บจ.ประสานเสียง เดินหน้ายึด ‘หลักธรรมาภิบาล’ หวังสร้างมูลค่าธุรกิจระยะยาว
บจ.เดินหน้ายึดหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ESG ด้านปตท. ชี้การมีธรรมภิบาลต้องตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ขณะที่ซีพี ออลล์ ชู 3มิชชั่นที่จับต้องได้ หนุนความยั่งยืน ขณะที่ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ ย้ำนำไปใช้ในการธุรกิจ หวังสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน
นายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวในหัวข้อ กลไกธรรมาภิบาลเพื่อการสร้างมูลค่าของธุรกิจระยะยาว ในงาน ก.ล.ต.ผนึก 14 ภาคี สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องไกลตัว กับแนวทางขับเคลื่อนธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ว่า กลไกลของการมีธรรมาภิบาล นั้น หากเปรียบเทียบก็เหมือนการดูแลสุขภาพ ทั้งการดูแลองค์กร ร่วมกับคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ stakeholder ต่างๆด้วย
ซึ่งหลักของความยั่งยืน สิ่งสำคัญ ด้านแรกคือ ความเข้าใจ ไม่ใช่การยึดถึงแก้การปฏิบัติตามกฏระเบียนเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความคาดหวังของ Staceholder ด้วย เพราะ ESG ทำคนเดียวไม่ได้ ดังนั้นต้องเข้าใจบริบทก่อน ว่าความยั่งยืนทำคนเดียวไม่ได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ต้องทำให้เกิดวามยั่งยืนด้วย การทำงานขององค์กรต่างๆก็ต้องสะท้อนมุมมองตัวนี้มากขึ้น
ถัดมาองค์กร ต้องเข้าถึง ให้มองด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนให้เป็นบริบทของประเทศด้วย อีกด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนา หรือสิทธิมนุษยชน หรือ การคำนึงถึง ESG ทำไม่ได้ หากไม่แก้ปัญหาคอรับชั่น ซึ่งถือเป็นกลไกการสร้างธรรมมาภิบาล
นอกจากนี้ การคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ จะทำเฉพาะองค์กรอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องชวนซับพลายเชนให้คำนึงเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะหากองค์กรสะอาดแต่ซัพพลายเชนไม่สะอาด ก็อาจไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
นายชยากร เลี้ยงรื่นรมย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับดูแลและธรรมาภิบาลองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) PTT กล่าวว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือดูแลด้านธรรมาภิบาล เราต้องมุ่งตอบสนองผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ต้องบาลานซ์สิ่งเหล่านี้ได้ เพราะคนมีส่วนได้ส่วนเสียจากที่เกิดจากองค์กรมีหลายกลุ่ม
ดังนั้น ปตท.ต้องบาลานซ์ ความคาดหวังรวมถึงสังคม ว่าสิ่งที่องค์กรทำมีผลกระทบหรือไม่ ลูกค้าได้สินค้าที่ดี คุ้มค่าหรือไม่ ผู้ถือหุ้นก็ต้องมีผลตอบแทนที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปตท.ให้ความสำคัญ
ซึ่งการดูแลธรรมมาภิบาลหรือกระบวนการบริหารจัดการ องค์กรเพื่อสตอบสนองผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งในกลไกหลักๆของปลตท.
