KEX ไตรมาส 2/64 กำไร 336 ล้านบาท รับปริมาณส่งพัสดุเติบโต
"เคอรี่ เอ็กซ์เพรส" กำไรไตรมาส 2/64 อยู่ที่ 335.6 ล้านบาท ลดลง 8.1% เทียบช่วงเดียวก่อน แต่เพิ่มขึ้น 10.8% สะท้อนจำนวนพัสดุขนส่งที่เติบโตขึ้น-กลยุทธ์แข่งขันด้านราคา
นายอิศรินทร์ ภัทรมัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการลงทุน บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิ 335.6 ล้านบาท ลดลง 8.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 10.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ KEX ประสบความสำเร็จด้วยกลยุทธ์ด้านราคาเชิงรุกทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าประเภทการจัดส่งราคาประหยัด และมุ่งขยายตัวต่อเนื่องเข้าสู่ตลาดการเกษตร ด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นด้านราคาและแคมเปญการตลาดที่ดึงดูดใจทุกภูมิภาดทั่วประเทศ
ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทฯ มีปริมาณการจัดส่งพัสดุที่เติบโตอย่างโดดเด่นและรายงานผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ ด้วยกำไรสุทธิที่ 336 ล้านบาท พร้อมทั้งอัตรากำไรสุทธิที่ 7.3% จากความสำเร็จของการเข้าถึงลูกค้าด้วยการตลาดและการขายที่แข็งแกร่ง และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างสูงสุด
นอกจากนี้ บริษัท ได้ดำเนินการยกระดับแพลตฟอร์มการจัดส่งพัสดุมาอย่างต่อเนื่อง โดย KEX เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพ การบริการที่เยี่ยมยอด และเครื่อข่ายการจัดส่งที่มีเถียรภาพ เพื่อให้การจัดส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางเป็นไปอย่างมีระบบและคล่องตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ KEX ถือเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของลูกค้า การันตีด้วยรางวัล No.1 Brand Thailand 4 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับโดยนิตยสาร Marketeer ผ่านการโหวตของผู้บริโภคจากทุกภาคทั่วประเทศไทย ได้รับคะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง สะท้อนถึงความเหนือระดับของแบรนด์ KEX ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ KEX ยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความยืดหยุ่นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยให้ความสำคัญต่อมาตรการที่รัดกุมสำหรับมาตรฐานด้านสุขอนามัย เช่น ห้ามไม่ให้พนักงานเดินทางข้ามจังหวัด การขนส่งที่เว้นระยะห่าง และการสนับสนุนให้พนักงานในสำนักงานทั้งหมดทำงานจากที่บ้าน ในขณะที่มาตรการความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าก็ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้นเช่นกัน
KEX ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องกับปริมาณการจัดส่งพัสดุที่เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในครึ่งแรกของปี KEX ทำการจัดส่งพัสดุไปแล้วกว่า 166.6 ล้านชิ้น หรือเติบโตกว่า 10.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกลยุทธ์การกำหนดราคาเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นในช่วงโควิด- 19
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 KEX แถลงรายได้จากการขายและการให้บริการเท่ากับ 4,600 ล้นบาท เพิ่มขึ้น 9.8% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านราคาที่กล่าวไปแล้ว แม้จำนวนวันทำการในไตรมาสนี้จะน้อยกว่าเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2563 รายได้ลดลง 14.6%
จากปริมาณพัสดุที่สูงผิดปกติในไตรมาส 2 ของปี 2563 ในช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาด อีกทั้งสถานการณ์ที่ยังคงยืดเยื้อเป็นเหตุให้กำลังซื้อในประเทศอ่อนแอลง และประชาชนมีดวามระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้น นอกจากนี้ ในส่วนของรายได้แยกตามประเภทของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
ด้านต้นทุนขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 11.5% จากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนการจัดส่งพัสดุที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่า นั่นหมายถึงการบริหารจัดการต้นทุนได้เป็นอย่างตึ ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ต้นทุนลดลงต่อเนื่องในอัตรา 14.0% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพของระบบและเครือข่ายการขนส่ง รวมถึงการประหยัดต่อขนาด
อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณการจัดส่งที่มากกว่าปกติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมา KEX ยังคงให้ความสำคัญต่อมาตรการตวามปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างทันท่วงที รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าผ่านกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่คำช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตรา 4.0% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและการให้บริการ โดยมีสาเหตุมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อการขยายตัวทางธุรกิจ ทั้งนี้ KEX ยังคงสามารถดำเนินการลดคำใช้จ่ายรวมลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยลดลงกว่า 19.8% หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ด้วยกลยุทธ์การปรับราคาประกอบกับการพัฒนาระบบการทำงาน ทำให้ทั้งอัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA Margin) อัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT) และอัตราทำไรสุทธิ ยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 21.4% 9.3% และ 7.3% ตามลำดับ โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จากการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และต้นทุนทางการเงินลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถานบันการเงินทั้งจำนวนโดยใช้เงินเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก