กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 4-8 ตุลาคม: แนวโน้มฟื้นตัวแต่ยังผันผวนสูง

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์  4-8 ตุลาคม: แนวโน้มฟื้นตัวแต่ยังผันผวนสูง

ตลาดน่าจะฟื้นตัวได้บ้าง แต่จะยังมีความผันผวนสูง ในสัปดาห์ที่แล้ว (27 กันยายน – 1 ตุลาคม) ดัชนี SET เคลื่อนไหวผันผวนก่อนที่จะปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า

โดยตลาดปรับตัวแย่กว่าที่เราคาดเอาไว้ เพราะในขณะที่ปัจจัยในประเทศยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใหม่ลดลงอีก ส่วนการกระจายวัคซีนยังเร่งตัวขึ้น และ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมลงอีก แต่ปัจจัยความไม่แน่นอนในตลาดโลกกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐ ซึ่งฉุดให้ภาวะตลาดแย่ลง โดยความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและ การที่สหรัฐอาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินคาดกลับมาถ่วงตลาดอีกครั้ง และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกสองสามประเด็นที่ยังคงค้างอยู่ในสภา congress ของสหรัฐอย่างเช่น การปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐ และ การอภิปรายเรื่องแผนขึ้นภาษีนิติบุคคล

 

สำหรับสัปดาห์นี้ (4-8 ตุลาคม) เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะฟื้นตัวได้บ้าง จากกระแสข่าวบวกเกี่ยวกับ COVID-19 โดยมีการรายงานผลการทดลอง Molnupiravir ซึ่งเป็นยารักษา COVID-19 ตัวใหม่ ว่ามีประสิทธิภาพดี ในขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่และยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อแนวโน้มกิจกรรมทางธุรกิจ และการเปิดประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้ เรายังมองว่าปัจจัยความไม่แน่นอนทางมหภาคของสหรัฐส่วนใหญ่ (อย่างเช่น เพดานหนี้สาธารณะ และแผนขึ้นภาษี) น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในไม่ช้า

 

 

 

 

 

ติดตามปัจจัยมหภาคของสหรัฐ และสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

(0) ตัวเลข และเหตุการณ์สำคัญในเชิงเศรษฐกิจของสหรัฐ ในวันที่ 8 ตุลาคม จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกันยายนของสหรัฐ โดย Consensus คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 460,000 ตำแหน่ง ซึ่งดูแข็งแกร่งพอสมควร และดีกว่าที่เพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนสิงหาคม ในขณะเดียวกัน สภา Congress ได้อนุมัติร่างกฎหมายการใช้จ่ายระยะสั้นของรัฐบาลออกมาแล้ว แต่ประเด็นความไม่แน่นอนเรื่องเพดานหนี้สาธารณะจะยังคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ตลาดยังเป็นกังวลกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังคงสูงต่อเนื่อง หลังจากที่ดัชนี core PCE เดือนสิงหาคมออกมาสูงที่3.6% YoY ซึ่งเป็นไปตาม consensus

(0/+) นักลงทุนน่าจะยังคงติดตามสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย หลังจากที่ ศบค. ผ่อนคลายมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถ้าหากยอดผู้ติดเชื้อใหม่ทรงตัว หรือ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เราน่าจะเห็นสองหมุดหมายสำคัญเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน นั่นคือ การกลับมาเปิดโรงเรียนและการเปิดกรุงเทพรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 

แนะนำให้สะสมหุ้นต่อเนื่องในช่วงที่ตลาดผันผวนในระยะสั้น

ตามที่เราได้ระบุไว้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์เดือนตุลาคม เราแนะนำให้นักลงทุนเข้าซื้อสะสมในช่วงที่ตลาดผันผวนอยู่ในขณะนี้ เพราะเราเชื่อว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในระดับโลกจะลดลงในเร็ว ๆ นี้
ในขณะที่ประเด็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศจะยังคงดำเนินต่อไปใน 4Q64 เมื่อมีการเปิด
เศรษฐกิจไทยมากขึ้น โดยหุ้นหลักที่เราแนะนำยังคงเป็นหุ้นใหญ่ในธีม domestic และ reopening ซึ่งได้แก่ AOT*, BBL*, KBANK*, CPN*, MAJOR* และ SPA ส่วนหุ้นขนาดกลาง เราเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรแข็งแกร่งในปี 2565 อย่างเช่นอ ORI และ RBF