SAPPE ออกเครื่องดื่มกลุ่มวิตามิน-คลอโรฟิลส์ ตั้งเป้ายอดขายปีแรก 150 ล้าน
SAPPE เปิดตัวเซ็ปเป้บิวติ ดริ้งค์ซีรีส์ใหม่“หวานน้อย” 2 สูตร บิวติ อิมมู-ซีมีวิตามินซีสูง200% และ บิวติ บูสเตอร์ มีคลอโรฟิลล์สูง ชูเทรนด์เครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ ตั้งเป้ายอดขายมากกว่า150 ล้านบาทในปีแรกพร้อมวางจำหน่ายทั่วประเทศ ราคา 20 บาท
นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดเผยออกเครื่องดื่มซีรีส์ใหม่ที่เป็นสูตร“หวานน้อย” (Less Sweet)แต่ยังคงความอร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ2 สูตร คือ เครื่องดื่ม BeautiImmu-C (บิวติ อิมมู-ซี)มีเบต้ากลูแคน ซิงค์ และวิตามินซีสูง 200% และ Beauti Booster (บิวติ บูสเตอร์)มีคลอโรฟิลล์ซิงค์ วิตามินอี และวิตามินบี 5 ตั้งเป้ายอดขายมากกว่า150 ล้านบาทในปีแรกพร้อมวางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศ ราคา 20 บาท
ทั้ง 2 สูตรมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระและเสริมภูมิต้านทาน แคลอรี่ต่ำเพียง 30 กิโลแคลอรี่ หอม อร่อยดื่มแล้วสดชื่น สามารถดื่มได้ทุกวัน ถือเป็นตัวเลือกใหม่ที่เป็นมากกว่าน้ำดื่มวิตามินเพราะช่วยดูแลทั้งสุขภาพและความสวยงามได้ในคราวเดียวซึ่งคาดว่าจะทำให้ตลาดน้ำดื่มวิตามินคึกคักในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัวเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 วางจำหน่ายและชิมรสชาติใหม่ก่อนใครได้แล้ววันนี้ ที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศในราคาเพียง 20 บาท สั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ Line: @sappeonline และ Shopee: Sappe Official Storeหรือติดต่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Facebook: SappeBeauti Drink
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SAPPE กล่าวเพิ่มเติมว่า เซ็ปเป้จะไม่หยุดพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดี ออกสู่ตลาดเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้นที่ผ่านมาแบรนด์ เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมายาวนานเพราะเป็นแบรนด์แรกของไทยที่ชูจุดเด่นเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีทั้งความเร่งรีบวุ่นวาย ต้อง Multi-Tasking หรือทำภารกิจหลายอย่างพร้อมกัน มีเวลาจำกัดในการดูแลตัวเอง รวมทั้งภาวะโรคระบาด ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ มองหาผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่รวมคุณประโยชน์ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการรับประทานและหาซื้อง่าย ประกอบกับแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มของคนไทย เริ่มให้ความสนใจเครื่องดื่มที่หวานน้อยและไม่หวาน(น้ำดื่มวิตามิน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่เฉลี่ย4.97 ครั้ง เป็น5.1 ครั้งต่อปี ส่งผลให้เครื่องดื่มหวานน้อยหรือไม่หวานกลายสินค้าที่เป็นที่กลายเป็นเทรนด์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