ศุภชัยค้านร่วมCPTPP ห่วงปมบีบเปิดตลาด
ศุภชัย ชี้โควิดเปลี่ยนห่วงโซ่เศรษฐกิจโลกเชื่อมโยงสั้นลง แนะไทยคว้าโอกาสยกระดับเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าเกษตร อาหารปลอดภัย กู้เงินสร้างเทคโนโลยีทางให้การเกษตร ส่งเสริมระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง สร้างคุณภาพ ส่งขายตลาดบน หวั่นผลกระทบร่วมCPTPPจี้ตั้งกองทุนเยียวย
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก ( WTO ) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา( UNTAD )เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ก้าวทันเศรษฐกิจวิถีใหม่ สู่โอกาสภาคการเกษตรไทยที่ท้าทาย ว่า ในขณะนี้โลกเกิดภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง จากการระบาดของโรคโควิด 19 ที่คาดว่าจะยาวนานและยืดเยื้อยิ่งกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะมีการคิดค้นวัคซีนได้แล้วแต่ ต้องจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิ ที่ -70 องศาเซลเซียล จึงยากต่อการนำมาใช้ หากไทยมีความจำเป็นต้องใช้จริง ก็ต้องเป็นวัคซีนที่คุณภาพตำลงซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้ผลหรือไม่ อีกทั้งไวรัสโคโรนาเป็นสายพันธุ์ใหญ่ จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ การใช้วัคซีนป้องกันก็ต้องคิดค้นอยู่เรื่อยๆเช่นกัน
แต่ในวิกฤต นั้นเต็มไปด้วยโอกาส อันตราย และความเสี่ยง การระบาดในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้การเชื่อมโยงของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก แต่ปัจจุบันเมื่อบางประเทศเริ่มควบคุมการกระจายของโควิดได้ การเชื่อมโยงของเศรษฐกิจได้กลับมาอีกครั้ง แต่เป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในห่วงโซ่ที่สั้นลง เกิดการสะสม สต็อก และสร้างข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งเศรษฐกิจของเอเชียต้องปรับตัวเพื่อให้ถึงจุดนั้น โดยต้องหันมาพึ่งตนเอง ประเทศใกล้เคียงให้มากขึ้น โดยภายหลังโควิด นั้นสินค้าโภคภัณฑ์ อาหารจะเป็นกลุ่มที่ดีขึ้น รวมทั้งประเทศที่มีแสนยานุภาพด้านอาหารจะครองอำนาจการผลิตและเป็นประเทศมหาอำนาจที่แท้งจริง ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนี้ และมีโอกาสจะเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก
ยิ่งจำนวนประชากรในโลกในปี 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 9,000 ล้านคน แต่ การผลิตอาหารในโลกนี้จะเพียงพอสำหรับประชากรเพียง 8,000 ล้านคนเท่านั้น ทำให้ทุกประเทศเร่งหาแหล่งอาหาร ในส่วนของไทย จากประสบการณ์ 40 ปีที่ทำงานได้ศึกษาด้านการเกษตรร่วมกับเศรษฐศาสตร์หลายครั้งพบว่า เกษตรกรไทยมีความหนักแน่น ยืดหยุ่น ความทรหดต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อล้มแล้วลุกให้ และทำได้เร็ว จะเห็นได้จากการระบาดของโควิด ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไทยแข็งแกร่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อรับทุกสถานการณ์
เป็นจุดแข็งที่สำคัญและควรจะใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้เพื่อปรับให้ไปสู่การทำการเกษตรที่ปลอดภัยทั้งการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง หรือการทำเกษตรอินทรีย์ ที่โลกจะต้องการมากขึ้นหลังจากเกิดโควิดระบาด ทั้งหมดนี้รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาท แทนภาคเอกชน ที่แม้จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่า แต่ภาคเอกชนยังมีเรื่องผลตอบแทน ดังนั้นภาครัฐจะเป็นตัวกลางในการป้อนข้อมูลให้กับเกษตรอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งมีส่วนช่วยดึงรายได้จากห่วงโซ่การผลิตและจำหน่ายให้ตกสู่เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมีเพียง 5% เท่านั้น
“รัฐบาลสามารถใช้โอกาสที่โควิดระบาดเข้าไปส่งเสริมเทคโนโลยีในภาคการเกษตร ใช้ประโยชน์จากบาทแข็งซื้อเทคโนโลยีทางการเกษตร สร้างคุณภาพมาตรฐาน มุ่งขายสินค้าตลาดบนที่มีกำลังซื้อ ผ่านระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง หรือเกษตรพันธสัญญา แต่ต้องแก้ไขพรบ.ดังกล่าวให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกรก่อน โดยใช้เงินกู้ที่ศักยภาพของรัฐบาลยังกู้ได้อีกมาก เพราะปัจจุบันแม้หนี้สาธารณจะสูงขึ้น แต่ยังไม่ถึง 50 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีสภาพเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย ปัจจุบันหนี้สาธารณะพุงสูงเกิน 60 % ไปแล้ว “
อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นกระทรวงเกษตรฯต้องชี้แจงเรื่องอัตราความอดอยากและหิวโหย ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ รายงานว่าไทยยังมีอยู่ 9 % ของประชากร เพราะเรื่องนี้จะเป็นดัชนีชี้วัดศักยภาพของไทยตามเป้าหมายเป็นศูนย์กลางอาหารของโลก
รวมทั้งรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำ การรักษาคุณภาพดิน สร้างความยั่งยืนให้กับการนำไปใช้การผลิตสินค้าตัดต่อพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ ที่ไทยยังไม่ยอมรับจะเข้ามามีบทบาทต่อกับความผกผันของ ต้นทุนในอนาคต รวมทั้งการผลักดันให้เกิดเกษตรอัจฉริยะ ต้องเป็นระบบที่ลงไปใช้ให้ได้ในพื้นที่ โดยภาคการเกษตรจะมีส่วนช่วยลดความเลื่อมล้ำในสังคม และกระจายอำนาจด้านเศรษฐกิจไปสู่ชุมชนได้ดีที่สุด
แต่ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ภาคการเกษตรของไทยเสียผลประโยชน์ รัฐบาลควรพิจารณาการเข้าสู่ หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่ไทยต้องตัดสินใจในปี 2564 อย่างรอบคอบ เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรไทยอย่างมาก เพราะ นั้นเชื่อมกับ การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือยูพอฟ (UPOV) เกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อได้ ในกรณีที่อนุพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ใหม่ เข้าไปแพระกระจายกับพันธุ์พื้นเมืองของไทย
ดังนั้นผู้ที่เข้าไปเจรจาเรื่องนี้ต้องเห็นแก่ผลประโยชน์ของเกษตรกรไทยเป็นหลัก อะไรที่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยน ต้องเก็บเกี่ยวแต้มต่อให้มากที่สุด รวมทั้งตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยเยียวยากับอุตสาหกรรมและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
“ผมไม่เห็นด้วยกับการเข้าเป็นสมาชิก เพราะ การค้าเสรี ไทยจะได้ประโยชน์จากประเทศสมาชิกที่มีฐานเศรษฐกิจใกล้เคียงเท่านั้น แม้ไทยจะส่งออกได้มากขึ้นแต่จะถูกบีบบังคับให้เปิดตลาดหลายสินค้า ซึ่งไทยต้องปรับตัว และมีมาตรการรองรับที่ชัดเจน “