"อาคม" ลั่น 1-2 เดือนนี้ เตรียมออกมาตรการกระตุ้นศก.เพิ่ม หวังผยุงGDPปี64โต
"อาคม" เผย 1-2 เดือนนี้ เตรียมออกมาตรการเพิ่ม "กระตุ้นการบริโภคของประชาชน-ช่วยเหลือเอสเอ็มอี "หวังดัน GDPปีนี้เติบโต หลังจากสำนักวิจัยบางแห่งคาดว่าGDP ปีนี้จะติดลบ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง(รมว.คลัง) กล่าวปาฐกถาในงานสัมนา “ธุรกิจ-สังคม สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด” จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่มียืดเยื้อ ทำให้สำนักวิจัยต่างๆรวมถึงธนาคารโลก (เวิล์ดแบงก์)ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ และมีสำนักวิจัยบางแห่งคาดการณ์ว่าจีดีพี ปีนี้จะติดลบต่ออีก 1ปี แต่รัฐบาลจะดำเนินการไม่ให้จีดีพีปีนี้ติดลบ โดยเตรียมจะออก มาตการเสริมในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคให้กับประชาชน และมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี โดยคาดจะออกมาตรการเพิ่มเติมในช่วง1-2 เดือนนี้ และอาจจะยาวไปถึงปีใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอย
สำหรับในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19นั้น รัฐบาลให้หลักประกันว่า ภายในเดือน ธ.ค.2564 อัตราการฉีดวัคซีนของประชาชนจะต้องได้ 70%ของประชากรของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้มีการสั่งซื้อวัคซีนที่จะเข้ามาภายในสิ้นปีนี้จำนวน 178 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอสำหรับการฉีดให้ได้70%ของประชากร และ ในปี 2565 ก็สั่งซื้อวัคซีนเพื่อฉีดเข็ม3 แล้วจำนวน 120 ล้านโดส โดยในด้านปริมาณวัคซีนไม่มีปัญหา แต่ประชาชนทุกคนต้องร่วมมือในการป้องกันตัวเอง
ส่วนจีดีพีปีหน้ากระทรวงการคลังคาดโต4-5% แต่สำนักวิจัยต่างๆคาดว่าจะโต3-4% ก็ถือว่าเป็นระดับที่พอใจ ที่ไม่ติดลบ ซึ่งเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับภาคการผลิตและส่งออก ว่าจะขยายตลาด และมีการผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร รวมถึงการเพิ่มกำลังซื้อ
นายอาคม กล่าวว่า ธนาคารโลก ระบุเรื่องมาตรการของรัฐบาลหลายเรื่องซึ่งเรื่องหนึ่งที่สำคัญในยามวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ รัฐบาลต้องใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลทุกประเทศทั่วโลกนั้น ก็มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลมาจากการจัดทำงบประมาณขาดดุล หากไม่พอก็ต้องกู้เงินเพิ่มขึ้น ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น โดยเวิล์ดแบงก์ มองว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในระยะสั้นๆในช่วง2-3ปี เพราะภาระการกู้เงินสูง แต่การกู้เงินเพื่อนำมาเพื่อใช้ช่วยเหลือเยียวยา
ส่วน จีดีพี ปีหน้ากระทรวงการคลัง คาดโต4-5% แต่สำนักวิจัยต่างๆคาดว่าจะโต3-4% ก็ถือว่าเป็นระดับที่พอใจ ที่ไม่ติดลบ ซึ่งเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับภาคการผลิตและส่งออก ว่าจะขยายตลาด และมีการผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร รวมถึงการเพิ่มกำลังซื้อ
นายอาคม กล่าวว่า ธนาคารโลกระบุเรื่องมาตรการของรัฐบาลหลายเรื่องซึ่งเรื่องหนึ่งที่สำคัญในยามวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ ไม่ว่าประเทศไหนก็ตาม รัฐบาลต้องใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งทุกประเทศในโลก รัฐบาลใช้เงินเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลมาจากการจัดทำงบประมาณขาดดุล หากไม่พอก็ต้อง กู้เงินเพิ่มขึ้น ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น โดยเวิล์ดแบงก์มองว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในระยะสั้นๆในช่วง2-3ปี เพราะภาระการกู้เงินสูง แต่การกู้เงินเพื่อนำมาเพื่อใช้ช่วยเหลือเยียวยา
สำหรับภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจ ตัวแรกการบริหารเศรษฐกิจมหาภาคในปี2563 และปีนี้ นโยบายการเงินและการคลังต้องประสานกัน ซึ่งนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายเพื่อให้นโยบายการคลังสามารถดำเนินการได้ ซึ่งหากเป็นช่วงปกติการกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มาใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ นโยบายการเงินต้องรีบออกมาต้องจัดการ เพราะการใช้จ่ายระบบเศรษฐกิจมากเกินไปก่อให้เกิดเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยจะต้องเพิ่มขึ้น เพื่ออรักษาเสถียรภาพการเงินเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรง
แต่ตอนนี้การกู้เงินเป็นประโยชน์เศรษฐกิจ ทำให้นโยบายการเงินต้องผ่อนคลาย ซึ่งทุกประเทศก็มีการผ่อนคลาย ซึ่งต้องทำนโยบายนอกตำรา เพราะเวลานี้ประชาชนเดือดร้อน นโยบายการเงินการคลังต้องนอกตำรา แต่การใช้จ่ายต้องมีประโยชน์
อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะมีการดูแลเสถียรภาพและ เรื่องความมั่นคง โดยธปท.ดูเรื่องความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ส่วนกระทรวงการคลังดูเรื่องการใช้จ่ายของประเทศ และการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาบต้องให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย