เนื้อหมูทุบสถิติแพงหูฉี่ หนุนหุ้น CPF- TFG
เปิดศักราชปี 2565 ด้วยปัญหาปากท้องและค่าครองชีพของคนไทยที่เจอการปรับตัวขึ้นของราคาอย่างถ้วนหน้า ล่าสุดราคาหมูปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีจนข้ามปีนี้ราคาทุบสถิติใหม่ทะลุ 200 บาท/กิโลกรัม ย่อมมีหุ้นที่ได้รับประโยชน์และตรงข้ามคือหุ้นที่ได้รับผลกระทบ
สถานการณ์ราคาหมูแพงไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามหรือตลาดใหญ่อย่างจีนด้วย ซึ่งในไทยราคาเนื้อหมูปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ตามข้อมูลสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงเกือบทั้งประเทศเกิน 200 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นปี 2564 ประมาณ 30 %
โดยมีปัจจัยมาจากการปริมาณหมูออกมาจำหน่ายน้อยลง หลังเผชิญการทำลายทิ้งเมื่อเกิดโรคระบาดในหมูหลายครั้ง เช่น โรคพีอาร์อาร์เอส โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ส่งผลต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นยารักษา และวัคซีนเพิ่ม ยังไม่รวมอาหารสัตว์ ค่าไฟและค่าขนส่ง จนทำให้ผู้ประกอบเลี้ยงหมูลดน้อยลงจาก 2 แสนรายเหลือ 8หมื่นราย
สำหรับราคาหมูในจีน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ ระบุมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 20 หยวน/กิโลกรัม จากจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ราว 10 หยวน/กิโลกรัม ส่วนราคาหมูที่เวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 4.3 หมื่นดอง/กิโลกรัม จากจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่3.5 หมื่นดอง/กิโลกรัม
การฟื้นตัวของราคามีปัจจัยมาจากมาตรการปิดเมืองและควบคุมกิจกรรมต่างๆ เริ่มผ่อน คลายลง ทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยกดดัน โดยสำหรับประเทศจีน การเพิ่ม ผลผลิตจากผู้ผลิตรายใหญ่ยังเป็นปัจจัยกดดันราคาขาย ขณะที่ในเวียดนามยังมีการระบาดของโรค ASF ในบางพื้นที่ทำให้ให้เกษตรกรบางส่วนเทขายหมูออกมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นปัจจัยกดดันราคาระยะสั้น
ประเด็นราคาเนื้อหมูแพงเกิดขึ้นเกือบทุกปีปี 2562 เกิดโรคระบาด ASF ใน30 ประเทศทั่วโลก ยิ่งเกิดขึ้นในประเทศจีนที่ซึ่งถือว่าเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเนื้อหมูรายใหญ่ของโลก จนทำให้เกิดปรากฎการณ์จีนนำเข้าหมูมากเป็นประวิติการณ์ 4 แสนตันเดือน เม.ย. 2563 หรือเพิ่มขึ้น 170 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปัจจัยพลักดันราคาเนื้อหมูของไทยทำราคาแพงที่สุดในรอบ 10 ปี ที่ราคาเนื้อหมูขายปลีกเฉลี่ยที่ 150-170 บาทต่อกิโลกรัม จากต้นปีราคาเนื้อหมูเฉลี่ยที่ 121-130 บาทต่อกิโลกรัม และราคามีการปรับตัวลงในช่วงเดือนพ.ค. 63 เฉลี่ยอยู่ที่ 115 บาทต่อกิโลกรัม
บวกกับช่วง โควิด -19 กลับมาระบาดรอบ 2 ทำให้มีบางประเทศมีการกักตัวเว้นระยะห่างทำให้ประชาชนมีความต้องการบริโภคเนื้อหมูมากขึ้น ยิ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่พลักดันยอดส่งออกหมูของไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
จากปัจจัยดังกล่าวด้านผู้ประกอบการในไทย รายใหญ่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกอบธุรกิจอาหาร ธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจผลผลิตจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งฐานการผลิตใน 16 ประเทศ หากเป็นเนื้อหมูมีที่ไทย เวียดนาม ไต้หวัน รัชเซีย กัมพูชา ฟิลิปินส์ มาเลเซีย และสปป. ลาว โดยมีตลาดส่งออกถึง 30 ประเทศ เฉพาะในประเทศจีน มีการส่งออกทั้งอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ฟาร์มสัตว์บกและน้ำ และอาหารพร้อมรับประทาน
ด้านบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG มีธุรกิจใกล้เคียงกับ CPF มีธุรกิจไก่ 69.55 % สุกร 19.94 % อาหารสัตว์ 10.03% และอื่น 0.48 % ซึ่งทั้งสองบริษัทมีจุดเหมือนและแตกต่างกันไม่น้อยแม้จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารสดเหมือนกัน
บล.คันทรี กรุ๊ป มองว่าปัญหาราคาหมู แพงเราคาดว่าราคาจะยังยืนระดับสูงเช่นนี้ไปอีก 3-6 เดือนจากนั้นจะเริ่มเห็น อุปทานใหม่เข้ามา ซึ่งล่าสุดรัฐบาลเริ่มเข้ามาดูแลด้วยการควบคุมต้นทุนผลิต ตลาดหุ้นโลกคลายกังวลกับโอมิครอน
ส่วนไทยต้องติดตามใกล้ชิด แนะ CPF BBL สนับสนุนการพัฒนาวัคซีนหมูเพื่อลดอัตราการสูญเสียหมูจากโรค ระบาดรวมถึงส่งเสริมแหล่งเงินทุนทั้งปลอดดอกเบี้ย , ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อจูงใจให้อุปทานกลับเข้ามามี
หุ้นได้ประโยชน์ อาทิ CPF -TFG แต่เป็นลบกับหุ้นร้านอาหาร CENTEL- M และ MINT ในแง่ต้นทุนที่จะ สูงขึ้นกดดันอัตรากำไรขั้นต้นรวมถึงกำไรสุทธิ CPF (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 26 บาท) ได้ประโยชน์จากราคาหมูใน ประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าราคาจะยืนระดับสูงเช่นนี้ไปอีก อย่างน้อย 3 เดือน ราคาหมูเฉลี่ยไตรมาส 4 ปี 2564 อยู่ที่ 77.3 บาท/กิโลกรัม (+11%QoQ +28%YoY)
สอดคล้องกับ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ราคาเนื้อสัตว์ฟื้นตัวต่อเนื่องส่งผลแนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2564 ดีขึ้น ทั้งจากราคาเนื้อสัตว์ในไทยและต่างประเทศ และมีกำไรพิเศษหลังร่วมขายหุ้น MAKROที่ 66 ล้านหุ้น