กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (20 กันยายน 2564)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (20 กันยายน 2564)

20-24 กันยายน: ตลาดจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังประชุมเฟด ในสัปดาห์ที่แล้ว (13-17 กันยายน) ดัชนี SET พักตัวตามที่เราคาดไว้

ในขณะที่กระแสข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 และการกระจายวัคซีนยังคงเป็นบวก แต่ตลาดการเงินได้ปรับตัวรับปัจจัยดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจมหภาคจากภายนอกอีกสองสามเรื่อง โดยในประเด็นแรก FOMC จะตัดสินใจในสัปดาห์นี้ว่าจะประกาศลดขนาด QE ลงหรือไม่ ประเด็นที่สอง มีแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อสถานะทางการเงินของ Evergrande Group ซึ่งเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ของจีน และส่งผลกระทบต่อไปถึงตลาดส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเหนือ ในขณะเดียวกัน เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้กระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นผันผวนเพิ่มขึ้น

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (20-24 กันยายน) หลังจากที่ตลาดปรับย่อลงไปบ้างแล้ว เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะฟื้นตัวขึ้น โดยน่าจะเห็นแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่ FOMC เปิดเผยผลการตัดสินใจออกมาในวันพุธ ซึ่งหากมีการประกาศลดขนาด QE และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องออกมาจริง จะทำให้ประเด็นความไม่แน่นอนลดลง นอกจากนี้ เรายังคาดว่าสถานการณ์ COVID-19 น่าจะดีขึ้น โดยในช่วงสองสาม
วันที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง, จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตลดลงอย่างมาก ซึ่งน่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อระบบการรักษาพยาบาลในประเทศไทยลง ในขณะเดียวกัน นักลงทุนน่าจะยังต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาท และปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคสหรัฐอีกสองสามตัว ซึ่งอาจจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้น และภาวะตลาดในสัปดาห์นี้ รวมถึงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายนด้วย

 

 

นอกจากเรื่อง Fed ตลาดยังต้องจับตาแผนขึ้นภาษี และเพดานการก่อหนี้ด้วย

(0/+) สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย นักลงทุนยังต้องจับตาดูรายงานสถานการณ์ COVID-19ในประเทศ รวมถึงความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน แแผนการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะในส่วนของกรุงเทพ โดยในสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยว และผู้ว่า กทม. มีความเห็นไม่ตรงกัน โดยผู้ว่ากทม. ยืนยันว่ากรุงเทพยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจนกว่าประชากรในกรุงเทพจะได้รับวัคซีนครบ 70% ของประชากรทั้งหมดเสียก่อน

 

(0) การตัดสินใจของ FOMC, แผนขึ้นภาษี, และเพดานการก่อหนี้ ในวันที่ 22 กันยายน FOMC จะตัดสินใจเรื่องการลดขนาด QE ซึ่งตลาดการเงินส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะมีการลดขนาด QE อยู่แล้ว ดังนั้น หากมีการประกาศออกมาจริงจะทำให้ตลาดการเงินโลกมีความชัดเจนมากขึ้น และจะถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไป นอกจากนี้ ในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้า ยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่นอีกสองสามเรื่อง โดยเรื่องแรก คือการที่สภา congress ของสหรัฐจะอภิปรายเรื่องแผนการขึ้น
ภาษี เพื่อนำเงินมาสนับสนุนงบประมาณการ 3.5 ล้านล้าดอลลาร์ฯ ในช่วงสิบปีข้างหน้า และเรื่องที่สองคือกำหนด deadline ของเพดานการก่อหนี้สหรัฐที่ใกล้เข้ามาแล้ว ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดสหรัฐผันผวนมากขึ้น

 

 

 

ยังคงเน้นธีมหุ้น domestic และ reopening โดยต้องระวังหุ้นใหญ่ที่ไม่มีสภาพคล่อง

จากมุมมองของเราต่อแนวโน้มความชัดเจนในตลาดการเงิน และความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนในประเทศไทย และการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง เราจึงแนะนำให้นักลงทุนยังคงเน้นลงทุนหุ้นในธีมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และหุ้นในธีม reopening โดยเราชอบหุ้นกลุ่มธนาคาร, ขนส่งและหุ้นบางตัวในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ และกลุ่มสื่อ อย่างเช่น KBANK*, BBL*, AOT*, BEM*, CPN* และ MAJOR* ในขณะเดียวกัน เรายังคงแนะนำให้ระมัดระวังหุ้นใหญ่ที่มี free float ต่ำ เพราะถ้าหาก SET ออกแนวปฏิบัติในการปรับเกณฑ์การคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 จะส่งผลกระทบต่อหุ้นใหญ่ที่ไม่มีสภาพคล่อง