เปลี่ยนแปลง 1%
ทำความรู้จักหลักคิดหรือทฤษฎี marginal gain of 1% ซึ่งการเป็นการบริหารทีมด้วยวิธีคิดของ Dave Brailsford ที่เข้ามารับตำแหน่ง Performance Director ของทีมจักรยานจากประเทศอังกฤษ และพาทีมคว้าแชมป์ Tour de France เป็นครั้งแรกในปี 2012 และต่อเนื่องอีก 4 ปี
ในปี 2003 Dave Brailsford รับตำแหน่ง Performance Director ของทีมจักรยานจากประเทศอังกฤษ เป้าหมายของเขาคือการนำทีมชนะ Tour de France ซึ่งอังกฤษไม่เคยได้รับโอกาสนี้เลยถึง 110 ปี
Brailsford มี strategy ในการบริหารทีมด้วยวิธีคิดที่ผิดปกติ เขาสร้างความเป็นเลิศผ่านหลักคิดที่เรียกว่า marginal gain of 1% เป็นการสร้างสิ่งละอันพันละน้อย ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงให้ดีเยี่ยมกว่าเดิม 1% แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเปลี่ยนฟ้าพลิกแผ่นดิน โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้นักจักรยานสามารถลดเวลาในการแข่งขัน ซึ่ง Brailsford กับทีมงานลงในทุกรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กขนาดไหน แล้วเขาก็นำทีมด้วยการบริหารจัดการวิธีใหม่นี้
นักจักรยานต้องมีความมุ่งมั่นเกินร้อย นี่คือแรงผลักดันภายในที่แต่ละคนขับเคลื่อนตัวเองสู่ความเป็นเลิศ ถ้าให้ Brailsford เลือกระหว่างคนเก่งแต่ความมุ่งมั่นอยู่ใต้น้ำกับคนที่มุ่งมั่นเกินร้อยแต่ทักษะยังไม่พร้อม เขาเลือกนักปั่นแบบหลังมาร่วมทีม และทำให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมในการสร้างทีม มีหน่วยงานสนับสนุนมีความรับผิดชอบแบบเอาเป็นเอาตาย ความหมายคือบุคลากรทุกคนในทีมต้องอ่านหนังสือหน้าเดียวกัน ทั้งตัวนักปั่นและหน่วยงานสนับสนุน
ด้วยการบริหารทีมผ่านหลักคิดที่เรียกว่า marginal gain of 1% โดยซอยย่อยพัฒนาสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ให้ครบวงจรเป็นร้อยเป็นพันอย่าง และทำให้ทีมจักรยานอังกฤษก้าวเป็นแชมป์ Tour de France ประเด็นสำคัญ นี่คือยุทธศาสตร์ที่ต้องใช้เวลารอความสำเร็จ นี่คือตัวอย่างของการนำหลักคิดนี้มาใช้งาน
- เรื่องอุปกรณ์ ทีมเทคนิคคัดเลือกจักรยานที่มี ergonomic design ทำให้นักปั่นเมื่อยน้อยกว่าเดิม ยางที่ใช้มีคุณภาพสุดยอด สั่งซื้อไว้ล่วงหน้า 1 ปี ไม่เสี่ยงให้เกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนอุปกรณ์ นอกจากนั้นทีมเทคนิคเอาจักรยานไปทดสอบในอุโมงค์ลม ลงรายละเอียดแม้กระทั่งเอา alcohol เช็ดยางทำความสะอาดยางทุกเส้น เพื่อให้ยางเกาะถนนได้ดีกว่าเดิม แม้แต่เสื้อที่สวมใส่เป็นชุด indoor เพราะจากการทดสอบเนื้อผ้าของชุด indoor บางเบาและต้านลมน้อยกว่าชุด outdoor
- นักจักรยานที่ไปแข่ง Tour de France ใช้เวลา 21 วัน ทุกวันนักปั่นลงแข่ง 6 ชั่วโมง เปลี่ยนที่นอนทุกคืน ทางทีมเทคนิคจึงออกแบบเตียงนอนให้เข้ากับสรีระเฉพาะตัว ทุกคนมีหมอนประจำตัว เพื่อให้นักจักรยานนอนหลับลึก ในแต่ละวันจะมีหน่วยม้าเร็วไปเปลี่ยนเตียงในแต่ละโรงแรม ทำความสะอาดให้หมดจดเพื่อให้นักจักรยานอังกฤษหลับสนิท ตื่นนอนอย่างสดชื่นมีความพร้อมมากกว่าคู่แข่ง
