HARN - ซื้อ

HARN - ซื้อ

ลดคาดการณ์กำไรปี 63 แต่คงคาดกำไรปี 64 ตามเดิม

ประเด็นสำคัญในการลงทุน

  • งวด 3Q63 มีกำไรสุทธิ 18 ล้านบาท -51%YoY -34%QoQ : งวด 3Q63 บริษัทมีรายได้รวม 288 ล้านบาท -11%YoY -2%QoQ ยอดขายลดลงในผลิตภัณฑ์ระบบดับเพลิง (-20%YoY) ระบบสุขาภิบาล (-18%YoY) ระบบทำความเย็น (-14%YoY) เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือ เลื่อนการรับมอบสินค้า   มีเพียงรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบพิมพ์ดิจิตอลที่เติบโตเล็กน้อย 4% และเริ่มมีรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบไอโอทีโซลูชั่นส์สำหรับงานอาคารเล็กน้อย 67 ล้านบาทเป็นไตรมาสแรก อัตรากำไรขั้นต้นรวมลดเหลือ 28.3% จากระดับ 31.4% ในช่วง 3Q62 เนื่องจากสัดส่วนของ Product Mix ที่ต่างกันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบพิมพ์ดิจิตอลที่มีสัดส่วนการจำหน่ายเครื่องพิมพ์ร้อยละ 34.7 ของรายได้รวมเทียบกับ 19.3% ใน 3Q62 ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มเครื่องพิมพ์ต่ำกว่ากลุ่มสินค้าที่เป็นหมึกพิมพ์และวัสดุสิ้นเปลือง อัตรากำไรสุทธิลดเหลือ 6% จาก 11% ใน 3Q62 งวด 9M63 กำไรสุทธิเท่ากับ 80 ล้านบาท ลดลง 24%YoY โดยคิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 63 ที่ 159 ล้านบาท
  • ปรับประมาณการกำไรปี 63 ลดลง 14% : ผลการดำเนินงานปี 63 ได้รับผลกระทบจากธุรกิจอสังหาฯ และการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวรวมทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีช่วงเวลาของมาตรการ lockdown ในช่วง 2Q63  ผลการดำเนินงานครึ่งปีจะเริ่มรับรู้รายได้ของบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท ไอยราหาญ จำกัด (สัดส่วนถือหุ้น 65%) ตั้งแต่ช่วง 3Q63 ที่มุ่งเน้นให้บริการโซลูชั่นด้านอาคารอัจฉริยะ  (Smart Building) ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าและติดตั้งระบบไอทีให้กับลูกค้า   ทั้งนี้ ปลายก.ย. 63 backlog เท่ากับ 396.34 ล้านบาท เพื่อสะท้อนถึงยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกที่ทำได้ต่ำกว่าคาดฝ่ายวิจัยได้ปรับประมาณรายได้รวมปี 2563 ลดลง 14% จากเดิม 1,477 ล้านบาทเหลือ 1,344 ล้านบาท หดตัว 16%YoY โดยยังคงสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นตามเดิมที่ 30.7%  ส่งผลให้ประมาณการกำไรปี 2563 ใหม่ลดลง 14% เหลือ 115 ล้านบาท หดตัว 23%YoY  
  • คงประมาณการกำไรปี 64 เท่าเดิม : เราคาดรายได้รวมในปี 64 จะกลับมาเติบโตจากฐานรายได้ที่ต่ำในปี 63 ประกอบกับการรับรู้รายได้เต็มปีสำหรับกิจการร่วมทุน “ไอยราหาญ” ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2563 โดยคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง  ทำให้ลูกค้าหันมาเดินหน้าต่อโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่หยุดพักไว้ โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ดับเพลิงที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงานใหม่ และงานจากภาครัฐ 

        เราคงคาดรายได้และกำไรปี 2564 ตามเดิมที่ 1,367 ล้านบาท และ 150 ล้านบาท เติบโต 10%YoY และ 9% ตามลำดับ  บนสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นทรงตัวที่ 30.6% และสัดส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อยอดขายเท่ากับ 19%  

  • รายได้ในอนาคตมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง : ยอดขายในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์มีโอกาสเติบโต อาทิ ผลิตภัณฑ์ระบบทำความเย็น (สัดส่วน 18% ของยอดขาย)มีโอกาสเติบโต ข้อมูลจากเว๊บไซต์ com เผยแพร่สถิติโดยคาดว่าปี 2020 มูลค่าตลาดรวมของ Vending Machine ในไทยจะขยายตัวมากกว่า 25,000 ตู้จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 21,100 ตู้ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 25% ต่อปีระหว่างปี 2557-2561 (ที่มา presentation O3/2020) เครื่องทำความเย็นสามารถบรรจุในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติประเภทเครื่องดื่มที่ต้องจัดเก็บในตู้รักษาอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้สดใหม่อยู่เสมอ ผลิตภัณฑ์ระบบดับเพลิง (สัดส่วน 43% ของยอดขาย) มีโอกาสเติบโตจากการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน ผลิตภัณฑ์ระบบพิมพ์ดิจิตอลด้านการพิมพ์สามมิติ (สัดส่วน 30% ของยอดขาย) เป็นกลุ่มสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงได้รับการตอบรับดีในวงการแพทย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ระบบไอโอที (Internet of Thing) สำหรับอาคารอัจฉริยะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในยุค new normal ที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 60 บาท : ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐานฐานะการเงินที่แข็งแกร่งโดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) ต่ำเพียง 0.2 เท่า และมีสภาพคล่องรองรับโอกาสในการลงทุนเพิ่ม เราประเมินราคาเหมาะสมด้วยวิธี Prospective PER ที่ระดับ 10 เท่าซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี  ประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2564 ราว 0.26 บาท และคำนวณราคาเหมาะสมปี 2564 เท่ากับ 2.60 บาท ซึ่งยังมีอัพไซต์จากราคาปัจจุบัน พร้อมคาดหวังอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) ราว 3.7% เราจึงคงคำแนะนำ ซื้อ

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจมีผลให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น และบริษัทไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ทันเนื่องจากต้องแจ้งลูกค้าล่วงหน้า
  2. การด้อยค่าของค่าความนิยมจากการซื้อและรับโอนธุรกิจถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตัน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องมีการทดสอบการด้อยค่าเป็นรายปี ซึ่งหากไม่สามารถสร้างการเติบโตของธุรกิจและมีกระแสเงินสดอิสระเพียงพอ อาจเกิดการด้อยค่าได้