เช็คที่นี่! รวมมาตรการ 'www.เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน.com' ครบทุกธนาคาร ‘พัก ลด ขยาย เติม’
ครบจบที่นี่ www.เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน.com รวบรวมมาตรการการเงิน "พัก ลด ขยาย เติม" ของทุกธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ มาไว้ที่เดียว ระบุชัดวงเงินโครงการเต็มหรือยัง
หลังจากที่รัฐบาลเปิดมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเป็น “เราไม่ทิ้งกัน” หรือ “มาตรการเยียวยาเกษตรกร” เพื่อหวังให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนทำให้รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศเคอร์ฟิว รวมถึงการปิดสถานที่เสี่ยงต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจ
ในทางหนึ่งรัฐบาลจึงออกมาตรการทางการเงินเพื่อมาช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเล็ก กลาง ใหญ่ และได้รวบรวมมาตรการการเงินของสถาบันการเงินต่างๆ มาไว้ที่เดียว ในเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน.com หรือ www.gfa.or.th/sfi ที่เปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้
โดยภายในเว็บไซต์นั้นได้มีการอธิบ่ยความหมายเบื้องต้นของ 4 คำ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านการเงินไว้ ดังนี้
- พัก หมายถึง พักชำระเงินต้น ดอกเบี้ย หรือเงินงวดผ่อนชำระ
- ลด หมายถึง ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรือลดเงินงวดผ่อนชำระ
- ขยาย หมายถึง ขยายระยะเวลากู้
- เติม หมายถึง ให้สินเชื่อเพิ่มเติม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'เราไม่ทิ้งกัน' กลุ่มยื่นทบทวนสิทธิ รีบตรวจสอบสถานะใน 29 พ.ค.นี้ ก่อนอด 'เงินเยียวยา' หมื่นห้า
- สรุปครบ! 'เราไม่ทิ้งกัน' ตรวจสอบสถานะ 'เงินเยียวยา' ล่าสุด ใครอยู่ขั้นไหน ได้เงินเมื่อไหร่
รวมถึงได้รวบรวมมาตรการจากสถาบันการเงินของรัฐต่างๆ มาไว้ที่นี่ที่เดียว ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK), ธนาคารออมสิน, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (SMC) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย)
ทั้งนี้สามารถเข้าไปดูมาตรการในแต่ละธนาคารได้ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เป็นมาตรการเพื่อประชาชนกลุ่มใด ตรงกับตัวเราหรือไม่ มีระยะเวลาโครงการถึงเมื่อไร และคลิกเข้าไปก็จะลิงก์ไปที่เว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ ด้วย
โดยแต่ละมาตรการจะแยกเป็นหมวดหมู่ คือ พัก ลด ขยาย และเติม นอกจากนี้ในแต่ละมาตรการ หากมาตรการนั้นวงเงินให้เต็มจำนวนที่สถาบันการเงินนั้นดำเนินการ ก็จะมีการระบุอย่างชักเจนว่าวงเงินเต็มแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการสนับสนุน และสามารถมองหามาตรการอื่นๆ ต่อไปได้
อีกหนึ่งวิธีสำหรับการค้นหามาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน คือ การค้นหาจากตัวเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรและ SMEs เกษตกร, กลุ่มประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป, กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs, กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก และกลุ่ม Non-Bank
ซึ่งเมื่อเลือกกลุ่มที่ต้องการหรือตรงกับความสนใจของตัวเองแล้ว ก็จะขึ้นสถาบันการเงินที่เกี่ยวกับกับมาตรการนั้นๆ ก็จะระบุว่ามีมาตรการอะไรบ้างและมีรายละเอียดอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่มของประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป จะแยกย่อยเป็นสินเชื่อประเภทต่างๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิตหรือสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน สินเชื่อเช่าซื้อ/ลิสซิ่ง และสินค้าเพิ่มเติม หรือในกลุ่มของผู้ประกอบการ SMEs ก็จะแยกย่อยเป็น ท่องเที่ยว ค้าปลีก/ค้าส่ง และอุตหสากรรมการผลิตและอื่นๆ