“สไปเบอร์” ปักธง “อีอีซี” ฐานผลิตเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง
นโยบาย Bio-Circular-Green Economy เป็นทิศทางการพัมนาประเทศที่สำคัญ ซึ่งจะยกระดับกระบวนการผลิตครั้งสำคัญ ซึ่งทำให้บริษัทต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในกลุ่มชีวภาพเพราะไทยมีวัตถุดิบเพียงพอและมีมาตรการสนับสนุนการลงทุน
เคอิสุเกะ ไมริตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสไปเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า สไปเบอร์เป็นธุรกิจที่เกิดจากสตาร์ทอัพเทคเมื่อปี 2550 ที่ได้คิดค้นการผลิตวัสดุใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาผลิตเป็นวัสดุที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม โดยการใช้วัตถุดิบจาก “อ้อย” และ “มันสำปะหลัง” ผ่านกระบวนการหมักด้วยเชื้อจุลลินทรีย์ชนิดพิเศษที่พัฒนา โดยเทคโนโลยีที่พัฒนาทำให้ได้ผง Brewed Protein ที่เป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก
โดยหลังจากที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่น ทางบริษัท Spiber Ink. ได้ลงทุนตั้งโรงงานผลิตผง Brewed Protein ในนิคมอุสาทกรรมอิสเที่นบอร์ด จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตในเชิงพาณิชย์แห่งแรกของบริษัท โดยผลิตผง Brewed Protein ที่ได้จากการหมักจุลินทรีย์ ที่ Spiber Inc. ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขึ้น และเป็นแหล่งผลิตด้วยกรรมวิธีการหมักไปรตีนโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
“เสื้อผ้าหรือวัสดุที่ผลิตจาก Brewed Protein มีคุณสมบัติพิเศษย่อยสลายได้ด้วยจุลลินทรีย์ทั้งหมดในธรรมชาติและในน้ำทะเล ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ เพราะผลิตจากวัตถุดิบโปรตีนจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ที่ทั่วโลกต้องการสินค้าที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และไม่ได้ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งแม้แพงกว่าโพลีเอสเตอร์และไนลอน แต่ในอนาคตเมื่อผลิตจำนวนมากราคาจะลดต่ำลง รวมทั้งบริษัทมีเทคโนโลยีผลิตวัสดุให้มีคุณสมบัติเหมาะสมในแต่ละอุตสาหกรรม”
หลังจากนี้ จะเร่งผลิตผง Brewed Protein เชิงพาณิชย์ในปีนี้ โดยได้พัฒนาและทดสอบเทคในโลยีการผลิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผง Brewed Protein ที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และหลังจากนี้วางแผนเพิ่มฐานการผลิตแต่ละพื้นที่ทั่วโลก
สำหรับผลผลิตผง Brewed Protein TM ที่ผลิตจากไทย สามารถนำไปเป็นวัสดุใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ผลตเส้นไยในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อใช้เป็นวัสดุผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่งแต่น้ำหนักเบา ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และสารประกอบในเครื่องสำอาง เวชกรรมต่าง ๆ
ทั้งนี้ ในช่วงแรกจะส่งออกผง Brewed Protein ไปญี่ปุ่น เพื่อผลิตเป็นเส้นไยนำไปผลิตสิ่งทอ ให้กับแบรนด์เสื้อผ้าชั่นนำ เช่น the north face ซึ่งตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ใหญ่มากในสินค้ากลุ่มนี้ มีมูลค่าตลาดสูงถึง 10 ล้านล้านเยน และจะส่งออกไปยังสหรัฐให้กับบริษัทพันธมิตร นำไปใช้พัฒนาสินค้าอื่น ๆ โดยในปี 2564 จะผลิตให้ไดเมากกว่า 100 ตัน
ส่วนระยะกลาง-ยาว จะใช้โรงงานที่ระยองเป็นดันแบบถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับฐานการผลิตอื่น ทั้งนี้ เรายังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคในโลยีที่มีอยู่ รวมถึงใช้ความพยายามในการสร้างรากฐานของธุรกิจ เพื่อให้สามารถส่งมอบวัตถุดิบ Brewed Protein หรือผลิตภัณฑ์เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าได้รวดเร็ว
“บริษัทพร้อมสนับสนุนนโยบาย Bio-Circular-Green Economy ของไทย ซึ่งบริษัทจะดำเนินการหลายด้าน เพื่อเข้าสู่การเตรียมความพร้อมในเชิงโครงสร้าง และเพื่อให้นำโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศบนโลกมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างองค์กรที่มีความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาระดับโลก”
สำหรับสาเหตุที่มาลงทุนเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูงในไทยเพราะเป็นฐานการผลิตอ้อยที่สำคัญของโลก มีราคาวัตถุดิบต่ำกว่าที่ญี่ปุ่น 2 เท่าตัว และรัฐบาลไทยสนับสนุนเต็มที่มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ดี และพัฒนาเทคโนโลยีในระดับสูง ทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้เข้ามาร่วมทำงาน และร่วมกันวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกันได้ ซึ่งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทำให้ดำเนินธุรกิจได้สะดวกและอยู่ไม่ไกลจากญี่ปุ่น
ทาเคทานิ อัทสึชิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ กรุงเทพ (เจโทร) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้มีโควิด-19 และเศรษฐกิจตกต่ำ แต่นักลงทุนญี่ปุ่นยังมั่นใจมาลงทุนในไทยต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นในไทยถึง 5,856 บริษัท เพิ่มขึ้น 400 บริษัทในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แสดงว่าญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับไทย และบริษัทที่มาลงทุนมีคุณภาพสูงและมีเทคโนโลยีชั้นนำ ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาลงทุนเพราะค่าแรง แต่เพราะไทยพร้อมทุกด้าน ทำให้ญี่ปุ่นเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก
ทั้งนี้ บริษัทญี่ปุ่นหวังให้ไทยเร่งผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูงเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับอุตสาหกรรมชั้นสูงที่จะมาลงทุนมากขึ้น ซึ่งญี่ปุ่นร่วมมือกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งผลิตบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรด้านดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมชั้นสูง ซึ่งการที่ไทยมีบุคลากรที่มีคุณภาพทำให้ญี่ปุ่นเลือกมาลงทุนในไทยเป็นประเทศแรกของอาเซียน
ภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีบริษัทสตาร์ทอัดด้านเทคโนโลยีอึกเป็นจำนวนมากจากยุโรป สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชีวภาพ เพราะไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดัง 1 ของอาเซียน และมีความพร้อมด้านวัตถุดิบการเกษตรสูง
โดยการลงทุนต่อจากนี้จะปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมปลายน้ำผลิตสินค้าสำเร็จรูป ไปเป็นการผลิตสินค้าต้นน้ำที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะวัสดุด้านชีวภาพ ซึ่งจะเกิดอุตสาหกรรมตามมาอีกมาก ทำให้ช่วยพัฒนาอีโคซิสเท็มให้ครบทุกด้าน เพื่อต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมชั้นสูงอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทยได้ทั้งระบบ