ลูกหนี้เฮ! ธปท.-สมาคมธนาคารไทย ออกมาตรการเพิ่มเติม อุ้ม “SMEs และรายย่อย” ฝ่าโควิด
ธปท.-สมาคมธนาคารไทย คลอดมาตรการเพิ่มเติมรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และลูกหนี้รายย่อย ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. 64 ขยายวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู และเพิ่มการค้ำประกันให้กับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง พร้อมผ่อนปรนหลักเกณฑ์สินเชื่อลูกค้ารายย่อย/ลูกค้าบุคคลถึงสิ้นปี65
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศมาตรการการเพิ่มเติม สำหรับช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้น
หลังจากที่ได้ประกาศมาตรการเมื่อวันที่ 20 ส.ค.2564 สนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ได้อย่างยั่งยืน
สำหรับ "มาตรการเพิ่มเติมรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้ SME และรายย่อย” ประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้
1.ปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู ช่วยลูกค้า SME
1.1 ขยายวงเงิน
ลูกค้าใหม่ : ขอกู้ <20 ล้านบาท
(รวมวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน)
ลูกค้าเก่า : 30% ของวงเงิน* หรือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท
สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินเดิม ไม่ถึง 50 ล้านบาท
1.2 เพิ่มการค้ำประกันให้กับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง
ลูกค้าใหม่ : ปรับลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันรวม
สำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง*
*ลูกค้าที่มีวงเงินเติมไม่เกิน 50 ล้านบาท และได้รับวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท / หรือลูกค้าใหม่ได้รับวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท
ลูกค้าเดิม : คงค่าธรรมเนียมการค้ำประกันรวม โดย ลดอัตราจ่ายในช่วง 2 ปีแรก
สำหรับลูกค้ากลุ่มอื่น*
*ลูกค้าที่มีวงเงินเติมมากกว่า 50-500 ล้านบาท และได้รับวงเงินมากกว่า 15 ล้านบาท / หรือลูกค้าใหม่ที่ได้รับวงเงินมากกว่า 15 ล้านบาท
หมายเหตุ * วงเงินที่มีกับสถาบันการเงิน ณ 31 ธ.ค. 62 หรือ 28 ก.พ. 64 แล้วแต่ยอดใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท นับรวมวงเงิน Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก.
ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟูมายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 2564
2.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์สินเชื่อลูกค้ารายย่อย/ลูกค้าบุคคล
มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. 2564 จนถึงสิ้นปี 2565
2.1 บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
-ผ่อนปรนหลักเกณฑ์สินเชื่อลูกค้ารายย่อย/ลูกค้าบุคคล
-คงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตที่ 5% ต่อไป
-สำหรับผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 30,000 บาท
-ขยายเพดานวงเงิน ไม่เกิน 2 เท่า ของรายได้
ไม่จำกัดจำนวน ผู้ให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การทำกับฯ
2.2สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
-ขยายเพดานวงเงินเป็น รายละไม่เกิน 40,000 บาท
-ขยายระยะเวลาการชำระคืน ไม่เกิน 12 เดือน
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า "มาตรการแก้ไขหนี้เดิม และเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย ถูกปรับให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นและสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ เพื่อช่วยลูกหนี้ที่ยังได้รับผลกระทบหนักให้สามารถบริหารจัดการสภาพคล่องผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมของทั้งกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยไม่สร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (moral hazard) เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิผล โดยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจริงก็ควรได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสถานะของลูกหนี้แต่ละราย
ทั้งนี้ ธปท. จะร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในการเร่งรัดและติดตามการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด
ธปท. และสมาคมธนาคารไทย มุ่งหวังว่ามาตรการที่ปรับใหม่ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างตรงจุด ทันการณ์ และได้ผลจริงอย่างยั่งยืน สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์และผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้
ดังนั้น ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องและแก้ไขหนี้เดิม สามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่เพื่อรับความช่วยเหลือได้แล้ว และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผ่านผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213