ปีทองหุ้นโบรกเกอร์โกยกำไร นักลงทุนพุ่ง-มูลค่าซื้อขายคึกคัก
ปีทองติดๆกันสำหรับธุรกิจหลักทรัพย์เลยก็ว่าได้ ตั้งแต่ 2563-2564 เมื่อปริมาณการซื้อขายและตัวเลขจำนวนผู้ลงทุนหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 และยังสวนกระแสธุรกิจอื่นที่กำไรชะลอจนขาดทุนไปเลยก็มี แต่ใช้ไม่ได้กับธุรกิจโบรกเกอร์
ตัวเลขล่าสุดสิ้นเดือน ก.ย. 2564 ตลาดหุ้นไทยมีจำนวนนักลงทุนอยู่ที่ 2.95 ล้านราย และเป็นการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น 4.95 ล้านบัญชี (รวมบัญชีชื่อซ้ำ) จากปี 2563 จำนวนนักลงทุนอยู่ที่ 2.15 ล้านราย และเป็นการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น 3.15 ล้านบัญชี เป็นการเปิดบัญชีใหม่ระดับล้านบัญชีต่อปีครั้งแรกจากที่ผ่านมาอยู่ระดับแสนบัญชีต่อปี
สอดคล้องกับปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยปี 2564 เฉลี่ยมาอยู่ที่ระดับแสนล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการซื้อขายรายเดือนในครึ่งปีแรก (ม.ค.- พ.ค. ) ที่ไม่ต่ำกว่า 9 หมื่นล้านบาท และยังสามารถทำสถิติสูงสุดที่ 1.4 แสนล้านบาท ในช่วงเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่การซื้อขายในช่วงครึ่งปีหลังจะลดลงในบ้างเดือนเฉลี่ย 80,000 ล้านบาทต่อวัน แต่ถือว่ายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้มีมูลค่าการซื้อขายระดับ 60,000-50,000 ล้านบาทต่อวัน
รวมทั้งยังดันกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นจากที่ซบเซาไปนาน จนทำให้ตัวเลขสัดส่วนนักลงทุนราย่อยกลับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60 % จากปี 2562 อยู่ที่ 33 % ลดลงอย่างต่อเนื่องที่เคยขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 60 % ในปี 2557
เมื่อวอลลุ่มปรับตัวสูงขึ้นมีฐานนักลงทุนในตลาดจำนวนมากขึ้น ทำให้วอลลุ่มของแต่ละโบรกเกอร์ต่างขยับขึ้นไม่น้อยยิ่งในกลุ่ม 5 อันดับแรกที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุด หรือ มาร์เก็ตแชร์ ต่างมีตัวเลขปรับตัวขึ้นทุกโบรก สอดคล้องกับรายได้และกำไรหุ้นในกลุ่มโบรกเกอร์ที่ปรับตัวขึ้นเช่นกัน
ส่องกำไรปี 2564 ที่มีการประกาศออกมาแล้ว 2 โบรกเกอร์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีรายการกำไรไตรมาส 3 ออกมา 183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 169 % และในรอบ 9 เดือนมีกำไร 631 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 103 % และบล.เอเชีย พลัส (ASP) มีรายการกำไรไตรมาส 3 ออกมา 196 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 83 % และในรอบ 9 เดือนมีกำไร 777 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1 %
รายได้หลักที่หนุนกำไรทำให้เพิ่มทั้ง 2โบรก คือรายได้ค่านายหน่าซื้อขายทั้งหุ้น และ อนุพันธุ์ รวมไปไปถึง รายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งค่านายหน้าซื้อขายถือว่าเป็นรายได้ของธุรกิจหลักทรัพย์มากกว่า 80 % ของรายได้ทั้งหมด ทำให้มูลค่าการซื้อขายมีส่วนสำคัญกับรายได้ของธุรกิจดังกล่าว
ดังนั้นในช่วง 2 ปี นี้ (2563-2564) จึงกลายเป็นปีที่สร้างความคึกคักให้กลับมายังธุรกิจโบรกเกอร์อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามธุรกิจดังกล่าวยังต้องเผชิญการปรับตัวไม่น้อยไปกว่าภาคการเงินอื่นๆ จากเทคโนโลยีที่เข้าสู่ยุคที่ 3 การมีบล็อกเชน (Blockchain) คริปโตเคอเรนซี่
หรือ NFC Non-Fungible Token หรือ NFT คือโทเคนที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ ได้ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับภาคการเงินและธุรกิจหลักทรัพย์ในฐานะตัวกลางเหมือนกับธุรกิจธนาคารที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน
นาทีนี้การปรับตัวจากธุรกิจโบรกเกอร์ก้าวเข้าสู่สินทรัพย์ดิจิทัล อย่างที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ส่ง บล.ไทยพาณิชย์ เข้าซื้อ BITKUB สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่าถึงเวลามูฟ ครั้งใหญ่ของธุรกิจการเงินกันแล้ว !!