ครม.เคาะมาตรการดึงนักลงทุนศักยภาพ - Long Stay เข้าไทยเป้าหมาย 1 ล้านคน
ครม.ไฟเขียวมาตรการดึงนักลงทุนศักยภาพเข้าไทย ผ่อนปรนมาตรการวีซ่าจูงใจพำนักไทยระยะยาว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 อำนวยความสะดวก ปลดล็อควีซ่าไม่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
14 ก.ย. 64 รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ตามที่สภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอโดยมีเป้าหมายดึงนักลงทุนและผู้พำนักระยะยาวให้เข้ามายังประเทศไทยเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดเป้าหมาย 1 ล้านคนภายในปี 2569
โดยมี 2 มาตรการ 1. การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว แบ่งเป็น 4 ประเภท
1. ผู้มีความมั่งคั่งสูงที่มีการลงทุนขั้นต่ำ 5 แสนดอลลาร์ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนทางตรงในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีเงินบำนาญขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 8 หมื่นดอลลาร์ใน 2 ปีที่ผ่านมา มีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์
2. กลุ่มผู้เกษียณอายุ จากต่างประเทศ ลงทุนขั้นต่ำ 2.5 แสนดอลลาร์ในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมีเงินบำนาญไม่น้อยกว่า 4 หมื่นดอลลาร์ หรือมีเงินบำนาญขั้นต่ำ 8 หมื่นดอลลาร์ (กรณีไม่มีการลงทุน)
3. กลุ่มที่ต้องการทำงานในประเทศไทย โดยมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นดอลลาร์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละประมาณ 4 หมื่นดอลลาร์ ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญาหรือได้รับทุนซีรีส์ A มีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี
และ 4. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ ที่มีรายได้หรือเงินจากการลงทุน 8 หมื่นดอลลาร์ ในช่วง 2 ปี หรือปีละ 4 หมื่นดอลลาร์ หากสำเร็จการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป รวมทั้งมีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
มาตรการที่ 2. เป็นการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดการลงทุน เช่น
การกำหนดวีซ่าประเภทพิเศษตามโครงการ การสร้างระบบอำนวยความสะดวกให้รับอนุมัติวีซ่าอย่างรวดเร็ว แห่งพระราชบัญญัติการให้สิทธิคู่สมรสและบุตรได้รับวีซ่าผู้ติดตาม ได้รับยกเว้นคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไม่ต้องไปรายงานตัวทุก 90 วัน
อำนวยความสะดวกเรื่องการแจ้งย้ายที่อยู่ การกำหนดวิธีการต่อวีซ่า รวมทั้งหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงสถานะของการอยู่อาศัยในประเทศไทย ให้ผู้ถือวีช่าฯ สามารถทำงานได้ตามคุณสมบัติตามที่ได้ขอวีซ่าไว้ เป็นต้น
ไม่นำข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราส่วนการจ้างงานพนักงานไทยต่อต่างชาติมาใช้กับผู้ถือวีซ่าประเภทนี้ (หลักเกณฑ์จ้างงานต่างชาติ 1 คน ต่อคนไทย 4 คน)