รีเฟล็กซ์ตรึงน้ำมันดีเซล กระทบหุ้น 4 ปั๊มรายใหญ่ไทย

รีเฟล็กซ์ตรึงน้ำมันดีเซล   กระทบหุ้น 4 ปั๊มรายใหญ่ไทย

การดำเนินการนโยบายทางราคาพลังงานในไทย ด้วยการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลถือว่าเป็นการแทรกแซงตลาดเพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนลดค่าครองชีพ และลดภาระต้นทุนภาคเอกชน หากแต่อีกด้านย่อมมีผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มปั๊มน้ำมันรายใหญ่ของไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้

สาเหตุในการเข้าแทรกแซงครั้งนี้มาจากราคาพลังงานโลกพร้อมใจกันปรับตัวขึ้นยกแผง ทั้งราคาน้ำมันดิบแตะ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลสูงสุดในรอบ 3 ปี ราคาถ่านหินที่พึ่งแตะ 230 ดอลลาร์ต่อตันสูงสุดในประวัติศาสตร์  ยิ่งราคา LNG ที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัจจุบันราคา SPOT อยู่ที่ 32-34  ดอลลาร์ ต่อล้านบีทียู  สอดคล้องกับราคาแก๊สธรรมชาติแตะ 6.82 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู   ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 7 ปี ตั้งแต่ปี ก.พ. 2557 หรือยุคก่อนที่สหรัฐจะสามารถผลิตน้ำมันได้จากหินน้ำมันได้ในปี 2551 ก็ไม่เคยมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก๊าซธรรมชาติ (ท่าเรือเฮนรี่)เคยปิดเหนือ 4 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูมาก่อน

การปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานในรอบนี้กลับไม่เป็นผลดีต่อนโยบายฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่เตรียมจะฟื้นตัวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จนทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากมีปัจจัยนอกเหนือฤดูกาลเข้ามาหนุนราคาพลังงาน เช่น “วิกฤติขาดแคลนพลังงานของจีน”   การกักตุนสินค้าน้ำมันในอังกฤษ  และ ความขัดแย้งของรัสเซียที่เป็นผู้ขายก๊าซรายใหญ่ของโลกกับยูเครน

 ปัจจัยดังกล่าวทำให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติล่าสุดอุ้มน้ำมันดีเซล ให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ผ่านแนวทางปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของดีเซล B7 จาก 1 บาท เหลือ 0.1 บาท มีผลให้ราคาลดลงทันทีลิตรละ 1 บาท  เพื่อกดราคา B7 ลงมาจากปัจจุบันเกิน 30 บาทต่อลิตรไปแล้ว

ปรับลดสัดส่วนผสมดีเซลจาก B10 และ B7 เป็น B6 ในช่วงระหว่างวันที่ 11-31 ต.ค.นี้ และลคค่าการตลาดดีเซลเหลือ 1.40 บาทต่อลิตร จาก 1.80 บาทต่อลิตร  รวมทั้งเตรียมเงินกองทุนน้ำมันราว 3 พันล้านบาท

อ่านข่าว : จับเทรนด์ "หุ้นพลังงาน" ขาขึ้น น้ำมัน -แก๊ซ-ถ่านหิน พุ่งไม่หยุด

 

โดยใช้เม็ดเงินจากกองทุนน้ำมันฯเข้ามาอุดหนุนประมาณ 2.08 บาทต่อลิตร  รวมระยะเวลา 21 วันใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯรวม ประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท   ส่วนราคาก๊าซ LNG ซึ่งใช้ในภาคครัวเรือนจะมีการอุดหนุนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนม.ค. 2565

มาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลบกระทบมายังธุรกิจปั๊มน้ำมันโดยตรง จากการลคค่าการตลาดดีเซลเหลือ 1.40 บาทต่อลิตร จาก 1.80 บาทต่อลิตร  หรือเป็นการปรับลดลง  28.57 %   ในธุรกิจดังกล่าวมีโครงสร้างรายได้และยอดขายที่สูงแต่อัตรากำไรอยู่ในระดับต่ำ จากภาวะความผันผวนราคาน้ำมัน  ภาษี  ค่าการตลาด  และต้นทุนอื่น จนทำรายใหญ่ทำรายได้ระดับแสนล้านบาทมีกำไรพันล้านบาท

ดังนั้นทำให้รายใหญ่ต่างกระจายรายได้ไปยังธุรกิจนอนออยล์มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด   ซึ่งในตลาดนี้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด หนีไม่พ้น บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR    ที่ 40.70 %   ถัดมาเบอร์ 2 ที่ก้าวกระโดด บริษัทพีทีจี  เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG  16.60 %    อันดับ 3 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ที่15.60 %   และ บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO ที่12 %

แทบทุกบริษัทได้เจอผลกระทบดังกล่าวถ้วนหน้าเนื่องจากตามโครงสร้างรายได้ธุรกิจน้ำมันยังเป็นสัดส่วนรายได้หลักมากกว่า  50 %  แต่สถานการณ์จะมีผลหนักหน่วงไม่เท่ากันเนื่องจาก มาตรการออกมาพุ่งเป้าไปที่กลุ่มน้ำมันดีเซล เป็นหลัก ทำให้หากรายไหนมีพอร์ตน้ำมันดีเซลมากที่สุดได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย

โดย PTG  นอกจากจะมีสัดส่วนรายได้ธุรกิจน้ำมันมากที่สุดใน 4 รายใหญ่แล้วที่ 96 %  กลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทขายในสัดส่วนที่มากที่สุด 72% เป็นน้ำมันดีเซล ส่วนที่เหลือ 28% เป็นน้ำมันเบนซิน   

รีเฟล็กซ์ตรึงน้ำมันดีเซล   กระทบหุ้น 4 ปั๊มรายใหญ่ไทย ส่วน OR  สัดส่วนรายได้ธุรกิจน้ำมันอยู่ที่ 91.2 % ,BCP อยู่ที่ 70 % เนื่องจากมีธุรกิจโรงกลั่นเป็นหลักและเร่งกระจายไปยังธุรกิจพลังงานสีเขียวมากขึ้น  และ ESSO  มีสัดส่วน 85 %  ของรายได้  

อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวเพียงช่วงต.ค. หากสถานการณ์น้ำมันดีขึ้นทำให้ผลกระทบจำกัด แต่หากมาตรการลากยาวไปถึงสิ้นปี 2564 ทำให้ไตรมาส 4ปี 2564 เจอผลกระทบด้านกำไรลดลงมากที่สุดอีกไตรมาสหนึ่ง