AAV ไตรมาส2/64 ขาดทุน1.69 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกขาดทุน3.89พันล้าน
AAV ไตรมาส2ปี2564 ขาดทุนสุทธิ1.69 พันล้าน เพิ่มขึ้น 48% จากช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุน1.14 พันล้านบาท เหตุ รายได้รวม1.08 พันล้าน แต่ค่าใช้จ่าย 3.89 พันล้าน ขณะที่ครึ่งปีแรกขาดทุน3.55 พันล้าน เพิ่มขึ้น96% จากช่วงเดียวกันที่ขาดทุน 1.8 พันล้าน
บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ AAV ไตรมาส2ปี2564 ขาดทุนสุทธิ1,691.87 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 48% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน1,141.32 ล้านบาท เนื่องจาก บริษัทมีรายได้รวม1,080.7 ล้านบาท ลดลง 51% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีราไยด้รวม 2,221 ล้านบาท แต่บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวม 3,894 ล้านบาท ลดลง3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 4,021.4 ล้านบาท
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีจำนวนผู้โดยสาร721,794 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 155 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวไปในทิศทางเดียวกับปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสารและปริมาณที่นั่ง
โดยหลักหนุนจากความต้องการเดินทางที่เพิ่มขึ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน 2564 และฐานที่ต่ำซึ่งเป็ยผลมาจากการหยุดให้บริการบินชั่วคราวในเดือนเมษายน 2563
อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้อัตราการขนส่งผู้โดยสารในไตรมาสดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 61นอกจากนี้บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ดำเนินงานลดจำนวนเครื่องบินตามแผนในระหว่างงวด ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือน
มิถุนายน 2564 มีจำนวนเครื่องบินทั้งสิ้น 60 ลำ
ขณะที่งวดครึ่งปีแรก2564 ขาดทุน3,556.46 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น96% จากช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุน1,812.80 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,431.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 75จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 8,451.1 ลดลงร้อยละ 34จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 สินทรัพย์มีจำนวน 64,601.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5 เทียบจากสิ้นปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจาก
(1) สินทรัพย์หมุนเวียนลดลงจำนวน 1,045.3 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงจำนวน
876.8 ล้านบาท จากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงและการชำระคืนหุ้นกู้บางส่วน และค่าใช้จ่ายล่วงหน้าลดลงจำนวน 177.8
ล้านบาท จากการรับเงินชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงล่วงหน้าคืน
(2) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลงจ านวน 2,331.1 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์สิทธิการใช้และที่ดิน เครื่องบิน ส่วนปรับปรุงอาคารเช่าและอุปกรณ์ ลดลงจากค่าเสื่อมราคาสะสมที่เพิ่มขึ้น
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปี2564 มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศสูงขึ้น โดยประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวได้ดีกว่าจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ในขณะเดียวกันประเทศเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาฟื้นตัวชะลอลง เนื่องจากอัตราการแจกจ่ายวัคซีนยังคงล่าช้าทำให้ยังต้องใช้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด และมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับจำกัด นอกจากนี้ประเทศที่พึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลักจะยังฟื้ นตัวได้ช้ากว่าประเทศอื่นๆ
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นการแพร่ระบาดของ COVID-19กลายพันธุ์นั้นกระจายเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในเอเชีย ความล่าช้าในการกระจายวัคซีน และความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลก ทั้งนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (“Fed”) ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 0.25 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการจ้างงาน รักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อ และคงนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ กอปรกับเศรษฐกิจที่ฟื้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของดอลลาร์
