Selective buy (ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2564)
ตลาดหุ้นวานนี้ SET ผันผวนในกรอบแคบกังวลไทยจะพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธ์"โอมิครอน"หลังมีข่าวภูเก็ตกักตัวนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยงจำนวน 130 คน อย่างไรก็ตามผลตรวจออกมาเป็นลบทั้งหมดจึงหนุนให้ดัชนีพลิกปิดบวกได้ในช่วงท้ายตลาด
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
คาด SET แกว่งตัว 1,585 – 1,600 จุด แม้ดัชนีจะได้ปัจจัยบวกคาดการณ์สหรัฐหลีกเลี่ยง Shutdown โดยผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อยืดเวลาไปถึงวันที่ 18 ก.พ.2565 อย่างไรก็ตามความกังวลการแพร่ระบาด Covid-19 สายพันธุ์ Omicron ,ความผันผวนของ Fund flow หลัง FED ส่งสัญญาณยุติ QE เร็วกว่าคาด รวมถึงการลดความเสี่ยงก่อนหยุดยาว 3 วันจะกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัวลง
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
กลุ่มได้อานิสงส์ความกังวล Covid-19 COM7 SYNEX BCH CHG MEGA
กลุ่มได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า HANA KCE TU ASIAN EPG XO
หุ้นแนะนำวันนี้
AMATA (19.723.50) เกาะกระแส Stagflation หรือเงินเฟ้อสูง ที่ดินเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ชนะเงินเฟ้อ, นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากธีมการย้ายฐานการผลิตหลังจีนเผชิญปัญหาวิกฤติพลังงานและความเสี่ยงจาก Trade war
ASK (ปิด 41.25 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 47.50) ฐานกำไรทยอยยกขึ้นในทุกไตรมาส อานิสงส์จากธุรกิจออนไลน์ที่ขยายตัวหนุนดีมานด์รถบรรทุกพุ่งขณะที่ซัพพลายมีไม่พอส่งผลให้ราคารถใหม่และเก่าเพิ่มเป็นบวกกับ ASK โดยตรง
บทวิเคราะห์วันนี้
AH, AMATA, CRC, CPALL, SIRI
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) 1 เดือนที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นมีการปรับฐานโดยลดลงจากระดับ 36,500 จุด มาอยู่ที่ระดับ 34,000 จุด หรือลดลงกว่า 7% ส่วนหนึ่งเป็นความกังวลจากการระบาดของโควิดสายพันธ์โอไมครอน ด้วยดัชนีที่ร่วงแรงดังกล่าวผลักดันให้นักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรประกอบกับโบรกเกอร์ต่างทยอยออกบทวิเคราะห์ให้ซื้อหุ้นมากขึ้ เจพีมอร์แกน ซึ่งมองว่าความรุนแรงจากการระบาดของโควิดใกล้จบแล้ว
(+) WTI 93OPEC+ OPEC+ meeting มีมติให้คงระดับการผลิตน้ำมันดิบที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ม.ค. สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะระงับการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตดังกล่าวออกไปก่อน อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 93 เซนต์ (+1.4%) ปิดที่ระดับ 66.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนมองว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลงแรงในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ไปแล้ว
(+/-) คืนนี้ติดตามตัวเลข Nonfarm payrolls เป็นอีกหนึ่งดัชนีชี้วัดในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด: โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) และอัตราการว่างงานจะบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐหากตัวเลขดังกล่าวออกมาดีมากๆ จะหนุนให้เฟดพร้อมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ เบื้องต้น Consensus คาดตัว Nonfarm payrolls เดือน พ.ย.จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.8 แสนตำแหน่งจาก 5.3 แสนตำแหน่งในเดือน ต.ค.และคาดอัตราการว่างงานที่ 4.5% ลดลงเล็กน้อยจาก 4.6% ในเดือน ต.ค