ธุรกิจร้านอาหารโคม่า!! 14 วัน? ดิ้นรน..ต้องรอด

ธุรกิจร้านอาหารโคม่า!!  14 วัน? ดิ้นรน..ต้องรอด

1 ปีของการยืนระยะให้อยู่รอด เป็นภาวะของธุรกิจ “ร้านอาหาร” รวมถึงอุตสาหกรรมหลากเซ็กเตอร์ การระบาดของโรคโควิด ไม่เพียงทำลายชีวิต-สุขภาพผู้คน แต่กำลังทำให้กิจการล้มหายตายจากไปทีละนิดๆ 

นับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ที่ถือเป็นรอบ 3 แล้ว จากคลัสเตอร์ทองหล่อ ขยายลามไปยังพื้นที่อื่นๆ ส่วนไวรัสที่ระบาดก็หนักข้อขึ้นเพราะติดง่าย ลามทำลายปอดรวดเร็ว ตามแบบฉบับสายพันธุ์อังกฤษ 

เมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสร้านทะยานสูงขึ้น แตะหลักพันคนต่อวัน จำนวนปรับลดลงบ้าง แต่ล่าสุด(8 ..64)ยังแตะเกินกว่า 2,400 คน มีผู้เสียชีวิต 19 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่ม มาตรการสกัดโรคไม่ให้ขยายตัวเป็นวงกว้างจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่สีแดง” 6 จังหวัด เมื่อ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือศบค. ออกมาตรการคุมไวรัส โดยขอความร่วมมืองดเดินทางข้ามจังหวัด รวมถึง ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านแต่ยังคงให้ซื้อกลับบ้านได้ถึง 21.00 . มีผลบังคับใช้ 1 ..ที่ผ่านมา

ตลอดเวลากว่า 1 สัปดาห์ที่ร้านอาหารต้องงดให้บริการนั่งทานที่ร้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาพนักงานยืนเก้อไร้เงาลูกค้าที่เคยคลาคล่ำไปด้วยผู้คนขวักไขว่ บางวันที่อาจเคยให้บริการช้า ไม่ทันใจ หน้านิ่วคิ้วขมวด เพราะเหน็ดเหนื่อย แต่วันนี้ทุกอย่างเป็นภาพที่เกิดขึ้นแบบตรงกันข้ามทุกประการ 

ผู้สื่อข่าวสำรวจบรรยากาศร้านอาหารตามศูนย์การค้า เช่น ศูนย์อาหารในศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ มีการจัดพื้นที่ใหม่ โต๊ะเก้าอี้ถูกนำไปรวมกัน และมีบางเก้าอี้เพียงบางส่วน เพื่อให้ไรเดอร์ที่มาสั่งอาหารได้รอนั่ง หรือร้านอาหารในศูนย์การค้าเซ็นทรัลบางนา หลายร้านต้องเก็บโต๊ะเก้าอี้ให้เรียบร้อย มีพนักงานไม่กี่คนรอรับออเดอร์และแนะนำอาหารบริเวณด้านหน้าร้าน ส่วนป้ายร้านค้าถูกตั้งบริเวณเดียวกัน 

บางร้านที่จำหน่ายเมนูเด็ด มีลูกค้าไปใช้บริการสั่งกลับบ้าน ซึ่งทางร้านจัดโปรโมชั่น จึงเกิดการชักชวนเพื่อนร่วมสั่งซื้อ แชร์เมนูและราคาอาหาร ทั้งที่ไม่รู้จักกัน เพราะเมื่อได้ราคาถูกลงจึงจูงใจ และตอบโจทย์การใช้จ่ายที่ประหยัด รัดกุม มองหาความคุ้มค่ากว่าทุกครั้ง เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตวันข้างหน้า วันพรุ่งจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นการตุนเงินสดจึงอุ่นใจกว่าไหนๆ 

ส่วนบรรยากาศร้านค้าริมทาง เงียบเหงาไม่แพ้กัน ร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่เป็นเสน่ห์ของเมืองไทย ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มาเยือน เลือนลางจางหายไปชั่วขณะ หลายร้านต้องปิดกิจการม้วนเสื่อชั่วคราวหรืออาจเป็นการถาวร บางร้านโทร.ไปสั่งอาหาร ต้องพบว่าแม่ค้าตัดสินใจกลับบ้านเกิด เลิกกิจการไปเสียแล้ว 

สายป่านหรือกระสุนทุนที่มีไม่เท่าเทียมกัน จึงทำให้กิจการร้านอาหารมีความสามารถต่อสู้! ยืนระยะฝ่าโควิด-19 แตกต่างกันไป เวลา 1 ปีที่การค้าขายอาหารอยุ่บนความหฤโหด ยอดขายลดลง ต้นทุนคงที่ พอเริ่มจะกลับมามีชีวิตชีวา ต้องเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะโรคที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนรัฐต้องใช้ไม้ตายห้ามทำกิจกรรมนั่งทานในร้านจะล็อกดาวน์ก็ไม่ใช่ แต่บริบทที่เกิดขึ้นกลับเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อไม่ใช่การล็อกดาวน์ จึงมีผลต่อมาตรการเยียวยาที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน 

14 วันของการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านว่ากระอักแล้ว แต่การต่อเวลาของมาตรการถึงวันที่ 17 ..นี้ กลับ ตัดโอกาสการทำมาหากินของร้านอาหารยิ่งขึ้น สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการเกาะติดกันทุกวัน เพื่อหาทางรับมือ พลิกกลยุทธ์ ตีลังกาล้านตลบเพื่อหาทางรอด คลับเฮ้าส์ FIN TALKS เปิดบทสนทนาธุรกิจอาหารแบบไหน ไปต่อให้รอดในยุคโควิดมีผู้ประกอบการร้านอาหารมาบอกเล่าวิกฤติที่กำลังเผชิญ และการรับมือแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดเพื่อไปต่อให้ไหว

162052892241

++ยอดเดลิเวอรี่ต่ำเป้า ขายได้ 20-30%

1 ปีที่โรคโควิด-19 ยังอยู่กับคนไทยและคนทั้งโลก เช่นเดียวกับผลกระทบที่ทยอยกัดกร่อนธุรกิจให้เลือดไหลไม่หยุด หากเป็นอย่างนี้ต่อไปผู้ประกอบการที่ร่อแร่อาจรอดยาก โควิดระบาดรอบแรก การเห็นธุรกิจฮึดสู้! เป็นภาพชินตา เพราะนาทีนั้นมีทั้ง เงินทุนการตัดสินใจที่เฉียบขาดในการปิดธุรกิจชั่วคราวเกิดขึ้น บางรายมีไอเดียเด็ดๆมากมาย สร้างปรากฏการณ์ให้ร้านอาหารคึกคัก ผู้บริโภคยินดีจับจ่ายใช้สอย เพราะการล็อกดาวน์หยุดเชื้อเพื่อชาติทำให้งดทำกิจกรรมคุ้นเคย โดยเฉพาะทานอาหารนอกบ้าน เมื่อมีเดลิเวอรี่ที่ตอบโจทย์ความสะดวก อร่อยดังเดิม จึงเห็นไรเดอร์ขวักไขว่บนท้องถนน 

ทว่า ครั้งนี้ไม่ใช่! บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหารฟู้ดแพชชั่น ฉายภาพสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของธุรกิจร้านอาหารในห้วงเวลาที่นั่งทานในร้านไม่ได้ ต้องสั่งกลับบ้าน คือยอดขายที่หดตัวและพลาดเป้าหมายอย่างมาก

การออกมาตรการห้ามทานในร้านอาหารไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย บุณย์ยานุช เกาะติดสถานการณ์ในต่างประเทศ และเทียบกับไทยที่ตัวเลขผู้ป่วยพุ่ง จึงวางแผน 2 แผน 3 ไว้รับมือ ประกอบกับบทเรียนในครั้งแรกที่ผุดโปรเจคมากมายทำให้ธุรกิจยังไปได้ คัดกรองพบโปรเจคไหนดี โมเดลธุรกิจไหนเด่น จึงนำมาใช้ในครั้งนี้ด้วย 

