TMB คาด มาตรการป้องกัน ‘โควิด’ระลอกใหม่ กระทบเอสเอ็มอี 8.5 พันล้าน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ส่องมาตรการป้องโควิดระลอกใหม่ คุมเข้มพื้นที่สีแดง คาดกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีราว 8.5 พันล้านบาท ในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร นวด สปา สถานบันเทิง กีฬา หากผลกระทบลากยาว 1เดือน
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย หรือ TMB Analytics กล่าวว่า กรณีกรณีมีการประกาศมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ระลอก 3 ล่าสุด ภายใต้การไม่มีเคอร์ฟิว ล็อกดาวน์นั้น
โดยกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด และปรับระดับพื้นที่ควบคุมสีส้ม 59 จังหวัด โดยเบื้องต้น กำหนดให้ร้านอาหาร กาแฟต่างๆ เปิดร้านได้ไม่เกิน 21.00 o. ซื้อกลับได้ถึง 23.00 น.ห้ามขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในร้าน ห้างสรรพสินค้า เปิดถึง 21.00 น.จำกัดผู้ใช้บริการ รวมถึง สวนสนุกตู้เกมส์ งดให้บริการ ร้านค้า ถนนคนเดิน ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิด 0.4.00-23.00 น. สนามกีฬากลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.
. ซึ่งจากการประเมินผลกระทบจากมาตการเบื้องต้น คาดว่า หากมีผลกระทบยาว 1เดือนนับจากมาตรการดังกล่าวบังคับใช้ คาดว่า จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ ‘เอสเอ็มอี’ราว 8.5 พันล้านบาท ในกลุ่ม ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร นวด สปา สถานบันเทิง สนามกีฬาต่างๆ
โดยผลกระทบหลักๆ จะอยู่ที่ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ ประกอบธุรกิจโรงแรม ที่คาดว่า จะมีผลกระทบราว 3.7 พันล้านบาท ซึ่งหากดูธุรกิจโรงแรม พบว่ามีการจ้างงานสูงถึง 2.2 ล้านคน ถัดมาร้านอาหาร 2.7 พันล้านบาท จากการงดขายแอลกอฮอล์ ทำให้รายได้หายไป
นอกจากนี้ ประเมินจังหวัดที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ชลบุรี ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจากธุรกิจโรงแรมจำนวนมา ซึ่งในชลบุรี และมีการจ้างงานสูงถึง 2.46 แสนคน
รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร ที่คาด ได้รับผลกระทบราว 4.9 พันล้านบาท โดยเป็นพื้นที่ที่มีการจ้างงานสูงถึง 1.5 ล้านคน รองลงมาสมุทรปราการ ที่ราว 1.3 พันล้านบาท ประจวบฯ 1.1 พันล้านบาท และสุราษฏร์ 1 พันล้านบาท ภูเก็ต 844 ล้านบาท พังงา 728 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากดูธุรกิจที่มีการจ้างงานสูงพบว่าอยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว อยู่ในภาคโรงแรม ร้านอาหาร สูงถึงราว 2.2ล้านคน อยู่ในกลุ่มร้านอาหาร 9.8 แสนคน และโรงแรม 2 แสนคน
“อย่างไรก็ตาม มองว่าผลกระทบจากโควิดระลอกใหม่ครั้งนี้ ผลกระทบจะไม่รุนแรงเท่า โควิดรอบแรกที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อผลผลกระทบก็อาจรุนแรงมากขึ้น”