ส่องความพร้อม Bangkok Sandbox รับนักท่องเที่ยว 1 พ.ย.
กทม. พร้อมเปิดกรุง 1 พ.ย. ชูโมเดล Bangkok Sandbox รับนักท่องเที่ยว หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 คลอบคลุมคนเมืองกว่า 70 %
นับถอยหลังไทมไลน์เปิดประเทศ 1 พ.ย. 64 ตามที่ พล.อ.ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศไว้ โดยนักท่องเที่ยวที่มาไม่ต้องกักตัวสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดส และนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ การเปิดเมืองครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญ คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งกรุงเทพฯถือเป็น 1 ในเมืองหลักการท่องเที่ยวของไทย ที่จะเปิดพร้อมกับอีก 15 จังหวัดในพื้นที่ที่มีความพร้อม
โดยกรุงเทพฯ ถือเป็นศูนย์กลางทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การเปิดเมืองเพื่อรับนักท่องเที่ยวในขณะที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งแผนการรองรับนักท่องเที่ยว มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดจึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมไว้ โดยกทม.อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข
ก่อนหน้านี้พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกมาเน้นย้ำในเรื่องของความปลอดภัย หากเปิดกทม.ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนได้ 70 % หากประชาชนในเมืองหลวงฉีดวัคซีนครบตามเป้าหมายก็สามารถเปิดเมืองได้
ล่าสุดโฆษก กทม. ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า ปัจจุบันประชากรใน กทม.ฉีดวัคซีนเข็ม 2 แล้วเกิน 70% โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ กทม.ที่มากถึง 7.7 ล้านคน ทั้งนี้มีประชากรของ กทม.ที่ได้ฉีดวัคซีนเข็ม 1 แล้วกว่า 8,132826 ราย และมีผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว 5,437,553 ราย คิดเป็น 70.63 % ของประชากรของ กทม. โดยการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรได้เกิน 70% เป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อป้องกันความรุนแรงจากโควิด-19 และเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามายัง กทม.
จากข้อมูลของโฆษก กทม.แสดงให้เห็นว่า ประชาชนในเมืองหลวงฉีดวัคซีนเกินเป้าหมายที่วางไว้70 % แล้ว และพร้อมที่จะเปิดเมือง ซึ่งสุดภาคเอกชน โดยหอการค้าไทยได้มีการร่วมประชุมกับ กทม.และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กทม .โดยใช้แนวทาง Bangkok Sandbox โดยใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” คือต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR จากประเทศต้นทางและถูกตรวจหาเชื้อในประเทศอีก 3 ครั้ง และต้องเข้าพักในโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA+ เท่านั้น
โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเขตไหนก็ได้ภายในกรุงเทพฯ แต่ต้องกลับมานอนที่โรงแรม เมื่ออยู่กรุงเทพฯครบ 14 วันถึงจะเดินทางไปเที่ยวพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทยได้ หรืออาจพำนักในกรุงเทพฯครบ 7 วันแรก และใน 7 วันหลัง สามารถไปเที่ยวพื้นที่นำร่องอื่นๆ ในอีก 8 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต จ.สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) กระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง ไร่เล) พังงา (เขาหลัก เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่)
นอกจากนี้ทางกทม.และภาคเอกชนยังจัดทำแนวทาง Standard Operation Procedure (SOP) แบ่งออกเป็นมาตรฐาน 11 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานในการรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ/ดอนเมือง มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางจากสนามบินเข้าที่พักโดยไม่แวะพักระหว่างทาง มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางถึงโรงแรม ที่พัก หรือโฮมสเตย์ มาตรฐานการท่องเที่ยวทางน้ำและการเดินเรือ
อ่านข่าว : เตรียม "เปิดประเทศ" เช็คด่วน กพท.ประกาศสำคัญ เงื่อนไข-เกณฑ์บินเข้าออกไทย
มาตรฐานสำหรับมัคคุเทศก์และผู้ช่วยมัคคุเทศก์ มาตรฐานการจัดการของเสียและขยะต่าง ๆ มาตรฐานสำหรับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มาตรฐานสำหรับการบริการสปาและนวดเพื่อสุขภาพ มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวชุมชน มาตรฐานการเดินทางท่องเที่ยวภายในกรุงเทพมหานคร และ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA/SHA+
ด้านภาคเอกชนโดยหอการค้าไทย จะขยายผลโครงการ“ฮักไทย (HUG THAIS)”ได้มีการนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต มาขยายผลกับกรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ “ฮักไทย ฮักกรุงเทพ (HUG THAIS HUG BANGKOK)” โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยทำให้เกิดบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยในครึ่งหลังของปี 64 ภายใต้การส่งเสริมการกิน – เที่ยว – ใช้ของไทย โดยจะร่วมกับ ททท. ผู้ประกอบการร้านค้า และบริการในกรุงเทพ จัดโปรโมชั่นพิเศษขานรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
เมื่อดูความพร้อมของกทม.ที่จะเปิดเมืองก็ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดวัคซีนให้กับประชากรเมืองหลวงได้เกินเป้าแล้ว 70 % สิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไปคือมาตรการการควบคุมโควิด ซึ่งต้องเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและเข้มงวดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
กรุงเทพฯ ถือเป็น เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งหากการเปิดกรุงเทพฯครั้งนี้สำเร็จก็จะเป็นการปลุกเศรษฐกิจเมืองหลวงของประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้งเพราะทำให้ธุรกิจในเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร สถานประกอบการ สถานบันเทิง ได้กลับมาเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวอีกครั้งหลังจากถูกปิดไปจากผลกระทบโควิด