ขณะที่ยอดขายเดลิเวอรี่ ลดทอนความเซ็กซี่ลงเรื่อยๆ เพราะในมิติผู้บริโภคเอง เธอบอกว่า การสั่งเดลิเวอรี่ในครั้งแรก มีไรเดอร์มาเสิร์ฟความอร่อยถึงหน้าบ้านผู้รับจะตื่นเต้น ดีใจ เหมือนได้ เปิดของขวัญ ซึ่งโมเมนต์ตอนเปิดกล่องนั้นเต็มไปด้วยความสนุก ตื่นเต้น แต่ผ่านไป 1 ปี การสั่งซื้ออาหารเดลิเวอรี่ ไม่สนุกเหมือนเดิม ร้านอาหารสายป่านเริ่มไม่ไหว โดยเฉพาะ รายย่อย

บาบีคิวพลาซ่า แบรนด์เรือธงของฟู้ดแพชชั่น เคยทำโปรโมชั่นดึงดูดสาวก ผู้บริโภคได้มากมาย แต่นาทีนี้จะทำกิจกรรม แคมเปญการตลาดใด เลี่ยงกระทบชิ่งผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กไม่ได้ เป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่ธุรกิจต้องดิ้นรน และมีปัจจัยต้องรอด! แตกต่างกันไป

เราเป็นรายใหญ่ยังโชคดี แต่รายเล็กจะไหวไหม

วันนี้ยอดขายของฟู้ดแพชชั่นหลุดเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว เดลิเวอรี่ที่คาดว่าจะทำได้ 30% เอาเข้าจริง การสั่งซื้อไม่ถึงเสียแล้ว บางร้านอย่างแบรนด์โพชาสาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วานถึงขั้นขายได้เพียง 18 บาทเท่านั้น 

ความสงสัยจึงไปหาคำตอบว่า 18 บาทนั้นมาจากสินค้าอะไร จึงอาศัยมาร์เก็ตกลิ้ง สำรวจตลาดด้วยสองเท้า เดินเข้าศูนย์การค้าต้องพบบรรยากาศเงียบเหงาอย่างมาก ร้านรวงไร้ผู้คน พอเข้าร้านถามพนักงาน พบคำตอบว่าการซื้อสินค้าเกิดจากพนักงานจากโปรโมชั่นส่วนลด มีบัตรกำนัลนำมาใช้ร่วมนั่นเอง 

รอบแรกไม่เพียงอยู่รอด แต่ยังสร้างความฮือฮาให้วงการร้านอาหาร เพราะการปรับตัวที่โดดเด่น สั่งชาบูแถมหม้อ, ชาบูเจาะคนโสด, แม้กระทั่งมูเตรู แต่พอโควิดรอบ 3 ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้งร้านเพนกวิน อีท ชาบู บอกว่าผลกระทบเกิดขึ้นหนักกว่ารอบแรกเอาการ โดยยอดขายชาบูเดลิเวอรี่หลุดเป้าต่ำกว่า 20% แล้ว 

ชาบูเลิกคุยเลย หลุดเป้า 20% ไปไกลมาก ยอดขายเดลิเวอรี่ไม่ได้สถานการณ์ตอนนี้ต่างจากรอบแรกอย่างมาก ที่ ธนพงศ์ เปรียบเหมือนปลาช็อกน้ำ คนขายมีไฟ มีแรงฮึด ผุดสารพัดไอเดีย โปรโมชั่นสนุกสนานเอาตัวรอด คนซื้อยังมี เงินในกระเป๋าพร้อมจับจ่าย แต่ตอนนี้ร้านอาหารเหนื่อยเพราะกระแสเงินสด(Cash flow) ลดน้อยลง ลูกค้าเก็บเงินมากขึ้น  เรียกว่าอ่อนแรงทั้ง 2 ฝ่าย 

เหมือนรัฐยังไม่ล็อกดาวน์เต็มที่ ท่าทีไม่ชัดเจน ทำให้ร้านอาหารจะไปต่อยังไง ถ้า 14 วัน รัฐเลื่อนระยะเวลาเปิด แล้วหากเปิดผู้ติดเชื้อยังไม่ลดจะทำยังไง มึนงงจะไปยังไงต่อทั้งนี้ การที่รัฐไม่ประกาศล็อกดาวน์ ยังกระทบต่อมาตรการเยียวยา ทั้งการจ่ายประกันชดเชยให้พนักงาน การเจรจาต่อรองค่าเช่ากับห้าง”  

162052899452

ด้าน เชษฐา ส่งทวีผล ประธานที่ปรึกษา บริษัท ยู แอนด์ ไอ กรุ๊ป จำกัด เล่าสถานการณ์ร้านอาหารที่ต้องเปิดแค่เดลิเวอรี่ สั่งกลับบ้าน ยอดขายตกจนน่าใจหาย! ย้อนกลับไปวันที่ 1-2 ..ที่ผ่านมา ยอดขายสุกี้ยังพอไปได้ แต่พอวันที่ 3-4 โลกออนไลน์มีการส่งต่อข้อความไรเดอร์ติดโควิด กลายเป็นหายนะร้านอาหารทันที 

ยอดขายหายจริงจังเลยพอมีการส่งต่อไลน์ว่าไรเดอร์ติดโควิด

++กระอักต้นทุนค่าเช่าที่ GP เดลิเวอรี่

สิ่งหนึ่งที่เป็น ภาระของร้านอาหารเวลานี้ หนีไม่พ้นการแบกต้นทุน ซึ่งทุกธุรกิจเจออุปสรรคแตกต่างกันไป บ้างเป็นภาระทางการเงิน หนี้แบงก์ ดอกเบี้ยกู้อยู่ในระดับสูง รายรับถูกปิดตาย เป็นต้น แต่สำหรับร้านอาหารค่าเช่าที่และ ค่าคอมมิชชั่น ส่วนแบ่งยอดขายต่างๆ(Gross Profit : GP)ที่ร้านต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มส่งอาหารหรือฟู้ด เดลิเวอรี่ รวมถึงค่าพนักงานถือเป็นต้นทุนที่สูงไม่น้อย บางอย่างยังเป็นต้นทุนคงที่มีรายได้หรือไม่ก็ต้องจ่าย 

เชษฐา บอกว่า เมื่อโควิดระบาดรอบสาม ร้านอาหารโดนผลกระทบเต็มๆ จากรอบแรกมีแรงฮึกเหิม หาทางวิ่งสู้กับวิกฤติ เหมือนการขึ้นสังเวียนมวยครั้งแรกที่แลกหมัดไม่ยั้ง หวังมีชัย แต่สถานการณ์ตอนนี้ไม่เอื้อ เพราะเงินทุนน้อยลง สายป่านเริ่มส่อแววขาดวิ่น อานิสงส์ที่ได้จากเดลิเวอรี่รอบแรก ก็หายไป

นอกจากนี้ หากมาคำนวณภาระต้นทุนที่มีกับรายได้ ยิ่งสวนทางกัน โดยเฉพาะร้านอาหารที่ตั้งในศูนย์การค้า ซึ่งปัจจุบันลูกค้าเดินห้างน้อยลงจนไร้เงาผู้คน และนั่นทำให้รายได้ของร้านอาหารยิ่งลดลงหนัก เขาเทียบกับโควิดรอบแรก ห้างค้าปลีกลดค่าเช่าที่ให้ 30% ปัจจุบันกลับมาเก็บเท่าเดิม แต่เมื่อลูกค้าลดลง และกลับมาจำนวนไม่เท่าเดิม คิดเปอร์เซ็นต์แล้ว ต้นทุนหักลบกลบกำไร แล้วพบว่ากำไรหายไปเยอะมาก รอบนี้น่าาตกใจ ส่วนยอดขายาเดลิเวอรี่ก็ต่ำกว่า 30%” 

3 วันแรกที่ร้านอาหารเปิดให้บริการในห้างค้าปลีก ราวกับ 3 สัปดาห์ เพราะนับวันผู้คนยิ่งไม่กล้าออกมาใช้ชีวิต เดินห้างเหมือนเดิม ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องเกาะติดสถานการณ์กันแบบรายวันเพื่อตัดสินใจหาแนวทาง วางกลยุทธ์ให้อยู่รอดได้

