ทิศทางธุรกิจก่อสร้างในEEC ยุคหลังโควิคก้าวย่างแห่งปี64
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีทิศทางฟื้นตัว โดยมูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวมมีแนวโน้มขยายตัว 4.5-5.0% ในปี 2564 และ 5.0-5.5% ในปี 2565-2566
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีทิศทางฟื้นตัว โดยมูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวมมีแนวโน้มขยายตัว 4.5-5.0% ในปี 2564 และ 5.0-5.5% ในปี 2565-2566 ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจะเหนี่ยวนำการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนให้ขยายตัวตาม อาทิ นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวจะหนุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ นอกจากนี้ โอกาสทางธุรกิจยังเพิ่มขึ้นจากโครงการก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของความเป็นเมือง
งานก่อสร้างภาครัฐ: ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นสัดส่วน 82% โดยกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ มักได้เปรียบในการรับงานภาครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประสบการณ์ มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีศักยภาพทางการเงิน และมีการพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีในงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้รับเหมา SMEs จะมีโอกาสรับงานภาครัฐ ในลักษณะของผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractors)
งานก่อสร้างภาคเอกชน: กระจุกตัวในงานก่อสร้างที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนคิดเป็น 54% ซึ่งทิศทางงานก่อสร้างภาคเอกชนขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นในการลงทุน เสถียรภาพการเมือง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐ
โดยทั่วไป การประเมินภาวะธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จะพิจารณา1) ด้านตลาด: หมายถึงโอกาสการรับรู้รายได้ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ การเมือง แผนและความก้าวหน้าของการลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงกฎระเบียบการลงทุนของแต่ละประเทศ ที่อาจเอื้อ หรือเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจ
2) ด้านต้นทุน: หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุก่อสร้าง และค่าจ้างแรงงาน (ปัจจุบันธุรกิจก่อสร้างไทยประสบปัญหาแรงงานทั้งด้านปริมาณ และทักษะ ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานมักต่ำกว่าค่าจ้าง) ซึ่งจะมีผลต่อกำไรของธุรกิจ (3) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 20%
โดยสรุป ในปี 2564-2566 หลังสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 คลี่คลาย การลงทุนในประเทศ รวมทั้งพื้นที่ EEC น่าจะเริ่มกลับมา ทำให้รายได้ของกลุ่มผู้รับเหมา ที่เน้นโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่รายได้ของกลุ่ม ที่เน้นโครงการภาคเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างช้า
ผู้รับเหมางานก่อสร้างโครงการวิศวกรรมโยธาขนาดใหญ่ คาดว่ารายได้จะฟื้นตัวตามการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยรายใหญ่ และรายกลาง คาดว่ารายได้จะขยายตัวดี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในการประมูลรับงานและมีศักยภาพในการบริหารงานก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งที่เป็นโครงการลงทุนของภาครัฐ อาทิ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ และโครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ EEC
สำหรับรายเล็ก คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น อานิสงส์จากการรับเหมาช่วง ในโครงการขนาดใหญ่จากผู้รับเหมารายใหญ่ และรายกลาง ผู้รับเหมางานก่อสร้างภาคเอกชนในกลุ่มที่อยู่อาศัยอาคารทั่วไป กลุ่มอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ รายได้มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า โดยรายได้อาจยังทรงตัวหรือชะลอตัว ในปี 2564 จากสถานการณ์ COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่จะเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นใน 2 ปีถัดไป จากความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นตามการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
โดยรายใหญ่และรายกลาง รายได้คาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นรับงานโครงการ Mixed use น่าจะมี Backlog เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผู้รับเหมารายใหญ่ มีโอกาสรับงานก่อสร้างภาคเอกชนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชยกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัว
สำหรับรายเล็ก รายได้รวม มีทิศทางชะลอตัว เนื่องจากงานก่อสร้างโครงการขนาดเล็ก มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ประกอบกับข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการต้นทุน อาจส่งผลให้ผู้รับเหมากลุ่มนี้มีความเสี่ยงด้านผลประกอบการและปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน