'เราชนะ' เปิดเงื่อนไข ใช้เงินผ่าน 'เป๋าตัง' ได้วันละเท่าไร ซื้ออะไรได้บ้าง?
เปิดเงื่อนไขสำคัญ "เราชนะ" กับวงเงินการใช้งานผ่านแอพฯ "เป๋าตัง" ต่อวัน และการใช้จ่ายภายใต้ข้อกำหนดของโครงการ
"เราชนะ" เริ่มเปิดให้ประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ "กลุ่มที่ 3" ซึ่งเป็นบุคคลที่ยังไม่มีเคยใช้สิทธิ "คนละครึ่ง" และ "เราเที่ยวด้วยกัน" มาก่อน เริ่ม ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.-12 ก.พ. 64 เวลา 06.00-23.00 น. จนกว่าจะครบกำหนด
ส่วนผู้อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มที่ 1 (ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) จะได้เงินเข้าอัตโนมัติ และกลุ่มที่ 2 (ผู้ที่เคยได้สิทธิคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกันมาก่อน) จะมีปุ่มให้กด "รับสิทธิ" ปรากฏขึ้นในแอพฯ "เป๋าตัง" เมื่อถูกตรวจสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ โดยทั้ง 3 กลุ่มจะมีระยะเวลาในการรับเงิน ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- 'บัตรคนจน' เตรียมรับเงิน 'เราชนะ' ลืมรหัสรีบแก้ไขด่วน
- 'เราชนะ' ต้องมี 'เป๋าตัง' เช็ควิธีดาวน์โหลด และใช้เงิน 'G-wallet' ที่นี่
- 'เราชนะ' ลงทะเบียนไม่ได้ ระบบแจ้ง 'ข้อมูลไม่ถูกต้อง' ต้องทำอย่างไร?
- 'เราชนะ' เปิดเกณฑ์คัดกรองสิทธิ มี 'สลากออมทรัพย์' ไม่ถือเป็น 'เงินฝาก'
- 'ธ.ก.ส.' ชี้เป้า 'สินเชื่อฉุกเฉิน' สู้พิษโควิด-19 ระลอกใหม่
อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยและสับสนเกี่ยวกับการใช้เงินในโครงการเราชนะ คือสิทธิเราชนะ "ใช้ได้วันละกี่บาท" และ "ต้องใช้ให้หมดภายในสัปดาห์ที่ได้รับเงินมาหรือไม่"
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" สรุปคำตอบตามข้อมูลของโครงการ "เราชนะ" โดย www.เราชนะ.com เพื่อไขข้อข้องใจ ดังนี้
คำถามที่ 1: สิทธิเราชนะ รับเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท จะต้องใช้เงิน 1 พันบาทให้หมดในสัปดาห์นั้นๆ หรือไม่ ?
คำตอบ: ยอดเงินที่ได้รับจากทุกๆ สัปดาห์ จะสามารถสะสมไว้ใช้จ่ายได้จนถึง 31 พฤษภาคม 2564
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
คำถามที่ 2: ใช้สิทธิได้วันละเท่าไร มีการจำกัดยอดใช้สิทธิ "เราชนะ" ผ่านแอพฯ "เป๋าตัง" หรือไม่ ?
คำตอบ: สามารถใช้จ่ายได้ สูงสุดตามจำนวนสิทธิที่ได้รับ และสามารถเก็บสะสมไว้ใช้ได้ก่อนวันที่ 31 พ.ค. 64
- "สิทธิเราชนะ" ซื้ออะไรได้บ้าง?
ต้องเข้าใจก่อนว่า สิทธิ "เราชนะ" 7,000 บาท ที่ผู้มีสิทธิจะได้รับ "กดเป็นเงินสด" ไม่ได้ และไม่สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารใดๆ ได้
ดังนั้นการใช้จ่ายต่างๆ จะต้องซื้อหรือรับบริการจากร้านที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น
สิทธิ "เราชนะ" สามารถซื้อได้ทั้งสินค้า กับร้านค้าที่เข้าร่วม อย่าง "ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ" "ร้านค้ารายย่อย" ที่เข้าร่วมกับมาตรการ "คนละครึ่ง" นอกจากนี้ รัฐยังเพิ่มเติมให้สามารถใช้จ่ายกับ "ภาคบริการ" "การขนส่งสาธารณะ และขนส่งส่วนบุคคล" ประกอบด้วย
- ขสมก.
- รถร่วม
- รถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) หรือรถไฟใต้ดิน (MRT)
- รถไฟ
- แท็กซี่
- ตุ๊กตุ๊ก
- วินมอเตอร์ไซค์
- เรือ
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิ "เราชนะ" จะต้องใช้สิทธิภายในวันที่ 31 พ.ค. 64 หากครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่ใช้สิทธิไม่ครบ 7,000 บาท จะถูกตัดสิทธิในส่วนที่เหลือทันที