ส่วนค่าคอมมิชชั่นหรือ GP ที่ยังเป็นประเด็นปัญหาต่อเนื่องสำหรับร้านอาหาร จน ธนพงศ์ ได้รวบรวมความเห็น ความเดือดร้อน และข้อเรียกร้องที่เสนอต่อรัฐ พรรคการเมือง ให้เจรจาต่อรองกับแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เพื่อลดค่าจีพีลง และรัฐอาจเป็นสะพานช่วยโปรโมทแอ๊พ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันแพลตฟอร์มเหล่านี้ต่างเผาเงินเพื่อดึงพ่อค้าแม่ขายมาอยู่บนแอ๊พพลิเคชั่น อัดโปรโมชั่นแรงๆ สปอยล์ผู้บริโภคเพียงเพื่อดึงทราฟฟิก ทำให้ต้องขาดทุนกันถ้วนหน้าเช่นกัน 

ทั้งนี้ การโขกค่า GP สูงทำให้ร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ที่บวกลบคูณหารรายรับกับรายจ่ายแล้วพบว่าร้านตัวเองขาดทุน..เจ๊ง!! จนสุดท้ายต้องถอนร้านออกจากแอ๊พ 

ล่าสุด บรรดาแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ มีการออกมาตรการช่วยเหลือร้านอาหาร ไรเดอร์ ในการปรับลดค่า GP แล้ว เช่น แกร๊บ จะลด GP ให้ร้านอาหารเหลือ 0% 

สำหรับการเก็บค่า GP ของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ มีอัตราแตกต่างกันไป เช่น 20-30% ส่วนแพลตฟอร์มที่ยืนยันหนักแน่นจะไม่เก็บค่า GP ยกให้ โรบินฮู้ดของธนาคารไทยพาณิชย์นั่นเอง 

++หลากหนทางรอดร้านอาหารระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม วิกฤติโควิด-19 ยังคงอยู่ และยากจะรู้วันคลี่คลาย ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติ ธุรกิจสามารถค้าขายได้ดังเดิม ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องดิ้นรนหาหนทางรอดให้ตัวเอง โดยกลยุทธ์ โมเดลธุรกิจที่เกิดขึ้นเวลานี้ล้วนเป็นเกมระยะสั้น” 

คราวก่อนโควิดทำให้ บุณย์ญานุช นำทัพลูกทีมแห่งฟู้ดแพชชั่น แบรนด์เรือธงบาบีคิวพลาซ่า ทำแคมเปญการตลาดมากมาย จนฝ่าวิกฤติยืนหยัดมาถึงวันนี้ สาพัดกิจกรรมที่ทำมีทั้งเวิร์คนำมาต่อยอดได้ และแป้กจนต้องละทิ้ง แต่การทำแบบเดิมไม่พอ เพราะผู้บริโภคเริ่มไม่ตื่นเต้น กำลังซื้อก็ถดถอย จึงต้องปล่อยขีปนาวุธ ที่ล่าสุดจับมือกับเบทาโกรปล่อยแคมเปญ #BETAGROxBarBQPlaza ส่งชุดหมูต่างๆพร้อมวัตถุดิบของบาบีก้อนครบชุดทั้ คามะจัง และ น้ำจิ้มบาร์บีคิวในตำนานขนาด 300 กรัม เสิร์ฟถึงหน้าเชลฟ์ในห้างค้าปลีก 

162052917369

สำหรับ 2 ชุดความอร่อย ประกอบด้วยชุดหมูเบทาโกร x บาร์บีกอน พิเศษ 299 บาท ซื้อได้ที่ บิ๊กซี, ชุดหมูเอสเพียว x บาร์บีกอน พิเศษ 399 บาท ซื้อได้ที่ วิลล่า มาร์เก็ต กูร์เมต์ มาร์เก็ต ท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และซุปเปอร์มาร์เก็ตฯชั้นนำทั่วไป เรียกว่าไม่ต้องง้อเดลิเวอรี่ หรือขยายช่องทางจำหน่ายก็ได้   

อลิสา พันธุศักดิ์ เจ้าของ ลา บาแกตต์ (La-Baguette) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด หรือทิฟฟานีโชว์ พัทยา ออกตัวว่าเป็นแบรนด์ต่างจังหวัด เพราะมีฐานธุรกิจและลูกค้าอยู่ในพัทยาเป็นหลัก เมื่อเจอโควิดธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ ยังคงให้บริการได้ 

