ส่งออกไปรัสเซีย 11 เดือน พุ่ง 40.7 % คาดทั้งปีโต 30 % มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
สคต.รัสเซีย เผย ไทยส่งออกไปรัสเซีย 11 เดือนแรกปี 64 เพิ่ม 40.7 % มูลค่า 930.13 ล้านดอลลาร์ กลุ่มสินค้าอุตสหกรรมทั้งรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังเป็นสินค้าดาวรุ่ง คาดทั้งปีขยายตัว 30 % มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
นายกิตตินันท์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยไปยังตลาดรัสเซียเดือนพ.ย. 2564 มีมูลค่า 102 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 56.66 % ซึ่งเดือนพ.ย. ถือเป็นเดือนที่มีการปรับตัวดีขึ้น ค่อนข้างสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่ภาพรวมส่งออก 11 เดือนแรกมีมูลค่า 930.13 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 40.76 % ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทั่วไปในรัสเซียมีการฟื้นตัวดีเป็นลำดับ
กลุ่มสินค้าส่งออกจากไทยไปยังตลาดรัสเซียในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2564 พบว่า
- กลุ่มสินค้า อุตสาหกรรม เป็นกลุ่มสินค้าหลักที่ครองส่วนแบ่งการส่งออกจากไทยทั้งหมดกว่า 80 %
- หมวดรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบเป็นสินค้าหลัก มีสัดส่วน 31 % ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังรัสเซีย
- ผลิตภัณฑ์ยาง 10.15 %
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 5.17 %
- อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ 4.33%
- เม็ดพลาสติก 4.13%
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 4.03%
- แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 2.41%
นายกิตตินันท์ กล่าวว่า กลุ่มรองลงมาเป็น
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สัดส่วนรวม 9.88 %
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุด 4.45 %
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 1.92%
- กลุ่มสินค้า เกษตรกรรม มีสัดส่วนร 7.07%
- แบ่งเป็นกลุ่มสินค้ากสิกรรม 5.50%
- แยกย่อยออกเป็นยางพารา 3.35%
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง 0.85%
- ข้าว 0.33% เป็นสินค้าหลัก
- กลุ่มสินค้า ประมง 1.55% ที่มีปลาเป็นสินค้าหลัก
“มูลค่าการส่งออกช่วง 11 เดือนแรกในปี 2564 จะเห็นว่าสินค้า รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ยังคงมี บทบาทสำคัญและเป็นสินค้าหลักมีมูลค่าสูงที่สุดเหนือกว่าทุกหมวด ด้วยมูลค่ากว่า 288 ล้านดอลลาร์ โดยครองสัดส่วนการส่งออกของทั้งหมด 31 % ทั้งนี้วิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บรรเทาลง ช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวได้ดีตลอดทั้งปี แต่ทั้งนี้ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์ทั่วโลกที่มี ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาจเป็นอุปสรรคในการขยายตัว “
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง โดยสัดส่วน 64% ของผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดเป็นยางใหม่สำหรับยานพาหนะต่าง ๆ ซึ่งตอบสนองตลาดรถยนต์และเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต รองลงมา 16 % เป็นถุงมือ 7% เป็นยางวัล แคไนซ์ และ 7% เป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ด้วยปัจจัยการแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิด ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะถุงมือยาง ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีกำลัง ผลิตพอเพียงต่อความต้องการของทั่วโลก แต่ขณะนี้ผู้ผลิตได้เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นแล้วและเปิดรับออร์เดอร์ใหม่ คาด ว่าตลาดถุงมือยางยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หลังจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหดตัว ในปีที่ผ่านมาทำให้ความต้องการชะลอตัว แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้มียอดนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่าง ชัดเจนและต่อเนื่องตลอดปี
นายกิตตินันท์ กล่าวว่า ขณะที่อัญมณีและเครื่องประดับ ที่ถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเริ่มขยับตัวในทิศทางบวกและหาก สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายลงจนผู้นำเข้าสามารถเดินทางมาเยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทยได้ก็ น่าจะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกสินค้านี้ของไทยขยับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะอัญมณีที่มีความต้องการสูงในตลาด
อย่างไรก็ตามจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันยังคงเกิน 1,000 คน รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่เริ่มมีผู้ติดเชื้อเข้ามายังรัสเซียและยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์และผลกระทบได้ในขณะนี้โดย ปัญหาสำคัญคือยังมีประชากรอีกจำนวนมากที่ไม่ยอมฉีดวัคซีน แม้ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซียของปีนี้จะเกินกว่า 4%ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงมากก็ ตาม แต่อัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นเกินกว่า 8% โดยเฉพาะหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยแพงขึ้น 12 % ที่ถือเป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจที่สำคัญฃ
การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าขนส่งที่มีราคาแพงยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความแออัดที่ท่าเรือที่ยิ่งทำ ให้เกิดความล่าช้าจนเกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อผู้นำเข้าที่ไม่มีสินค้าจำหน่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งอายุ สินค้าที่หดหายไประหว่างการขนส่งที่ล่าช้า นอกจากนั้นยังมีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนยานยนต์ในระบบห่วงโซ่อุปทาน สิ่งที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งคือ ประเทศตะวันตกอาจปรับให้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียมีความ เข้มข้นขึ้น อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับการสนับสนุน จากประเทศตะวันตก ซึ่งย่อมต้องมีผลกระทบมายังเศรษฐกิจและการค้าไม่มากก็น้อย
โอกาสการส่งออกของไทยยังต้องพึ่งพาหมวดสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสำคัญอยู่ต่อไปเนื่องจาก ครองสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมดกว่า 30 % ยังไม่รวมผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และเครื่องยนต์สันดาป ภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบที่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันด้วย ซึ่งสินค้าทั้ง 3 รายการข้างต้น รวมกันแล้วก็มีสัดส่วนประมาณเกือบกึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
“สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจโดยรวมสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคหลายประการแต่ก็คาดว่า การ ส่งออกของไทยทั้งปีจะสามารถขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 30 % คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์” นายกิตตินันท์ กล่าว