GFPT - ปัจจัยลบรุมเร้า (12 พฤศจิกายน 2564)
GFPT ขาดทุนสุทธิ 87 ลบ. ใน 3Q21 จากขาดทุนสุทธิ 342 ลบ.ใน 3Q20 และจากกำไรสุทธิ 182 ลบ.ใน 2Q21 เราคาดว่าผลประกอบการใน 4Q21F และ 1H22F จะยังคงถูกบีบจาก
(i) อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลง และ (ii) ต้นทุน logistic ที่สูงขึ้น เราปรับลดประมาณการกำไรปี FY21F และ FY22F ลง 65% และ 23% เหลือ 253 ล้านบาท แ ละ 972 ล้านบาท ตามลำดับ เรายังคงคำแนะนำถือ และปรับราคาเป้าหมายใหม่เป็น 14 บาท อิงจาก PER ปี FY22F ที่ 14x
ผลประกอบการ 3Q21 แย่กว่าที่คาดไว้
ขาดทุนสุทธิ 87 ล้านบาทใน 3Q21 จากขาดทุนสุทธิ 342 ล้านบาทใน 3Q20 และจากกำไรสุทธิ 182 ล้านบาทใน 2Q21 แย่กว่าประมาณการของเราที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท เนื่องจาก (1) อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 5.4% ต่ำกว่าสมมติฐานของเราที่ 8.5% และ (2) มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ 61 ล้านบาท
ผลประกอบการอาจจะอ่อนแอลงต่อเนื่องไปจนถึง 2Q22F
ราคาไก่ในช่วงนี้ขยับสูงขึ้นอย่างมากมาอยู่ที่ 36 บาท/กก. จาก 30 บาท/กก. ในเดือนตุลาคม ตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้น แต่เราคาดว่าผลประกอบการจะยังคงถูกบีบจาก (1) อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และ การใช้มาตรการป้องกัน COVID-19 ที่โรงงาน (ได้แก่ การเว้นระยะทางสังคม, การกำจัดเชื้อโรคระหว่างเปลี่ยนกะ) และ (2) ต้นทุน logistic แพงขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลก และการจราจรติดขัดในเส้นทางหลักของการขนส่งทางเรือ ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงก่อให้เกิดปัญหาคอขวดใน Supply chain ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน และส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง ในขณะเดียวกัน GFPT จะได้อานิสงส์จำกัดจากการที่ต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง เพราะราคากากถั่วเหลือง และข้าวโพดน่าจะลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน และบริษัทยังมีสต็อกเก่าที่ใช้ไปได้อีก 3-4 เดือน
คงคำแนะนำถือ และปรับลดราคาเป้าหมายเหลือ 10.90 บาท (เดิม 14.00 บาท)
เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี FY21F และ FY22F ลง 65% และ 23% เหลือ 253 ล้านบาท และ 972 ล้านบาทตามลำดับ หลังจากที่ปรับลดสมมติฐานอัตราการเติบโตของยอดขายปี FY22F จาก 11.5% เหลือ 8.3% และปรับลดอัตรากำไรขั้นต้นปี FY21F และ FY22F ลงจาก 12% และ 15% เหลือ 8% และ 13% ตามลำดับหลังจากที่ปรับสมมติฐานต้นทุนอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น เรายังคงคำแนะนำถือ GFPT โดยปรับลดราคาเป้าหมายลงเหลือ 10.90 บาท อิงจาก PER ปี FY22F ที่ 14x