ชีวิตหลัง 'เกษียณ' คนไทย
ชีวิตหลัง 'เกษียณ' คนไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) สำรวจภาวะหลักประกันรายได้ของแรงงานไทยปี 2563 ที่มีทั้งหมด 37.9 ล้านคน พบว่าแรงงานไทยในระบบทั้งหมด 17.5 ล้านคน มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 รองรับ ส่วนแรงงานไทยนอกระบบทั้งหมด 20.4 ล้านคน มีการออมตามความสมัครใจที่รัฐจัดให้ คือ กองทุนประกันสังคมมาตรา 40 : 3.5 ล้านคน กองทุนการออมแห่งชาติ : 2.4 ล้านคน ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว : 14.5 ล้านคน
สถาบัน Mercer CFA นำเสนออันดับบำนาญโลกโดยใช้ตัวชี้วัด 3 ข้อ คือ ความเพียงพอ (Adequacy) ความยั่งยืน (Sustainability) การตรวจสอบได้ (Integrity) สรุปผลได้ว่าประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับสุดท้ายจาก 39 ประเทศทั่วโลก ได้รับคะแนนอยู่ที่ 40.8 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ผลสำรวจเรื่อง Allianz Global Pension Report 2020 จากบริษัท Allianze ก็จัดทำอันดับบำนาญโลกเช่นเดียวกัน โดยวัดผลจากทั้งหมด 70 ประเทศ และใช้ตัวชี้วัด 3 ด้านด้วยกัน คือ ประชากรศาสตร์, การคลังความยั่งยืนของระบบ, ความเพียงพอของเงินบำนาญ ผลสรุปคือประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 52 ของโลกจาก 70 ประเทศทั่วโลก และอันดับ 10 ของภูมิภาคเอเชีย