กรุ๊ปเอ็ม ชี้ทางรอดธุรกิจ  ฝ่าวิกฤติโควิด เอฟเฟคท์ 

กรุ๊ปเอ็ม ชี้ทางรอดธุรกิจ   ฝ่าวิกฤติโควิด เอฟเฟคท์ 

นาทีนี้ "วิกฤติโควิด-19" นอกจากทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยน ส่วนธุรกิจ "ค้าขาย" ยากขึ้น เพราะหลายอย่างต้องหยุดชะงัก แต่ "นักการตลาด" ต้องไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ การปรับตัว สร้างแบรนด์ภายใต้ข้อจำกัด ท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ

นับเป็นปัจจัยที่ ช็อค!โลก และเหนือคาดการณ์อย่างมาก สำหรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตประชากรทั่วโลก ยังทุบเศรษฐกิจ ธุรกิจการค้าขายต้องเผชิญความยากลำบาก

ทว่า วิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ เป็นบททดสอบสำคัญของทุกคนที่จะไม่ยอมแพ้แต่ต้องลุกขึ้นมาท้าทายตัวเอง ยอมรับ ทำความเข้าใจ และหาทางรับมือกับสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ให้ได้ ทั้งนี้ กรุ๊ปเอ็มประเทศไทย(GropM)กลุ่มเอเยนซี่ชั้นนำระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) ได้ผนึกกับเอเยนซี่ในเครือ ได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ รวมถึงพันธมิตรอย่าง คันทาร์ ผู้นำด้านการวิจัย และ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) สรุปภาพรวมและผลกระทบจากโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ และระดับธุรกิจสินค้าและบริการหมวดหมู่ต่างๆ พร้อมเสนอข้อแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักโฆษณาและการตลาด เพื่อที่จะได้เข้าใจ เตรียมตัว และปรับแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผ่านบทความ GroupM TH's POV on Coronavirus - Trends & Implications for Brands and Marketers

158671124417

เริ่มจากภาพใหญ่ของประเทศ เมื่อโรคโควิด-19 เริ่มระบาดตั้งแต่เดือนม..ที่ผ่านมา ภาครัฐและเอกชนต่างร่วมกันออกมาตรการต่าง หวังสกัดและลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคให้กับประชาชนและภาคธุรกิจมากมาย เช่น การนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแพร่ระบาดของไวรัส การรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองด้วยการการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมืออย่างถูกต้อง การตั้งข้อกำหนดให้พนักงานบริษัททำงานจากที่บ้าน การปิดน่านฟ้าและการกำหนดให้มีการกักตัว 14 วัน สำหรับคนไทยเพื่อป้องกันไม่ให้นักเดินทางจากประเทศที่เป็นเขตพื้นที่โรคเสี่ยงเข้ามายังประเทศไทย เป็นต้น

ที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนด (...)การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (...ฉุกเฉิน) ตามด้วยการประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านในช่วงเวลาระหว่าง 22.00 - 04.00 . เพื่อควบคุมการติดเชื้อระหว่างคนภายในประเทศ ที่ปัจจุบันเพิ่มจำนวนเป็นกว่า 2,000 ราย (ข้อมูล 6 เม.. 2563)

แน่นอนว่ามาตรการข้างต้นส่งผลโดยตรงต่อกลไกต่าง ของประเทศหยุดชะงักทั้งเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของผู้บริโภค และผลวิจัยโดย คันทาร์ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีความกังวลเรื่องการเงินและสุขภาพมากขึ้น โดย 66% ของผู้บริโภคชาวไทยหันมาให้ความสำคัญในการวางแผนการใช้เงิน, 54% เป็นห่วงอนาคตเศรษฐกิจไทย, 52% เริ่มกังวลสุขภาพตนเอง และ 40% ตื่นตระหนกซื้อสินค้าตุนไว้

ขณะที่เครื่องมือ ZOCIAL EYE โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ช่วงเดือนม..ถึงกลางเดือนมี.. ผู้บริโภคกลาวถึงโรคโควิด-19 มากกว่า 148 ล้านข้อความ ถกกันผ่าน Twitter มากถึง 65% และเฟซบุ๊ก 20% ขณะที่การร่วมมืออยู่บ้าน ทำให้พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ทั้งชอปปิง ใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้น โดย 52% เริ่มสมัครดูคอนเทนท์ผ่านสตรีมมิ่งแบบจ่ายเงิน, 44% เริ่มสั่งอาหารออนไลน์ เฉพาะการสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 116%

158671128038

ที่น่าสนใจคือการอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน ทำให้การรับชมทีวีเติบโตขึ้น เสพรายการบันเทิง และข่าว สาระมากขึ้นด้วย

ส่วนธุรกิจที่ค้าขายสินค้าและบริการ ผลกระทบจากโควิด-19 มีมาก แบรนด์จึงต้องปรับตัวรับมือให้ดี เช่น หมวดยานยนต์ ที่เลื่อนงานใหญ่ มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ออกไป ยิ่งกว่านั้นเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ชะลอตัว ทำให้การใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคจะ รัดกุม ขึ้น ส่งผลให้ความต้องการซื้อรถลดลงกว่าปีก่อน อสังหาริมทรัพย์ เป็นสินทรัพย์ราคาแพง ใช้การเวลาตัดสินใจสูง สถานการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคเลือกประหยัดไว้ก่อน การท่องเที่ยวและบริการ เอฟเฟคท์สาหัสมาก โรงแรม สายการบินฯ สูญเสียรายได้มหาศาล แต่แบรนด์ยังทำตลาด มีส่วนร่วมรับช่วยเหลือสังคม พ้นวิกฤติโควิดแบรนด์จะอยู่ในใจผู้บริโภค

เมื่อการล็อคดาวน์ ปิดห้างร้าน และการทำงานอยู่บ้านไม่ต้องแต่งสวยหล่อ แม้ผลสำรวจระบุว่าผู้บริโภคบางส่วนยังกังวลภาพลักษณ์เมื่อประชุมผ่านระบบดิจิทัล ทำให้แต่งหน้า แต่งตัวแต่ภาพใหญ่กลุ่มสินค้าความงามและแฟชั่น ยังกระเทือนเพราะผู้บริโภคชอปปิงไม่ได้ ยอดขายย่อมลดลง สินค้าอุปโภคบริโภค ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะอาหาร ของใช้ในครัวเรือนเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ ส่วน ธุรกิจร้านอาหาร เมื่อนั่งทานในร้านไม่ได้ การรับออเดอร์ออนไลน์ พร้อมโปรโมชั่นเด็ด ตบด้วยบริการเดลิเวอรี่ส่งความอร่อยถึงบ้าน ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย สร้างยอดขายได้

ปิดท้ายหมวดธนาคารและสินค้าเทคโนโลยี การอยู่บ้าน ประกาศภาวะฉุกเฉินมีผลต่อการเดินทางของผู้บริโภค แต่เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตทำให้ยังใช้บริการทำธุรกรรมการเงินได้ รวมถึงการชอปปิงสินค้าเทคโนโลยีผ่านโลกออนไลน์

158671151367

สำหรับแนวทางการปรับตัว ทำตลาด และค้าขาย หลายกลุ่มสินค้าต้องนำออนไลน์มาใช้ เช่น ยานยนต์ อสังหาฯ นำเสนอการขายผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ วิดีโอสั้น ให้คำแนะนำ พาชมรถยนต์จริง บ้าน คอนโดมิเนียม ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง(Virtual Reality : VR) สินค้าแฟชั่นและความงาม สร้างแบรนด์สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านออฟไลน์ออนไลน์ โดยเฉพาะทีวีต้องนำเสนอสินค้า สื่อสารผ่านรายการข่าวและบันเทิง เป็นต้น