- รถโดยสารที่พาทีมไปแข่ง ออกแบบใหม่หมด มีห้องอาบน้ำ ห้องประชุม ที่นั่งออกแบบเฉพาะตัวทำให้นักจักรยานพักผ่อนเต็มที่ ร่างกายฟื้นตัวเร็ว แม้กระทั่งคนขับ Brailsford ก็สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง เป็นคนขับที่เคยทำงานในทีม formula one เรื่องความสะอาดและความเป๊ะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้สุขภาพของนักปั่นมีความพร้อม 100% แม้กระทั่งรถที่บรรทุกจักรยานจะทาสีขาวภายในรถ เพื่อทำให้ทีมเทคนิคเห็นฝุ่นเกาะ จะได้ทำความสะอาดส่งผลต่อประสิทธิภาพของจักรยาน
- ให้หมอผ่าตัดมาสอนวิธีล้างมือให้นักจักรยาน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่นำไปสู่การเจ็บป่วย เลือกสรรเจลล้างมือที่กำจัดเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อห้ามไม่ให้นักจักรยานจับมือกับคู่แข่งในระหว่างแข่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากคู่แข่ง คัดเลือกเจลนวดเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วที่สุด พร้อมดูแลอาหารการกินโดยนักโภชนาการที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์
- นำผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์มาทำงานร่วมกันว่าทำอย่างไรนักปั่นอังกฤษฟื้นตัวเร็วหลังจากแข่งขันอย่างหนักในแต่ละวัน ข้อเรียนรู้จากกีฬาว่ายน้ำเมื่อแข่งขันเสร็จ นักว่ายน้ำต้องทำการ cool down ด้วยการว่ายน้ำช้าๆ เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกติอย่างเร็ว ทีมอังกฤษเป็นทีมแรกในโลกที่ยืมวิธีคิดนี้นำมาใช้
ทฤษฎี marginal gain of 1% มีพลังอย่างเหลือเชื่อ ในปี 2012 ทีมอังกฤษได้แชมป์ Tour de France เป็นครั้งแรกและอีก 4 ปี ในปี 2013, 2015-2017 ที่เหลือเชื่อกว่านั้น “ม้านอกสายตา” อย่างทีมอังกฤษที่ตอนทีมตกต่ำ ขอซื้อจักรยานยี่ห้อที่มีชื่อเสียง แต่ถูกปฏิเสธจากผู้ขายเพราะผู้ขายกลัวว่าจะสร้างผลกระทบในทางลบกับแบรนด์ของผู้ขาย ในช่วงปี 2007-2017 ได้รับรางวัล World Championship ถึง 178 รางวัล ได้เหรียญทอง Olympic และ Paralympic ถึง 66 เหรียญ
เราเรียนรู้อะไรจากปรัชญา marginal gain of 1% ที่มาประยุกต์ใช้กับชีวิตไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว หรือการทำงานให้สู่ความเป็นเลิศ มันเกิดจากการมีวินัยสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ให้ดีที่สุดในทุกด้านและทำทุกๆ วัน แต่ผลสะสมในระยะยาวของสิ่งเล็กๆ เหล่านี้จะทำให้เรากลายเป็น “คนใหม่” ที่เป็น the best version of yourself
แต่หัวใจคือเราต้องอดทนพัฒนาต่อเนื่องไม่มีวันหยุด ผมมีตัวเลขที่จะพิสูจน์ทฤษฎีนี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงพลังของหลักคิดนี้ ถ้าผู้อ่านพัฒนาตัวเอง 1% ทุกวันเป็นเวลา 365 วัน ภายใน 1 ปีคุณจะมีพัฒนาการดีขึ้นกว่าเดิม 37.78% ลองคิดดูสิครับว่าถ้าคุณทำติดต่อกัน 5 ปี คุณจะเป็น champion ของชีวิตคุณจริงหรือไม่
นี่คือมหัศจรรย์ของหลักคิด small win leads to big change ครับ [credit : James Clear, Mat Bret]