กรมการค้าต่างประเทศยกเครื่องงานบริการทางการค้า

กรมการค้าต่างประเทศยกเครื่องงานบริการทางการค้า

กรมการค้าต่างประทศ  ยกเครื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดภาระผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมดิจิทัลตอบโจทย์ผู้ประกอบการในยุคNew Normal   เผยปี 62 ให้บริการหนังสือนำเข้าส่งออก 1.24 ล้านฉบับ มูลค่า 88,565 ล้านดอลลาร์

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่ ากรมฯ ได้พัฒนางานบริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้า ได้แก่ ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าหนังสือรับรองการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) โดยเริ่มจากการยกเครื่องงานบริการแบบManual มาสู่การให้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์และพัฒนาต่อยอดจนปัจจุบันสามารถให้บริการแบบดิจิทัลควบคู่กับแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกกรมฯเช่น กรมศุลกากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ลดขั้นตอน ลดการเรียกเอกสารประกอบการพิจารณาลดระยะเวลา ลดการเดินทางของผู้ประกอบการ และลดต้นทุนการดำเนินงาน

ในปี 2562 กรมได้ให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้าจำนวน 1.24 ล้านฉบับ มูลค่า 88,565 ล้านดอลลาร์ แยกเป็นหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้า 0.10ล้านฉบับ มูลค่า 9,802 ล้านดอลลาร์ ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 1.14 ล้านฉบับ มูลค่า 78,763 ล้านดอลลาร์”

160006411134

นายกีรติ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมฯ สามารถให้บริการแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบสำหรับการให้บริการออกใบอนุญาตฯและหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้า แบบ Paperless ซึ่งขณะนี้มีสินค้าที่ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) กับกรมศุลกากรแล้วจำนวน 53 รายการ โดยเป็นการเชื่อมโยงแบบ Paperless จำนวน 35รายการ จากรายการสินค้าทั้งหมด จำนวน 69 รายการ ที่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมการส่งออก-นำเข้า

นอกจากนี้ กรมฯยังได้ให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ารูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน (e-Form D) โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศุลกากรปลายทางผ่านระบบ ASEAN Single Window (ASW) อีกด้วย  ซึ่งการให้บริการแบบดิจิทัลนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอและเอกสารแนบประกอบการพิจารณาผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อคำขอฯ ได้รับการอนุมัติแล้ว กรมฯ จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือสำคัญฯไปที่ศุลกากรทันที (Real Time) และผู้ประกอบการสามารถไปดำเนินพิธีการทางศุลกากรได้เลยโดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อขอรับหนังสือสำคัญฯ อย่างไรก็ตามแม้จะเปิดให้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่ผู้ประกอบการบางส่วน ก็ยังมารับบริการที่กรมเนื่องจากยังต้องการหนังสือหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจ

160006413617

ทั้งนี้การยกเครื่องการให้บริการดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาให้เป็นหน่วยงานภาครัฐแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบอีกทั้งช่วยตอบโจทย์การให้บริการในยุค New Normal โดยการเว้นระยะห่างและลดการสัมผัสระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้น การอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย