“เอ็มเอพี” โชว์นวัตกรรมแอลเอ็นจี ลด “ต้นทุน-ปล่อยคาร์บอน”
เทรนด์การใช้พลังงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมการใช้พลังงานความเย็นจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในโรงแยกอากาศจึงสำคัญ
บริษัท มาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด หรือ MAP ได้จัดสัมมนา “𝗧𝗵𝗲 𝗦𝗵𝗮𝗽𝗲 𝗼𝗳 𝗙𝘂𝘁𝘂𝗿𝗲: 𝗨𝘁𝗶𝗹𝗶𝘇𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗼𝗳 𝗟𝗡𝗚 𝗖𝗼𝗹𝗱 𝗘𝗻𝗲𝗿𝗴𝘆 𝗶𝗻 𝗔𝗦𝗨 𝘁𝗼𝘄𝗮𝗿𝗱𝘀 𝗡𝗲𝘁-𝗭𝗲𝗿𝗼 𝗘𝗺𝗶𝘀𝘀𝗶𝗼𝗻𝘀” เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2564
นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวว่า ปตท.เป็นเจ้าแรกในการนำเข้า LNG ที่ต้องส่งมาจากต่างประเทศ ดังนั้น ขั้นตอนการนำเข้าจึงต้องลดอุณภูมิเพื่อให้ก๊าซหดตัวถึง 600 เท่า เพื่อใส่เรือพิเศษส่งมาจากประเทศทั่วโลก ดังนั้นกระบวนการแยกอากาศส่งเสริมการใช้พลังงาน จึงมีส่วนสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ปตท.ได้ใช้นวัตกรรมความเย็นในหลากหลายโครงการ เน้นนโยบายส่งเสริมการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การนำความเย็นที่ได้ควบคู่กับการดำเนินการทางการเกษตรปลูกไม้เมืองหนาว กระตุ้นท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการแพทย์ พร้อมทั้งร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากเมื่อก่อนผู้ใช้ก๊าซLNG จะใช้ได้เฉพาะแนวท่อ แต่ตอนนี้สามารถขนส่งไปให้ใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้น
“ปตท.ให้ความสำคัญพลังงานสะอาด เน้นใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปดปล่อยก๊าซคาร์บอน ปตท.ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจเสมอมา เพราะมองว่าก๊าซอุตสาหกรรมโตทุกปี การสนับสนุนนโยบายธุรกิจใน EEC ถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะตอบโจทย์ทั้งพาร์ทเนอร์และผู้ใช้ในอนาคต”
นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ BIG กล่าวว่า โรงแยกอากาศ (ASU) ใหม่ที่ใช้พลังงานเย็นจากการแปรสภาพเป็นแก๊ส LNG ดำเนินงานภายใต้ บริษัท มาบตาพุดแอร์โปรดักส์ จำกัด หรือ MAP ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT และ BIG เป็นโรงงานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้พลังงานเย็นจากการเปลี่ยนก๊าซ LNG โรงงานดังกล่าวเริ่มดำเนินการได้ในปลายเดือนก.ย.2564 และมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มกำลังการผลิตออกซิเจนเพื่อจ่ายให้กับภาคส่วนบริการสาธารณสุขด้วยเงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท และกำลังการผลิตก๊าซอุตสาหกรรม 450,000 ตันต่อปี โรงงานมาบตาพุด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
สำหรับการใช้พลังงานเย็นจากก๊าซธรรมชาติ LNG โรงงานจะเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ ปตท. และ BIG ในการส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานและสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 28,000 ตัน และลดการปล่อยน้ำเย็นลงสู่ทะเลชั่วโมงละ 25,000 ตัน และจะส่งเสริมมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและเตรียมภาคอุตสาหกรรมสำหรับเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย
“เรามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงได้ร่วมมือกัน เพราะโดยทั่วไปแล้วโรงแยกอากาศจะใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงมาก ซึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีโดยใช้พลังงานเย็นจากการเปลี่ยนก๊าซ LNG ทำให้ปริมาณไฟฟ้าลดลง ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนบนชั้นอากาศ”
