ช้อป " 4 กลุ่ม" มาแรง หลังไทยยืนหนึ่งโมบายแบงก์กิ้ง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยไปสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว ด้วยภาวะจำยอมจากการระบาดโควิด-19 ที่ทำให้ทุกบ้าน และทุกเจเนอเรชั่น องเร่งตัวเองพึ่งพิงเทคโนโลยีกันมากขึ้น
ทั้งการทำงาน การเรียน การบริหารการเงิน จนกระทั้งบริการที่สะดวกเวลาและไม่ต้องออกไปไหน ล้วนทำให้ไทยขึ้นครองตำแหน่งแชมป์ของโลกปี 2563 ไปด้วย
ข้อมูลดังกล่าวการันตรีจาก “We Are Social” และ “Hootsuite” ระบุว่า ในปี 2563 คนไทยได้ทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 68.1% ต่อเดือน มีการซื้อสินค้าอี-คอมเมิร์ซผ่านสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 2 ของโลก คิดเป็น 74% และมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก คิดเป็นเฉลี่ย 5 ชั่วโมง 7 นาทีต่อวัน
เฉพาะธุรกรรมชำเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง หรืออินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ของไทยที่เห็นเค้าลางมาตั้งแต่ปี 2560 ตามมาด้วยการแข่งขันมากขึ้นในการให้บริการธนาคารพาณิชย์ปี 2561 เริ่มจากการที่ธนาคารไทยพาณิย์ (SCB) ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านโมบาย แบงก์กิ้ง เป็นรายแรก
จนส่งแรงกระเพื่อมทั้งอุตสาหกรรมจนทำให้เกิดการเปิดสนามรบใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิตอลของกลุ่มธนาคารในวันนี้ เนื่องจากระยะเวลาเพียงไม่นานธุรกรรมบนออนไลน์ทวีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าจะยังเพิ่มขึ้นได้อีกในอนาคต สวนทางกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านสาขา หรือหน้าเคาเตอร์ที่ลดน้อยลง และมีการปิดสาขาให้บริการมากขึ้นทุกปี
ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระหว่าง ปี2561- 2562 จำนวนลูกค้ามีธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต แบงก์กิ้ง จาก 23.86 ล้านบัญชี มาอยู่ที่ 29.40 ล้านบัญชี ปริมาณรายการจาก 284 ล้านครั้ง เป็น 569 ล้านครั้ง
ส่วนธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จำนวนลูกค้าจาก 46 ล้านบัญชี มาอยู่ที่ 60 ล้านบัญชี ปริมาณรายการจาก 2,839 ล้านครั้ง เป็น 4,925 ล้านครั้ง ส่วนตัวเลขการเติบโตปี 2563 แม้จะยังไม่มีออกมาอย่างเป็นทางการแต่การขึ้นอันดับ 1 ตามข้อมูลข้างต้นทำให้ตลาดในไทยกลายเป็นขุมทรัพย์ทองคำของผู้ประกอบการในหลายธุรกิจต่อเนื่อง
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จากข้อมูลจาก We Are Social และ Hootsuite ที่ออกมาระบุว่าในปี 2563 คนไทยใช้โมบายแบงค์กิ้งอันดับ 1 ของโลก ทำให้มีธุรกิจและหุ้นได้ประโยชน์จากยอดใช้และชอปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟน ได้แก่
กลุ่มหุ้นที่ทำธุรกิจบริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต มี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟนเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท อินทัช จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE
กลุ่ม หุ้นที่มีธุรกิจขายเครื่องสมาร์ทโฟน มี บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ SYNEX, บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 เป็นต้น กลุ่มหุ้นที่ให้บริการด้านโมบายแบงค์กิ้ง มีกลยุทธ์เชิงรุก ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB
กลุ่มหุ้นที่เกี่ยวกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX, บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD, บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ WICE และ บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO
และหุ้นที่ทำธุรกิจบรรุภัณฑ์ บริษัท เอสซีจีพี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP, และ บริษัท ยูไนเต็ด เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UTP หุ้นแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานสำหรับ ประเด็นยอดใช้สมาร์ทโฟนของไทยติดอันดับต้นๆของโลก มา 3 บริษัท
หุ้น ADVANC ด้วย 5G หนุนการเติบโต 1-2 ปีข้างหน้า ด้านรายได้รวมปี 2564 คาดจะโต 3% ส่วนปี 2565 ธุรกิจ Prepaid ฟื้นตามภาคท่องเที่ยว จ่ายปันผลดี คาดจ่ายปันผล 4% ต่อปี ราคาพื้นฐาน 222 บาท
หุ้น LEO คาดกำไรไตรมาส 4 ปี 2563 โตแข็งแกร่งจากปริมาณขนส่งเพิ่ม หนุนโดยอี-คอมเมิร์ซ, อัตราค่าขนส่งตุ้สินค้าสูงขึ้น ทำให้ GPM เพิ่มเป็น 32% จาก9 เดือนปี 2563 ที่ 31% และยังดีต่อใน ไตรมาส 1ปี 2564 คาดกำไรปี 2564 ขยายตัวได้ 25-30% (ยังไม่รวมกำไรจากซื้อกิจการอย่างน้อย 1 ดีลในปี 64) ราคาเป้าหมาย 7.20 บาท
หุ้น SCGP คาดกำไรปี 2564-2565 จะเติบโต 16% และ 17% ตามลำดับ จากการขยายกำลังการผลิตและซื้อกิจการ รวมถึงอุปสงค์บรรจุภัณฑ์เติบโตดีตาม อี-คอมเมิร์ซ รวมถึงการขยายตัวของชนชั้นกลางในไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม ทำให้รายได้และกำไรบริษัทเติบโตตามไปด้วย ให้ราคาพื้นฐาน 52.50 บาท (มี Upside Risk)