การปรับตัวให้ธุรกิจอยู่รอด คือการเอาดีกับการเสิร์ฟครัวซองต์จากเตาถึงมือผู้บริโภค และไม่ใช่แค่ในพื้นที่ แต่ขายทั่วไทยด้วย โดยไอเดียการส่งเดลิเวอรี่ ยังเกิดจากสามีภูวนาท คุนผลินซึ่งทำไก่ดำตุ๋น เสิร์ฟลูกค้าเช่นกัน แต่ด้วยมีฐานลูกค้าในกรุงเทพฯ และฐานแฟนจำนวนมากบนแอ๊พพลิเคชั่นไลน์ จึงส่งครัวซองต์ขายพ่วง” 

เมื่อขายดีจึงต่อยอดส่งร้านอื่นๆในรูปแบบวัตถุดิบให้ร้านนำไปอบ เป็นต้น ก่อนหน้านี้ อลิสา ไม่ได้มีแค่ร้านในพัทยา แต่เปิดให้บริการในศูนย์การค้าด้วย แต่เมื่อต้นทุนค่าเช่าที่แพงขึ้นทุกปี จนไม่สามารถแบกรับไหว จึงต้องยุติกิจการในห้างลง 

ร้านในห้างทนค่าเช่าไม่ไหว ขอหนีไปก่อน เพราะค่าเช่าในห้างแพงขึ้นเรื่อยๆ กำไรเหนื่อยเกินทำงาน เพราะน้อยมาก 

อย่างไรก็ตาม การปรับตัว ดิ้นรนครั้งนี้จะไม่หยุดง่ายๆ และทุกครั้งที่ฮึดสู้ ไม่ได้ทำเพื่อองค์กรเท่านั้น แต่ยังต้องประคองให้ลูกน้อง พนักงานยังมีงานทำ ขณะที่การทำอาหารไม่ง่าย กลับมีความซับซ้อน คุมคุณภาพได้ยากมาก ทุกออเดอร์ที่เสิร์ฟผู้บริโภคจะต้องทำให้ไม่มีเสียงติหรือ Complain กลับมา 

การทำสินค้าให้คงคุณภาพจนถึงมือลูกค้ายากมาก ส่งแล้วไม่ให้มีคอมเพลน ให้สวย ให้อร่อยใช่ว่าทุกโปรเจคจะสำเร็จ เพราะก่อนหน้านี้ลองทำโกสต์คิทเช่น แต่ต้องปิดตัว 

ด้านเจ้าแห่งโปรเจค ต้องยกให้ เพนกวิน อีท ชาบูแต่ครั้งนี้ ธงพงศ์ ระดมทีมแปลงร่างเป็น เพนกวิน อีท ดุเรียน หรือหันมาขาย ทุเรียนเป็นการชั่วคราวนั่นเอง เขาเล่าว่า การลุกมาขายทุเรียน เพราะต้องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง ส่วนการทำรายได้ไม่ถึงกับเป็นกอบเป็นกำ เพราะยังมีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตนั่นเอง 

162052911699

อะไรที่ลูกค้าต้องการ เราจะขาย เพนกวิน ไม่ได้คิดเยอะ แต่เราข้างสังเกตว่าลูกค้าต้องการอะไร ขายแล้วได้กำไร

อนาคตของเพนกวิน จะมุ่งขายชาบูอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะนับวันการแข่งขันสูง ธงพงศ์ มองแบรนด์ตัวเองยังเล็ก มีแบรนด์เล็กใหญ่จำนวนมากที่แกร่งกว่าเพนกวิน เช่น ด้านเงินทุน ทำให้บริษัทต้องหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ หรือ New S-Curve ซึ่งอาจจะเห็นผันตัวไปขาสินค้าอย่างอื่นด้วย 

เมื่อโควิดและมาตรการรัฐที่ออกมา เป็นการตัดแขนตัดขาธุรกิจทีละน้อย ธงพงศ์ ยังพิจารณาปิดสาขาที่ไม่ทำเงิน และโอกาสฟื้นตัวไม่มีด้วย ทั้งสาขาในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวมถึงสร้างโมเดลซื้อสินค้าออนไลน์และรับสินค้าที่จุดจำหน่าย(Pick up) ซึ่งในต่างประเทศเป็นที่นิยมมากขึ้น เป็นต้น 