โดยปตท.ได้กำหนดทิศทางองค์กร ทั้งกรรมการ พนักงาน โครงสร้างต่างๆ ให้สามารถดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และสุดท้ายพนักงานก็ต้องนำหลักการที่วางไว้ไปปฏิบัติ ซึ่งเราต้องมีการกำกับด้วยว่าการดำเนินการด้านต่างๆ เป็นไปตามคาดหวัง ตามเป้าหมายหรือไม่ ในการตอบสนองความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ปตท.ทำเต็มที่ และยึดมั่นหลักการนี้มากยาวนาน
นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่ดูแลองค์กร พนักงานเท่านั้น แต่ยังร่วมกับคู่ค้าพัฒนาด้าน ESG ที่ดี เพื่อให้การทำธุรกิจมีความยั่งยืนมากขึ้น เพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องสร้างสังคมเราให้แข็งแกร่ง ยั่งยืนไปด้วยกันด้วย
การดูแลเกี่ยวกับความยั่งยืน เราปลูกฝังลงไปทุกกระบวนการทำงาน ดังนั้นผลลัพท์ที่ออกมา ตั้งแต่วางแผน วางกลยุทธ์ การกำหนดทิศทาง กระบวนการลงทุน ต่างๆเราใช้หลักการกำกับองค์กรที่ดี ทำให้เราเห็นว่าองค์กรเราสามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำพาองค์กรเผชิญความท้าทายต่างๆและสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
ด้านนาย เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาต รองกรรมการด้านการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือCPALL กล่าวว่า การสร้างมูลค่า เราต้องนำเอาเข้าไปในการทำธุรกิจจริงๆให้สามารถจับต้องได้ อย่าง CPALL เรามี Mission คือปารถนารอยยิ้มจากลูกค้า จากทีมงาน และเน้นที่คน เราต้องทำให้คนเกิด ฟู้ดโซไซตี้ นอกจากเกิดประโยชน์กับประชาชนแล้ว เชื่อว่าทุกอย่างจะมีผลลัพท์ที่ดีกลับมาที่บริษัทเอง
อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงการสร้างธรรมาภิบาลที่ดี มองว่ามี 3สิ่งที่จับต้องได้ ด้านแรก การสร้างธรรมาภิบาล โดยทำอย่างไรให้แรงบันดาลใจทั้งหมดเกิดที่พลังงานทุกคน ประชาชน ขณะเดียวกันเราต้องอยู่ในบริบทของ Change Agent หรือเป็น ผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
ถัดมาคือ เรามีสโลแกนว่า giving and caring การให้และการดูแล เราเป็นองค์กรที่ให้โอกาสทั้งเอสเอ็มอี กลุ่มเปราะบาง กลุ่มด้อยโอกาส หนึ่งปีบริษัทได้ช่วยคนกลุ่มนี้ได้กว่า 2แสนคน
สุดท้ายคือการให้ คุณภาพชีวิต เพราะเทรนด์ผู้บริโภค วิ่งเข้ามา ในด้าน health and wellness.ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาสินค้าบริการภายใต้แบรนด์ซีพีออลล์เพื่อนำสิ่งเหล่านี้สู่สังคม
และด้านสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายของเราคือ 7 Go Green Mission 2021 เช่นการลดถุงพลาสติก เพื่อนำเงินไปบริจาค สิ่งเหล่านี้เกิดผลที่ดีขึ้นจิรงๆ ซึ่ง 3 สิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่จับต้องได้
นายปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนฝั่งภูมิภาคเอเซีย บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ไทยยูเนียนกรุ๊ป กล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่องค์กรให้ความสำคัญมาก คือความโปร่งใส่ การเปิดเผยข้อมูล ที่นำมาใช้ทำธุรกิจในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่โปร่งใสเฉพาะองค์กรหรือธุรกิจเราเท่านั้น แต่ต้องทำให้เกิดห่วงโซ่ด้วย รวมไปถึง การคำนึงถึง ความถูกต้องแม่นยำ ที่นำมาเป็นหลักการในการทำธุรกิจ ที่มีการระบุรายละเอียดต่างๆชัดเจน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้เกิดความยั่งยืน
นางศรุดา ศิริภัทรปรีชา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์คลาสสิกครบวงจร 139 ทั่วโลก ดังนั้นการคำนึงถึง ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งด้านประเด็นสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ
และนำไปเป็นกระบวนการในการทำธุรกิจ ทั้งในด้านการจัดการ การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ และการสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ ที่จะทำให้เกิดผลตอบแทนที่ดีอย่างยั่งยืนในระยะยาว
ซึ่งการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการคำนึงถึง สิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี ความปลอดภัยในการทำงานต่าง โดยมีการกำหนดขอบเขตผลกระทบชัดเจน เกี่ยวกับด้านต่างๆเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนให้เกิดขึ้น