เปิดเคล็ดลับการบริหารภายใน เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน
KPMG เปิดเคล็ดลับการบริหารจัดการระบบการควบคุมภายใน เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เปิดเผยเคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 และการเติบโตธุรกิจให้กับธุรกิจครอบครัวและธุรกิจขนาดกลางในประเทศไทย
โดยครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญมาร่ามเปิดเผยเคล็ดลับคือ “ศศิธร พงศ์อดิศักดิ์” กรรมการบริหารฝ่ายสอบบัญชี และหัวหน้าฝ่ายธุรกิจครอบครัวและธุรกิจขนาดกลาง เคพีเอ็มจี ประเทศไทย และ “ศุภเชษฐ คุณาลักษณ์กุล” กรรมการบริหารฝ่ายที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ได้แนะนำแนวทางการบริหารจัดการระบบการควบคุมภายในสำหรับธุรกิจในประเทศไทย
เขาทั้งสองมองว่า นอกจากการกระตุ้นการขาย และการเพิ่มยอดขายโดยวิธีต่างๆ ซึ่งเป็นงาน ‘หน้าบ้าน’ เช่น การเพิ่มการเติบโตของรายได้ การบริหารงาน ‘หลังบ้าน’ หรือระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน
- ระบบการควบคุมภายในปัจจัยสำคัญ
ระบบการควบคุมภายในประกอบด้วยการบริหารจัดการ 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่
ด้านแรก ‘บุคลากร’ ซึ่งจะต้องมีความเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ โดยต้องมีการวิเคราะห์และเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความสามารถและประสบการณ์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ
ด้านที่สอง คือ ‘กระบวนการทำงาน’ ผู้ประกอบการจะต้องคิดวิเคราะห์และมีแนวทางชัดเจนในการขยายธุรกิจ และพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ด้านสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่แพ้ด้านอื่น คือ ‘ระบบ’ หรือ ‘ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ’ ซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญมากในการบริหารกิจการในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ข้อมูลภายในองค์กร การใช้ข้อมูลจากภายนอกองค์กร หรือการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภายนอกและภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีกฎระเบียบใหม่ๆ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการคุ้มครองการเก็บและโอนถ่ายข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกิจการได้ หากไม่มีมาตรการรองรับที่เหมาะสม
ซึ่งองค์ประกอบทั้งสามด้านนี้ ซึ่งได้แก่ บุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระบวนการทำงาน จะต้องได้รับการบริหารจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะกำหนดแนวทางของระบบการควบคุมภายในและความต้องการทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการจัดการภายในที่ดีได้ที่ การบริหารการควบคุมภายใน เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น