กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (13 ก.ย. 64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (13 ก.ย. 64)

13-17 กันยายน: ปัจจัยภายนอกมีความไม่แน่นอน กดดันช่วงสั้น ตลาดจะยังคงพักตัวต่อไปในระยะสั้น - ในสัปดาห์ที่แล้ว (6-10 กันยายน) ตลาดหุ้นไทยอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้

เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับลดลง และเงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลลบเล็กน้อยต่อกระแสเงินทุนจากต่างชาติ นอกจากนี้ หุ้นขนาดใหญ่ที่สภาพคล่องต่ำสองสามตัวที่ก่อนหน้านี้ช่วยหนุนตลาดขึ้น (DELTA*, INTUCH* และ MAKRO) เผชิญกับแรงขายทำกำไร และทำให้ตลาดโดยรวมผันผวน ทั้งนี้ ผลการประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 10 กันยายนไม่ได้เป็นบวกเท่าที่คาดไว้ โดยทางการยังคงบังคับใช้ curfew ช่วงกลางคืนต่อไป จนถึงสิ้นเดือนกันยายน เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะกลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้งส่วนทางด้านปัจจัยการเมือง รัฐสภาได้อนุมัติการแก้รัฐธรรมนูญให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแทนที่จะใช้ใบเดียวเหมือนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2562

 

ในสัปดาห์นี้ (13-17 กันยายน) เราคาดว่าดัชนี SET จะขยับอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยอาจจะขยับลดลงต่ออีก ทั้งนี้ จากความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจมหภาคโลกที่เพิ่มขึ้นก่อนการประชุม FOMC สัปดาห์หน้าในขณะที่ตลาดมีการพูดกันถึงการกลับมาของภาวะ stagflation ของสหรัฐ หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และดัชนี้ชี้วัดการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลง ดังนั้น สินทรัพย์เสี่ยงในเอเชียและในประเทศไทยจึงน่าจะถูกกดให้ขึ้นต่อได้ไม่มากในระยะสั้น สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เราคิดว่าราคาหุ้นในธีม domestic และ re-opening น่าจะสะท้อนสภาวะในปัจจุบัน และแผนการเปิดประเทศแบบมีเงื่อนไขไปมากพอสมควรแล้ว และความตื่นเต้นจากประเด็นนี้น่าจะเริ่มหมดลงแล้ว โดยสรุปแล้ว เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะพักตัวต่อไป แต่เรายังคงมองบวกต่อแนวโน้มใน 4Q64 เหมือนเดิม

 

 

ต้องติดตามตัวเลข CPI และยอดค้าปลีกของสหรัฐ รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

(0) ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่จะออกมาก่อนการประชุม FOMC นัดหน้า ตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) มีกำหนดจะประกาศออกมาในวันที่ 14 กันยายน ซึ่ง Traders ต่างจับตาดูตัวเลข CPI รอบนี้หลังจากที่ตัวเลข PPI ซึ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ออกมาสูงเกินความคาดหมาย โดย Consensus คาดว่า core CPI เดือนสิงหาคมจะเพิ่มขึ้น 4.2% YoY จากที่เพิ่มขึ้น 4.3% YoY ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งแสดงว่าโมเม
นตั้มของเงินเฟ้อยังคงอยู่ นอกจากนี้ ในวันที่ 16 กันยายน จะมีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคม ซึ่ง consensus คาดว่าทั้งยอดค้าปลีกทั่วไป (headline) และ ยอดค้าปลีกพื้นฐาน (core) จะลดลง 1.0% MoM และ 0.1% MoM ตามลำดับ ซึ่ง FOMC จะใช้ดัชนีเศรษฐกิจเหล่านี้ในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะประกาศลดขนาด QE อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 กันยายนหรือไม่

(0) ข่าวสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ และความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใหม่รายวัน และจำนวนผู้ป่ วยที่หายและกลับบ้านได้ยังคงมีผลต่อตลาด ทั้งนี้ ประเทศไทยเพิ่งประกาศแผนการกระจายวัคซีนในเดือนตุลาคม โดยตั้งเป้าจะฉีดทั้งหมด 24 ล้านโดสให้กับประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงนักเรียนที่มีอายุเกิน 12 ปีด้วย เรามองว่าแผนนี้จะเป็นบวกต่อแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติม และจะให้มีการกลับมาเปิดการเรียนการสอนโรงเรียนได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป

 

 

หากตลาดย่อลงจะเป็นโอกาสให้เข้าซื้อ

จากการวิเคราะห์ earnings yield gap (EYG) โดยใช้สมมติฐาน EYG เฉลี่ยระยะยาวที่ 4.1%, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีที่ 1.6% และ EPS ในอีก 12 เดือนข้างหน้าที่ 91.0 เราคำนวณ downside ของดัชนี SET ได้ที่ 1,600 จุด ซึ่งหมายความว่าราคาหุ้นในปัจจุบันมีความเสี่ยงค่อนข้างจำกัด เรายังคงมองบวกกับแนวโน้มตลาดใน 4Q64 และมองว่าถ้าตลาดย่อลงจะเป็นโอกาสให้เข้าซื้อหุ้น เรายังคงชอบหุ้น domestic play ขนาดใหญ่ และหุ้นในธีม re-opening อย่างเช่น KBANK*, AOT*, CPN*, MAJOR*, BEM*, PTG* และ SPA เรายังคงเป้าดัชนีสิ้นปีนี้เอาไว้ที่ 1,730 จุด อิงจาก P/E ที่ 19.0x ซึ่งคำนวณมาจาก PEG ที่ 1.15x (PEG เฉลี่ยระยะยาว) และอัตราการเติบโตของ EPS ปี 2565 ที่ 16.5%