กังวลเงินเฟ้อ (ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564)
ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index ปิดลบ 1 จุด ดัชนีปรับลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศเนื่องจากนักลงทุนยังกังวลกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือนต.ค.
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
คาด SET อ่อนตัวแนวรับ 1,620 - 1,625 จุด จากความกังวลตัวเลข CPI สหรัฐ (วัดเงินเฟ้อ) เดือนต.ค.พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปีโดย +6.2% YoY ซึ่งอาจเร่งให้ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงหลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าจะได้แรงซื้อจากหุ้นเปิดเมือง หุ้นงบ 3Q21 เติบโตช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
กลุ่มเปิดเมือง AOT AAV BA MINT KBANK SCB CPN CRC HMPRO CPALL AMATA WHA BTS BEM VGI BH BDMS
กลุ่มเดินเรือ PSL TTA ค่าระวางเรือมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น
หุ้นแนะนำวันนี้
BDMS (24.1026แจ้งกำไรสุทธิ 3Q21 ที่ 2.5 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 40%qoq และ 73%yoy ดีกว่าที่เราคาดไว้ที่ 2.4 พันล้านบาท แนวโน้ม 4Q21 และปีหน้าคาดกำไรสุทธิฟื้นตัวต่อเนื่องรับอานิสงส์ภาครัฐเปิดประเทศหนุนจำนวนผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น
BEM (ปิด 9.1 ซื้อ/เป้า 10 บาท) ภาครัฐเปิดประเทศส่งผลบวกโดยตรงต่อจำนวนผู้โดยสารที่เข้าใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงจำนวนรถยนต์ที่เข้าใช้ทางด่วนเพิ่มขึ้น และล่าสุด รมว.คมนาคมมีแนวคิดจะก่อสร้างทางด่วนสองชั้น (Double Dek) เพื่อแก้ปัญหารถติดในเมืองเป็น Sentiment บวกโดยตรงกับ BEM
บทวิเคราะห์วันนี้
QH, BDMS, ICHI, OSP, RS, BANPU, BPP, PTTGC, KEX, EPG
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) 24030ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 240 จุด (-0.66%) ปิดที่ระดับ 36,080 จุด กังวลอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นจะกดดันให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.2% สูงสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.6% จาก 4% ในเดือน ก.ย.
(-) WTI 2.81$ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2.81$ (-3.3%) ปิดที่ 81.34$/bbl หลังจาก EIA รายงานสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน นอกจากนี้ตลาดยังกังวลความไม่แน่นอนที่สหรัฐจะออกมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำมันแพง โดยเฉพาะการระบายน้ำมันดิบของจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์
(+/-) วานนี้ที่ประชุม กนง.มีมติเป็นเอกฉันฑ์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ตามเดิม ประเมิน ศก.ไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาสที่ 3/21 การเปิดประเทศ และเร่งฉีดวัคซีนจะทำให้ ศก. ค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ภาพรวมยังมีความเปราะบางจากไวรัส Covid-19, การสนับสนุนของภาครัฐ และต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น