'เอเอ็มซี'เตรียมช้อปหนี้เสียโค้งท้าย
บริษัทรับซื้อหนี้เสียคึกคัก หลังแบงก์ -นอนแบงก์ เตรียมขายหนี้โค้งท้ายพุ่ง “แบม”คาด มีมูลค่า 2-3 หมื่นล้าน ดันยอดซื้อหนี้เกินเป้าแตะ1.3 หมื่นล้านบาท ด้าน “เจเอ็มที” ตุนเงินลงทุนปีหน้าโตเท่าตัวแตะ6พันล้าน ด้าน “ชโย กรุ๊ป”
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT กล่าวว่า ทิศทางการรับซื้อหนี้เสียในระบบปัจจุบัน ถือว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไฮซีซั่นของธุรกิจรับซื้อหนี้เสีย หลังจากสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ นำหนี้เสียออกมาขายค่อนข้างมากในช่วงนี้ของปี ทำให้คาดว่าไตรมาส 4 จะเห็นยอดการการซื้อหนี้เสียมาบริหารเพิ่มขึ้นกว่าทุกไตรมาสที่ผ่านมา
โดยปัจจุบัน เห็นสถาบันการเงิน นอนแบงก์ นำหนี้เสียมาขายทอดตลาดแล้ว และยื่นให้บริษัทเข้าประมูลหนี้ในช่วงไตรมาส 4ราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคละกันระหว่างหนี้ที่มีหลักประกันและหนี้ไม่มีหลักประกัน ส่วนหากดูแนวโน้มหนี้เสียทั้งปีนี้คาดว่า มีหนี้ที่นำออกมาขายทอดตลอด ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท
ซึ่งคาดการณ์ว่า ปีนี้ธนาคารจะใช้งบลงทุนในการซื้อหนี้รวมอยู่ที่ระดับกว่า 3 พันล้านบาท โดยมียอดหนี้ที่อยู่ในการบริหาร คงค้างปัจจุบันที่ 1.9แสนบ้านบาท โดยคิดเป็นหนี้เสียใหม่สะสม ที่เข้ามาในปีนี้ราว กว่า 2หมื่นล้านบาท
ขณะที่ปีหน้า ตั้งเป้าใช้งบลงทุนในการรับซื้อหนี้เสียมาบริหาร ก้าวกระโดดจากปีนี้เท่าตัว เป็น 6 พันล้านบาท ที่คาดว่าปริมาณหนี้เสียในระบบน่าจะออกมาขายปกติ หลังจากหมดมาตรการพักหนี้ในปีหน้า ดังนั้นน่าจะเห็นการนำหนี้เสียออกมาขายทอดตลาดในปีหน้าเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้หากหนี้เสียในตลาดมีสูงกว่าที่บริษัทตั้งงบไว้ บริษัทก็เชื่อว่า สามารถลงทุนได้เพิ่มเติมเป็นระดับ 1 หมื่นล้านบาท จากการ ออกหุ้นกู้ของบริษัท ที่มีความสามารถออกได้ในปีหน้า และการทยอยแปลงวอแรนต์ของผู้ถือหุ้นในปีหน้า ที่จะเริ่มมีสภาพคล่องเพิ่มเติม เพื่อให้บริหารนำมาใช้ลงทุนในปีหน้าได้เพิ่มขึ้น
นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) CHAYO เปิดเผยว่า หนี้เสียที่เข้ามาในช่วงปลายปี คาดว่าจะมากที่สุดของปีนี้ โดยมีสถาบันการเงินหันมาขายหนี้เสียมากขึ้นราว 4-5 แบงก์ ซึ่งมีทั้งหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน เพื่อบริหารพอร์ตหนี้เสียในช่วงปลายปี
ดังนั้นคาดว่าไตรมาสสุดท้าย บริษัทน่าจะสามารถซื้อหนี้เสียเข้ามาค่อนข้างมาก ทำให้สิ้นปี้ ยอดการซื้อหนี้เสียน่าจะเกินเป้าหมาย ที่คาดไว้ที่ระดับ 1 หมื่นล้านบาท จากไตรมาส 3 ที่ซื้อหนี้เสียมาบริหารแล้ว 7 พันล้านบาท
“หนี้เสียที่ออกมาในไตรมาส4 เยอะ หลากหลาย และราคาสมเหตุสมผลมาก จึงเหมาะในการเข้าไปซื้อ ดังนั้นเราคิดว่าเรามีโอกาสได้เกินเป้า ที่หมื่นล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับหนี้เสียที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า บริษัทอยู่ระหว่างขอธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในการเพิ่มภาระหนี้ต่อรายได้หรือ D/Eเพิ่มเป็น 2 เท่า จากปัจจุบันที่ D/Eอยู่ที่ 1.7% เท่า โดยมีแผนออกหุ้นกู้ ซึ่งจะทำให้ D/Eปีหน้าเพิ่มมาเป็น2 เท่า หรือคิดหนี้ที่สามารถเพิ่มได้ราว 2พันล้านบาท เพื่อใช้รองรับหนี้เสียในอนาคต
ทั้งนี้หากดูพอร์ตบริษัทปัจจุบัน มีหนี้เสียในพอร์ต 5.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน 3.6 หมื่นล้านบาท