เข็มทิศธุรกิจ รับมือผล 'เลือกตั้งสหรัฐ'

เข็มทิศธุรกิจ รับมือผล 'เลือกตั้งสหรัฐ'

การเลือกตั้งทั่วไปประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งนั้น จะมีผลต่อประเทศไทยในเชิงการค้า เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาดส่งออกสินค้าของไทยที่มีสัดส่วนสูงถึง 10% การเปลี่ยนตัวผู้นำหรือไม่ของสหรัฐครั้งนี้จึงมีผลต่อไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยบทความวิเคราะห์ผลกระทบการเลือกตั้งสหรัฐ กับการปรับตัวภาคการผลิตของไทย” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย (3พ.ย.2563) สาระสำคัญเผยถึง ผลกระทบต่อประเทศไทย: ทรัมป์ หรือ ไบเดน? ซึ่งสามารถแย่งเป็นผลกระทบด้านบวกหากเป็นทรัมป์ชนะการเลือกตั้งก็จะพบว่า ไม่ให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนและสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคการผลิตไทย ไม่ต้องติดฉลาก “Carbon Footprint” หรือ ตอบโต้จาก “Carbon Tariff” หรือไทยไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเทศภาวะโลกร้อนมากนัก

ขณะที่หากเป็นไบเดน ผลด้านบวกจะเป็นลักษณะการค้าแบบเจรจา (Multilateral) จะไม่รุนแรงเท่าทรัมป์ แต่จะไม่สำเร็จเพราะมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ข้อสรุปทางการค้าเกิดขึ้นยาก แต่ก็จะไม่มีกรณีพิพาททางการค้าเท่าทรัมป์ ไบเดนเน้น “3B (Build Back Better)” มีการลงทุนภายในประเทศ เป็นโอกาสของสินค้าไทย ใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อ

โควิด-19

ทั้งนี้ หากเป็นผลกระทบด้านลบจะพบว่า หากเป็นทรัมป์ จะยังคงใช้นโยบาย“America First”, “Go it Alone” และ Unilateral เป็นนโยบายที่กระทบการส่งออกของไทย เพราะจะมีการปกป้องสินค้าของสหรัฐ นอกจากนี้การทำสงครามการค้าและเทคโนโลยี่กับจีนจะเข้มข้นขึ้น การค้าโลกจะงัดมาตรการการกีดกันทางการค้าของแต่ละประเทศมาตอบโต้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การคว่ำเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสิทธิมนุษยชนจะมากขึ้น

ขณะที่หากเป็นไบเดน ผลด้านลบจะเป็นลักษณะการปกป้องและรักษาผลประโยชน์สหรัฐ ยังคงมีอยู่ การขาดดุลการค้าสหรัฐกับคู่ค้า ยังเป็นประเด็นที่ไบเดนให้ความสำคัญ ผลกระทบจากนโยบายการปกป้องทางการค้าจากสหรัฐฯ ยังคงมีอยู่แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่ากับทรัมป์ ประเด็นที่ไบเดนเน้น Climate Change และสิ่งแวล้อมของภาคการผลิต และมีโอกาสที่จะใช้เป็นการกีดกันทางการค้า

160438944697

อย่างไรก็ตาม สหรัฐยังเป็นตลาดที่น่าสนใจจึงมีการวิเคราะห์ถึงโอกาสของสินค้าไทยที่จะส่งออกไปตลาดสหรัฐว่าเป็นดาวรุ่ง หรือดาวร่วงนั้น ใช้ข้อมูลมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทต่างๆของไทยไปตลาดสหรัฐ ในช่วงปี 2560-2562 (สมัยของประธานาธิบดีทรัมป์) พบว่าสินค้าส่งออกที่จะเป็นดาวรุ่ง หรือดาวร่วงอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตขึ้นกับ นโยบายของประธานาธิปดีคนใหม่ สำหรับสินค้าดาวรุ่ง และดาวร่วงในช่วงปี 2560-2562 มีสินค้าต่างๆ ดังนี้

สินค้าดาวรุ่ง

-สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้สดและแช่เย็น พืชน้ำมัน

-เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

-ผลิตภัณฑ์พลาสติก

-ผลิตภัณฑ์ยาง

-เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

สินค้าดาวร่วง

-เครื่องดื่ม

-เกษตรแปรรูป เช่น อาหารทะเลแปรรูป (กุ้ง ปู ปลาทูน่าแปรรูป น้ำตาลทรายขาว ผลไม้กระป๋อง และน้ำผลไม้)

-รองเท้าและชิ้นส่วน

-ผลิตภัณฑ์เซรามิก

-เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม

-หมวกและส่วนประกอบ

-ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์

-เครื่องถ่ายเอกสาร ส่วนประกอบและอุปกรณ์

-เครื่องดนตรีและส่วนประกอบ

-ทองแดงและของทำด้วยทองแดง

-ยิบซัม

-ก๊าซธรรมชาติ

ทั้งนี้ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองสหรัฐจะเป็นอย่างไรการปรับตัวภาคการผลิตไทยก็ต้องเกิดขึ้นโดยประเมินว่าหากประธานาธิบดีคนใหม่เป็นทรัมป์การปรับตัวของภาคการผลิตไทยจะต้องพึ่งพาตลาดเอเซียและอาเซียน ,ฟื้นกรอบเจรจา TIFA เพื่อเข้าสู่ FTA,รับการย้ายฐานการผลิตจากจีน,GSP ถูกยกเลิกเพิ่ม,ผลผลิตสินค้าเกษตรโลกเพิ่มขึ้น

ขณะที่หากเป็นไบเดน การปรับตัวควรเป็นไปในทิศทางว่าด้วยการ ลดการปล่อย CO2 ของห่วงโซ่การผลิต,บรรจุภัณฑ์รักสิ่งแวดล้อม,ใช้แนวคิด BCG เพื่อส่งออกและการผลิต,ดึง FDI เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม4.0, สหรัฐ เน้นรถยนต์ไฟฟ้าและสหรัฐจะเตรียมตัวสำหรับ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี)