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยจะกำหนดให้ใช้สัญญามาตรฐานระหว่างล้งและเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น จะใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ามาดำเนินการกับล้งที่มีพฤติกรรมเอาเปรียบเกษตรกร เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบของสินค้าการเกษตรที่เกิดจากโควิด-19 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูล และขอความช่วยเหลือ รวมถึงร้องเรียนได้ที่ w 158374871574 ww.nabc.go.th