3 หุ้นบริหารหนี้กระแสแรง รายใหญ่ร่วมทุน-เข้าสู่ดิจิทัล
ปัญหาหนี้ยังคงเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่สร้างความกังวลใจให้กับสถาบันการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากผลกระทบโควิด ทำให้ต้องออกมามาตรการมาช่วยเหลือลูกหนี้ในตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
รวมไปถึงการเปิดทางให้ ธุรกิจบริหารหนี้เสีย หรือ AMC (Asset Management Companies) จากที่ถูกจำกัด เช่น รับโอน หรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินได้เท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2565
ธุรกิจ AMC เฉิดฉายในตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเมื่อตัวเลขกำไรทุบสถิตินิวไฮเป็นว่าเล่น จนกลายเป็นหุ้นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เพราะเป็นธุรกิจที่สถาบันการเงินไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะต้องแบกรับความเสี่ยงที่สูงจึงมีการตัดขายหนี้เสีย (NPL) ออกไป
หุ้น 3 บริษัทที่ถือว่าเป็นผู้นำในตลาดจากพอร์ตหนี้ที่บริหารในมือ รายแรก บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM งวด 9 เดือนแรกการเรียกเก็บหนี้ยังเป็นไปตามเป้าที่ 1.1 หมื่นล้านบาท จากการฟื้นตัวจากเงินรอรับจากกรมบังคับคดี หลังจากกลับมาดำเนินการขายทอดตลาดตามปกติ
ปัจจุบันพอร์ต NPLs อยู่ที่ 84,018 ล้านบาท จากต้นทุน 81,506 ล้านบาท คิดเป็นภาระหนี้รวม 484,881 ล้านบาท มูลค่าหลักประกัน 186,523 ล้านบาท และยังมีที่อยู่ระหว่างการเจรจาและอยู่กระบวนการทางคดี จำนวน 76,052 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ BAM ตั้งเป้าหมายเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาทในปีนี้และจะซื้อเพิ่มอีกปีละ 5-10% ต่อปีใน 2565-2566 จากเงินสดในมือ 4.5 พันล้านบาทและจะมีเงินสดจากการติดตามหนี้ได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทใน ครึ่งปีหลัง 2564 ซึ่งบริษัทจะใช้เงินสดก้อนนี้ซื้อสินทรัพย์ในปีนี้โดยที่ยังคง D/E ที่ประมาณ 1.9-2.0x ในปีนี้และอนาคต 2-3 ปี
ตามมาด้วย บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เน้นบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน ถือว่าเป็นพอร์ตใหญ่ของรายได้ทั้งหมดที่เหลือเป็นธุรกิจเร่งรัดหนี้ และธุรกิจบริหารสินเชื่อเช่า ในงวดไตรมาส 3 มีกำไร 351 ล้านบาทและ 9 เดือน 923 ล้านบาททำสถิตินิวไฮอีกครั้ง จากการติดตามหนี้เสียสูงขึ้น
ไฮไลน์ JMT เตรียมตั้งบริษัทร่วมทุนกับ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ดำเนินธุรกิจ AMC ซึ่ง JMTจะถือหุ้นใหญ่สัดส่วนระ หว่าง 65-75% และ KBANK สัดส่วนถือหุ้นอยู่ระหว่าง 25- 35% อยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตกับ ธปท. และจะร่วมทุนกับอีก 2 ธนาคารใหญ่ต้นปี 2565 ในรูปแบบบริษัทร่วมทุน
นอกจากนี้มี บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO ดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพเป็นหลัก งวดไตรมาส 3 มีกำไร 71 ล้านบาท เติบโตเป็น 100 % หลังบันทึกกำไรจาก การขาย NPA รายใหญ่ รายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการ จัดเก็บหนี้ของพอร์ตลูกหนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันเพิ่มธุรกิข “ ชโย แคปปิตอล” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ร่วมไปถึงแผนการซื้อกิจการ หรือร่วมทุน (JV) เพื่อเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในปีหน้า กำลังศึกษาออกเป็น Utinity และ Investment ซึ่งศึกษาว่าทั้งสองอย่างใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง หรือจะนำธุรกิจไหนมาใช้เหรียญดิจิทัล
แนวโน้มธุรกิจตามหนี้จากที่แทบจะมีคู่แข่งน้อยเพราะเป็นธุรกิจเฉพาะ ด้วยภาวะเศรษฐกิจหนี้ประชาชนที่สูงขึ้น จนทำให้ธุรกิจนี้กลายเป็น ช่องทางเพิ่มรายได้และกำไร ที่สถาบันการเงินอยากจะลงมาลงทุนร่วมไปถึง การเข้าสู่ตลาดดิจิทัลที่จะใหญ่ขึ้นในอนาคต