แม่ฟ้าหลวงเดินหน้า คาร์บอนเครดิตอีก 1.5 แสนไร่ สร้างรายได้ชุมชน 840 ล้าน
"แม่ฟ้าหลวง" เดินหน้าโครงการ“คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ” ผลิตคาร์บอนเครดิตป้อนภาคธุรกิจ ตั้งเป้า 64 - 65 ขยายพื้นที่อีก 1.5 แสนไร่ คาดกักเก็บคาร์บอนได้ 2.8 ล้านตัน สร้างรายได้ชุมชน 840 ล้านใน 20 ปี เตรียมจับมือเอกชน-เครือข่ายขยายไปยังพื้นที่่ป่าทั่วประเทศ
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า โครงการต้นแบบ “คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ” ผ่านกลไกการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นความริเริ่มของ ก.ล.ต. กับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในการผสานงานพัฒนาชนบทกับการรักษาป่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
โครงการนี้ดำเนินงานมาแล้ว 15 เดือนร่วมกับชุมชนที่รักษาป่า 16 แห่งของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพะเยา รวม 19,611 ไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์จำนวน 9,166 คน และได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ เป็นอย่างดีเนื่องจากลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเกิดผลดีต่อชุมชน ภาคเอกชน และประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมชุมชนที่ดูแลป่าชุมชนภายใต้ พ.ร.บ. ป่าชุมชน 2562 ให้มีอาชีพทางเลือกใหม่ และมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงจากการรักษาป่าให้สมบูรณ์ และคาดว่าจะมีปริมาณคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน 16 แห่งรวม 392,220 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลา 20 ปี
“ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ปีละสามร้อยกว่าล้านตัน จึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกกำลังจะกลายเป็นกติกาหนึ่งในการค้าของโลก ซึ่งถ้าเราไม่เร่งแก้ไข ก็จะถูกกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้”
ป่าชุมชนแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และผู้ประเมินภายนอกที่มีความเป็นอิสระ
“ชุมชนเหล่านี้ได้รับความรู้ในการดูแลป่าเพื่อประเมินเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตไว้แลกเปลี่ยนในอนาคต รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมและริเริ่มขึ้น ทำให้การดูแลป่าช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วย ส่วนภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมก็มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพคน สนับสนุนให้ชุมชนรักษาพื้นที่ป่า และได้คาร์บอนเครดิตไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”
โครงการต้นแบบในป่าชุมชนทั้งสี่จังหวัดได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 2) บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 3) บริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด 4) บริษัททีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน) 5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 6) บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด และ 7) บริษัทพีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด รวมเป็นวงเงินประมาณ 43 ล้านบาทสำหรับระยะเวลาหกปีเพื่อวางรากฐานให้กับชุมชน
โครงการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางภูมิสารสนเทศ (GIS) และภาคสนาม วางแปลงตัวอย่าง T-VER เพื่อประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต จัดอบรมให้ชุมชน และอีกส่วนหนึ่งสำหรับการจัดตั้งกองทุนดูแลป่าและกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจุบันชุมชนได้รวมกลุ่มอาชีพใหม่ขึ้นแล้วห้ากลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตภาชนะจากใบไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และกลุ่มตลาดกลางสินค้าชุมชน
“ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ปีละสามร้อยกว่าล้านตัน จึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกกำลังจะกลายเป็นกติกาหนึ่งในการค้าของโลก ซึ่งถ้าเราไม่เร่งแก้ไข ก็จะถูกกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้”
ป่าชุมชนแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และผู้ประเมินภายนอกที่มีความเป็นอิสระ
“ชุมชนเหล่านี้ได้รับความรู้ในการดูแลป่าเพื่อประเมินเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตไว้แลกเปลี่ยนในอนาคต รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมและริเริ่มขึ้น ทำให้การดูแลป่าช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วย ส่วนภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมก็มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพคน สนับสนุนให้ชุมชนรักษาพื้นที่ป่า และได้คาร์บอนเครดิตไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”
โครงการต้นแบบในป่าชุมชนทั้งสี่จังหวัดได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 2) บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 3) บริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด 4) บริษัททีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน) 5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 6) บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด และ 7) บริษัทพีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด รวมเป็นวงเงินประมาณ 43 ล้านบาทสำหรับระยะเวลาหกปีเพื่อวางรากฐานให้กับชุมชน
โครงการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางภูมิสารสนเทศ (GIS) และภาคสนาม วางแปลงตัวอย่าง T-VER เพื่อประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต จัดอบรมให้ชุมชน และอีกส่วนหนึ่งสำหรับการจัดตั้งกองทุนดูแลป่าและกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจุบันชุมชนได้รวมกลุ่มอาชีพใหม่ขึ้นแล้วห้ากลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตภาชนะจากใบไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และกลุ่มตลาดกลางสินค้าชุมชน
สืบเนื่องจากที่ประชาคมโลกเริ่มกำหนดเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นกติกาการค้าของโลก จึงมีการคาดการณ์ว่าราคาคาร์บอนเครดิตจะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกสิบปี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงขยายโครงการต้นแบบสู่การดำเนินงานอย่างจริงจัง เข้าร่วมกับป่าชุมชนอีก 33 แห่ง ประมาณ 32,500 ไร่ในจังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร อุทัยธานี และกระบี่ระหว่างปี 2564 – 2565 และคาดว่าจะครอบคลุมพื้นที่ป่าชุมชน 150,000 ไร่ในปี 2566 ทั้งยังประเมินว่าป่าชุมชนดังกล่าวสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและคิดเป็นคาร์บอนเครดิตมากถึงประมาณ 2.8 ล้านตัน และสร้างรายได้ให้ชุมชนรวม 840 ล้านบาทในระยะเวลา 20 ปี
นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการขยายกิจกรรมอนุรักษ์ป่าเพื่อคาร์บอนเครดิตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ร่วมกับหน่วยงานหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
“กระทรวงทรัพยากรฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและมีความเห็นตรงกัน ดังนั้นนอกจากการทำงานร่วมกับชุมชนแล้ว เราก็จะร่วมมือกับทางกระทรวงเพื่อปรับรูปแบบงานเข้าสู่พื้นที่ภายใต้การดูแลของกระทรวง เพื่อให้งานคาร์บอนเครดิตจากป่ากลายเป็นระบบที่เข้มแข็ง”
อย่างไรก็ตาม หม่อมหลวงดิศปนัดดากล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคประชาชนที่ดูแลรักษาป่าชุมชนด้วย
“ไมค์ เบอเนอร์ส ลี ผู้เชี่ยวชาญก๊าซเรือนกระจกของโลกคำนวณไว้ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือคนละหนึ่งชั่วโมงต่อวันผลิตคาร์บอนปีละ 63 กิโลกรัม เมื่อนับจำนวนโทรศัพท์ทั้งหมดในโลกและระยะเวลาการใช้งานในแต่ละวันก็ถือเป็นปริมาณมหาศาล เราทุกคนมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน”
หน่วยงานและบุคคลที่สนใจสนับสนุนโครงการ “คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ” สามารถร่วมสมทบทุนดูแลป่าและชุมชนได้ในอัตรา 2,500 บาทต่อไร่ (ระยะเวลาโครงการ 6 ปี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล: [email protected]