ทั้งนี้ อยากให้มองว่าโควิดมีวัคซีนช่วยป้องกัน แต่ภาวะโลกร้อนยังไม่มีวัคซีน บริษัทฯ จะเป็นหนึ่งในการทำวีนให้โลก ทำให้โลกมีผลผลิตมากขึ้น สร้างพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากและยั่งยืน พร้อมกับดูแลภาคการผลิตให้ลดการปล่อยคาร์บอน บริษัทฯ ตั้งเป้าลดปล่อยคาร์บอน 1 ใน 3 ให้ได้ในปี 2030 เมื่อเทียบปี2015 ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแฟลตฟอร์ม ไฮโดรเจนถือเป็นหนึ่งในการผลักดันตั้งเป้าใช้ผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ไฮโดรเจนอีโคโนมี เมื่อมีการผลิตมากขึ้นต้นทุนต่อหน่วยจะต้องถูกลงเพื่อบรรลุเป้าหมาย ถูก ดี และเร็ว ผลักดันประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสามารถยืนยันกับลูกค้าได้ว่าการผลิตโปรดักส์ที่มาจากการใช้พลังงานเย็นจากการเปลี่ยนก๊าซ LNG ซึ่งไม่ได้เกิดการเผาไหม้ บริษัทนำแค่ความเย็นมาใช้ไม่มีส่วนลดการปล่อยคาร์บอนสู่ก๊าซบนชั้นบรรยากาศ สามารถตรวจยืนยันต่อลูกค้าต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรนิกส์ ปิโตรเคมี เข้าสู่กรีน ซัพพลายเชน สู่กรีนโปรดักส์ ถึงแม้ว่าโควิดจะเบาบาง แต่ผู้ป่วยยังมีพบหลักพันคนทุกวัน จึงอย่างให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศไทย
สำหรับความต้องการใช้ก๊าซอุตสาหกรรมในปี 2565 คาดว่าจะโตเพิ่มขึ้น 5-6% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มียอดขาย 4,200 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 11% จากยอดขายที่ลดลงของปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นการใช้ก๊าซอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิต ภาคสาธารณสุข โดยภาพรวมของปี 2564 ความต้องการใช้ก๊าซอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาคการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ภาคการผลิตจะมีอัตราการผลิตเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าจะต่อเนื่อง
นายพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด หรือ MAP กล่าวว่า ความตั้งใจของบริษัทฯ คือช่วยให้ประเทศมี GDP เติบโตขึ้น จึงเลือกเทคโนโลยีคัดแยกอากาศ เพราะก๊าซมีความสำคัญช่วยในอุตสาหกรรมให้ดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งพลังงานเย็นช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ 20% หรือ 3 หมื่นตันต่อปี ในการแยกอากาศ ช่วยลดคาร์บอนไปสู่ Net Zero ได้เร็วขึ้น โรงแยกอากาศแห่งใหม่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแห่งแรก ทำเป็นก๊าซอุตสาหกรรมได้หลากหลายชนิด ทั้ง ออกซิเจน ไนโตรเจน และอาร์กอน
เราจะห่วงเรื่องความปลอดภัยก่อนจะลงทุนร่วมกันจะดูว่าคนที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียมีใครบ้างโดยมี ญี่ปุ่น ใต้หวัน จีน ใช้มาร่วม 10 ปีแล้ว ที่ผ่านมาไม่มีเหตุการณ์จากการเอา LNG มาแยกอากาศ จึงคิดว่าจะลงทุนเพราะได้ทั้งความปลอดภัยและประโยชน์ ลูกค้าอุตสาหกรรมวางใจได้แน่นอน มาตรฐานสำคัญที่ยึดไว้ในเรื่องการออกแบบถือเป็นระดับสากลทั่วโลก เช่นเดียวกับมาตรฐานในอุตสาหกรรมในมาบตาพุด
“ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหาร สามารถเอาตัวคุณสมบัติความเย็นไฮโดรเจนมีกำลังผลิต 600 ตันต่อวัน ซึ่งความเฉื่อยของไฮโดรเจนช่วยแช่แข็งอาหารส่งไปต่างประเทศ ทั่วโลก กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ไอโอที ซึ่งไทยมีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ส่งต่อซัพพลายเชนไปทั่วโลก ส่วนการออกซิเจนสามารถผลิตได้วันละ 300 ตัน ที่เห็นชัดเจนในช่วงโควิด ที่สามารถช่วยเหลือประเทศไทยได้ ในส่วนของอาร์กอน จะมีจุดเด่นคือความเฉื่อยมากกว่าไฮโดรเจน กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อากาศยานจะมีความต้องการสูงตรงมาตรฐานอุตสาหกรรมในEEC”