สหรัฐฯแข็งค่า ทั้งนี้บริษัทอาจเสียประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ อาทิเช่น สัญญาซ่อมบำรุง สัญญา
เช่าเครื่องบิน เป็นต้น
ดังนั้นบริษัทจึงทำการบริหารภายใต้นโยบายการบริหารความเสี่ยงแบบธรรมชาติ คือ จัดการให้รายจ่ายอยู่ในสกุลเงินเดียวกับรายรับให้มากที่สุด นอกจากนี้โครงสร้างเงินกู้ในสกุลเงินต่างๆ จะถูกปรับให้สอดคล้องกับสกุลเงินของเงินสดสุทธิจากการด าเนินงานโดยบริษัทจะพิจารณานำเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสมราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นมากกว่าที่เคยประมาณการไว้เมื่อต้นปีโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนที่ส าคัญจากการเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การเดินทาง การท่องเที่ยว และการขนส่ง
อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศโดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้า
น้ำมันอันดับสามของโลก และการเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC+) ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึง
ธันวาคมปีนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
อนึ่ง ในไตรมาสนี้บริษัทไม่มีสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน (Fuel Price Swap Agreements )
จากรายงานเดือนสิงหาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย(“ธปท.”) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้ม
ขยายตัวร้อยละ 0.7 ลดลงจากประมาณการในเดือนมิถุนายน2564 ที่ร้อยละ 1.8 จากการระบาดของ COVID-19 รอบที่สาม
ที่ยืดเยื้อและรุนแรงมากกว่าที่ประเมินไว้ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเร่งสูงขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์ Delta ที่มีความรุนแรง
ส่งผลให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชน และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวลง
อย่างไรก็ดีภาครัฐได้มีการออกมาตรการสนับสนุน รวมถึงการส่งออกยังขยายตัวได้ดีหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ อีกทั้ง ธปท. คาดการณ์ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้าโดยประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ไว้ 2 กรณี ในกรณีฐานจะมีนักท่องเที่ยว
ต่างชาติจำนวน 0.15 ล้านคน และกรณีที่แย่ที่สุด จะมีนักท่องเที่ยวเพียงจ านวน 0.10 ล้านคน ภายใต้สมมติฐานที่
สถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศสามารถควบคุมได้และทยอยผ่อนคลายมาตรการในช่วงต้นและช่วงปลายไตรมาส 4
ปีนี้ ตามลำดับ
ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจมีความล่าช้าออกไปจากปัจจัยความเสี่ยง อาทิเช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ การเลื่อนระยะเวลาการเปิดประเทศประสิทธิภาพและความล่าช้าในการกระจายวัคซีนบจ. ไทยแอร์เอเชีย คาดการณ์ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังจะทรงตัวอย่างประคับประคองจากการที่ภาครัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (“กพท.”) ได้ประกาศห้ามบินรับส่งผู้โดยสารในประเทศพื้นที่ควบคุมสูงสุดเริ่มตั้งแต่ 21 กรกฎาคม เป็นต้นไปโดยไม่มีกำหนด
ดังนั้น บจ.ไทยแอร์เอเชีย จึงประกาศหยุดให้บริการในทุกเส้นทางบินภายในประเทศชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 12 - 31 สิงหาคม 256
เพื่อให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการช่วยกันป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี บจ. ไทย
แอร์เอเชีย ยังเน้นการเติบโตในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน(“Non-airline Business”) โดยเพิ่มศักยภาพธุรกิจขนส่งทาง
อากาศโดยการนำเครื่องบินมาใช้ในการขนส่งทางอากาศอย่างเดียว เพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซและความต้องการ ขนส่งสินค้าโดยรวม
นอกจากนี้ หน่วยธุรกิจด้านดิจิทัลภายใต้กลุ่มแอร์เอเชียได้ผนึกก าลังกับโกเจ็กแพลตฟอร์มบริการด้านอีคอมเมิร์ซและการช าระเงินผ่านมือถือชั้นนำของอาเซียนผ่านการเข้าซื้อกิจการของโกเจ็กส่วนที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย เพื่อที่จะเสริมศักยภาพและสร้างระบบนิเวศธุรกิจของกลุ่มแอร์เอเชีย โดยในประเทศไทยนั้น airasia super app จะเริ่มเปิดตัว airasia food และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในครึ่งปีหลังนี้