จะ Lean ตัวเอง ปรับโมเดลธุรกิจให้เล็กลงเพื่อไปต่อวันข้างหน้า”  

++ต่อลมหายใจร้านอาหาร

ท่ามกลางสงครามฟู้ดเดลิเวอรี่ แพลตฟอร์มอัดโฆษณา ปล่อยโปรโมชั่นดึงร้านค้า ลูกค้า และท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ยอดส่งอาหารปรับลดขึ้นลงแตกต่างกัน แต่ โรบินฮู้ดเป็นขาขึ้นทุกด้าน สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่โรบินฮู้ดเล่าว่า สถานการณ์ของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่นั้นค่อนข้างสวนทางกับธุรกิจร้านอาหาร เพราะยอดขยับขึ้น” 

สีหนาท ยกจุดแข็งของโรบินฮู้ด คือไม่เก็บค่า GP ต่าง ในมิติของร้านอาหารเมื่อลงทุนทุกบาททุกสตางค์จึงได้ผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้เวลานี้ หลายธุรกิจอาหารยกร้านมาอยู่บนแพลตฟอร์มพร้อมเสิร์ฟความอร่อยถึงบ้านผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 

ร้านย้ายมาอยู่บนแพลตฟอร์มต่อวันเยอะขึ้น ส่วนยอดสั่งซื้อต่อวันเพิ่มขึ้น 30-40% เราไม่ได้เป็นฮีโร่ ภาพของเราต้องการช่วยร้านค้ามากกว่า เพราะเราอยู่โค้งสุดท้ายแล้ว หากรอดโค้งนี้ได้ มีวัคซีน ร้านอาหารยังยืนอยู่และรอดไปได้ จึงน่าจะมาช่วยกันก่อน  

162052927546

ปัจจุบันการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารสูงมาก การสั่งเดลิเวอรี่ที่ไม่หวือหวาเหมือนเดิม นอกจากกำลังทรัพย์น้อย ยังเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยที่มองหาร้านใกล้บ้านระยะ 3-5 กิโลเมตร มุมมองจาก วินิจ ลิ่มเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท วี เชฟ ประเทศไทย จำกัด  

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารพบเจอ โดยเฉพาะฟู้ดทรัค คือความไม่แน่นอนในการออกร้าน ไปขายแล้วไม่มีที่จอดรถ หรือจะไปขายได้ก็ต่อเมื่อมีอีเวนท์ เจ้าของงานส่งเทียบเชิญให้ไปเปิดร้าน เป็นต้น Pain point ดังกล่าว ทำให้เขานำไปสร้างสรรค์แพลตฟอร์มWe Chef Food Truck ทางเลือกให้ลูกค้าจองที่จอดขายอาหารนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าแบรนด์ต่างๆเข้ามาเจรจาใช้บริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบาบีคิวพลาซ่า และเพนกวิน ที่จะนำทุเรียนไปจำหน่าย

เราอยากเป็นอัลเทเนทีฟชาเนลอยู่ใกล้ผู้บริโภค นำร้านอาหารไปอยู่แทบหน้าประตูบ้าน ทุกสัปดาห์เราส่งคาราวานอาหารไปใกล้ลูกค้า และสั่งเดลิเวอรี่ได้ในระยะ 3-5 กิโลเมตร”  

กี่วิกฤติ หลากผลกระทบ สิ่งที่ผู้ประกอบการทำคือไม่จำนนต่ออุปสรรค หากไม่ไหว อาจเห็นการพักหยุดกิจการชั่วคราว รอวันฟ้าใส จะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง ย่อมเป็นได้ เพราะนาทีนี้ ทางเลือกไม่มากนัก ผู้ประกอบการบางรายมองว่าเวลานี้คือช่วงยากในการตัดสินใจให้ใครรอดระหว่างเจ้าของธุรกิจหรือพนักงาน-ลูกจ้างนั่นหมายถึงเจ้าของปิดกิจการ ก็จะอยู่รอด และพนักงานตกงาน แต่หากรักษางานให้พนักงานมีงานมีเงิน เจ้าของอาจต้องเจ๊ง!! 

14-17 วันของมาตรการรัฐจึงชี้ชะตาธุรกิจร้านอาหารอีกยกกี่รายรอด กี่รายร่วง ต้องติดตาม