‘สภาพัฒน์’ ฝากการบ้าน ‘รัฐบาล’ 7 ประเด็นบริหารเศรษฐกิจไทยปี 65
สภาพัฒน์จัดทำ 7 ข้อเสนอบริหารเศรษฐกิจมหภาคส่งถึงรัฐบาล แนะควบคุมการระบาดให้ได้โดยเร็ว ดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ติดตามมาตรการที่ออกไปแล้วต่อเนื่อง เน้นเปิดตลาดการส่งออกเข้าร่วมข้อตกลงการค้าระหว่างประเทส รวมทั้ง CPTPP
เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นหลังจากในปี 2563 และ 2564 เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอกทำให้ในปี 2563 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจติดลบถึง 6.1% ขณะที่ในปี 2564 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 1.2% พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าหากไม่มีการแพร่ระบาดที่รุนแรงเข้ามาอีกเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ 3.5 - 4.5% (ค่ากลางที่ 4%)
โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 จะมีความต่อเนื่องจากการฟื้นตัวในปี 2564 ที่ฐานต่ำ การแพร่ระบาดที่คลี่คลาย และการกระจายวัคซีนที่มากขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้เศรษฐกิจยังได้รับการฟื้นตัวของภาคบริการและภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ได้ รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ปัญหาของปัญหาในด้านห่วงโซ่การผลิต และโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และปัจจัยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์” เปิดเผยว่า สภาพัฒน์ได้จัดทำข้อเสนอประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2565 ให้รัฐบาลนำไปเป็นแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจในปี 2565 ที่ต้องให้ความสำคัญ 7 ข้อ ได้แก่
1.การป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด ไม่นำไปสู่การกลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง โดยให้ความสำคัญกับ
1)การดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการควบคุมและกำกับติดตามอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ COVID-free setting สำหรับองค์กร หน่วยงาน และบุคคล
2)การเร่งรัดกระจายวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการและสำรองไว้พร้อมใช้หากมีความจำเป็น
3)การดูแลควบการแพร่ระบาดของโรคและการลักลอบเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย
4)การเตรียมความพร้อมของแผนการดำเนินงานการระบาดรุนแรงอีกครั้ง
2.สนับสนุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบกลับมาฟื้นตัวได้ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวจากปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาด หาสภาพคล่องและภาระหนี้สิน โดยให้ความสำคัญกับ
1) การเร่งรัติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านกการเงิน และการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณามาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึง เช่น การปรับเงื่อนไขในมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การเร่งรัดใช้ สถาบันการเงินช่วยเหลือต้านสภาพคล่องให้รวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น และการพิจารณาวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในระยะต่อไป
2) การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะกำลังแรงงานผ่านการยกระดับ (Upskil) และปรับศักยภาพ (Reskil) เพื่อช่วยเหลือแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่ รวมทั้งแรงานในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างในระยะต่อไป
3)การประชาสัมพันธ์มาตรการของภาครัฐให้ประชาชนและธุรกิจมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
3.การรักษาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนช่วย กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ
1)การติดตามและประเมินผลมาตรการต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
2)การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน เพื่อไม่ให้เป็นข้อจำกัดของการขยายตัว โดยผลักดันมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้สอดคล้องกับคาดการณ์รายได้และปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้มีการสร้างแรงจูงใจในการรวมหนี้ รวมทั้งกาดำเนินมาตรกรเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินด้านการศึกษา การเช่าซื้อ และหนี้สินที่เกิดจากการบริโภค
3) การดูแลรายได้ของเกษตรกรโดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
4.การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิต โดยให้ความสำคัญกับ
1)การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ
2)การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
3)การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์โดยการบริหารจัดการเรื่องการขนถ่ายสินค้าระหว่างทำเรือกับจุดรับส่งสินค้าเพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจา ตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
4)การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของตันทุนการผลิตสินค้า
5.การส่งเสริมการลงทุนของภาคอกชน โดยให้ความสำคัญกับ
1) การเร่งสร้างความชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดในประเทศ
2)การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3)การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต
4)การดำเนินมาตรการเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะในการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนโครงการเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาค
5)การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
6)การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่และนวัตกรรมเข้มข้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่
6.การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย
1)การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 กรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่า 70% ของงบประมาณทั้งหมด การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดๆ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาทในส่วนที่เหลือ
2)การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการในโครงการสำคัญที่ได้มีการอนุมัตีให้ดำเนินการแล้ว เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟซานเมืองสายสีแดง เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตไปในเขตชานเมืองและภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งมุ่งเน้นโครงการลงทุนสำคัญต้านพลังงานโดยเฉพาะการลงทุนโครงข่ายส่ายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานสะอาด เป็นต้น
7.การติดตามและเฝ้าระวังความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะสร้างแรงกดดันและส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทย และการดูแลเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อไมให้เป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบาง